วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566

สถานีวงเวียนใหญ่ รื้อตึกแถวสร้างทางเข้าออก MRT PURPLR LINE (30 ก.ย.66)


สถานีวงเวียนใหญ่ รื้อตึกแถวสร้างทางเข้าออก รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT PURPLR LINE (30 ก.ย.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก  MRT PURPLR LINE โดย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างงาน สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ – ดาวคะนอง ผู้รับจ้างได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร ในฝั่งขาเข้าของถนนตากสินชิดทางเท้า 2 ช่องจราจร ตั้งแต่บริเวณซอยอินทรพิทักษ์ -บริเวณแยกตากสิน มีผลทำให้ การจราจรในฝั่งขาออกเหลือ 2 ช่องจราจร และในฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องจราจร งานในภาพรวมส่วนใหญ่เป็นงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค การก่อสร้างกำแพงกันดิน ยกเลิกการใช้สะพานลอยหน้าตลาดเสสะเวชชั่วคราว รื้ออาคารเพื่อเคลียร์พื้นที่สร้างทางเข้าออกสถานีวงเวียนใหญ่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก  
เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit) ระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6  กิโลเมตร (จำนวน 17 สถานี) มีอาคารจอดแล้วจร (Park&Ride) ที่สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ ตั้งอยู่ริมถนนสุขสวัสดิ์ในฝั่งขาเข้าและขาออก โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก ภาพรวมการก่อสร้าง เดือนสิงหาคม 2566 งานโยธาทำได้ 16.71% #สถานีวงเวียนใหญ่  #รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

ชุมชนริมคลองบางซื่อรัชดาภิเษก ชุมชนรุ่งเรืองตอนปลาย bang sue canal (ก.ย.66)


ชุมชนริมคลองบางซื่อรัชดาภิเษก ชุมชนรุ่งเรืองตอนปลาย bang sue canal (ก.ย.66)
คลิปนี้พาเดินดู ชุมชนริมคลองบางซื่อรัชดาภิเษก และชุมชนรุ่งเรืองตอนปลาย ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ริมคลองบางซื่อ หน้าชุมชนติดถนนรัชดาภิเษกใกล้ซอย 24 ใกล้สถานีรัชดาภิเษก ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ห่างประมาณ 200กว่าเมตร
ชุมชนริมคลองบางซื่อรัชดาภิเษก ถือเป็นชุมชนที่ 4 ในเขตห้วยขวางที่รื้อย้ายบ้านที่สร้างบุกรุกคลอง และเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง กับทางภาครัฐ ชาวชุมชนได้รื้อบ้านเก่าที่รุกล้ำลำคลอง ย้ายไปอยู่บ้านที่สร้างใหม่ โดยอาศัยอย่างถูกต้อง เตรียมสร้างเขื่อนขยายคลองให้มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำ เพื่อเป็นการคืนคลองให้กับสาธารณะ ส่งเสริมให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  โดย พอช.
เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ลงพื้นที่พูดคุยสร้างความเข้าใจให้คนในชุมชน
โดยชุมชนได้รื้อย้ายบ้านที่รุกล้ำคลองออกไป และเข้าอยู่บ้านหลังใหม่ที่ได้สร้างอย่างถูกต้อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก็มีบ้านที่ให้ความร่วมมือ และก็ยังมีอีกหลายหลัง ที่ยังไม่ยอมย้ายออกไป มีการฟ้องร้องถึงศาลเป็นคดีความกันอยู่ งานก่อสร้างจึงยังต้องรอไม่สามารถสร้างบ้าน และสร้างเขื่อนต่อได้ คลองบางซื่อ เป็นคลองย่อยของคลองลาดพร้าว ชุมชนริมคลองบางซื่อรัชดาภิเษก ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ ชื่อสหกรณ์เคหะสถานบ้านมั่นคง รัชดาร่วมใจจำกัด
#คลองบางซื่อ #ชุมชนริมคลองบางซื่อรัชดาภิเษก #ชุมชนรุ่งเรืองตอนปลาย

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566

บูรณะพระแม่ธรณีบีบมวยผม (อุทกทาน) ตรงข้ามสนามหลวง | พาชมภูมิทัศน์ คลองคู...


บูรณะพระแม่ธรณีบีบมวยผม (อุทกทาน) ตรงข้ามสนามหลวง | พาชมภูมิทัศน์ คลองคูเมืองเดิม ( ก.ย.66)
กรุงเทพมหานครร่วมกับกรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมปิดซ่อมแซมบูรณะอุทกทาน ระยะเวลา 120 วัน โดยจะดำเนินการเปลี่ยนองค์พระแม่ธรณีบีบมวยผม จากเดิมเนื้อสำริดรมดำ เป็นเนื้อโลหะสำริดลงรักปิดทอง เปลี่ยนสไบพระแม่ธรณีบีบมวยผม รวมถึงการปรับปรุงซุ้มแก้วและฐานโดยรอบ
อุทกทาน (พระแม่ธรณีบีบมวยผม) เป็นพระราชดำริของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เพื่อพระราชทานน้ำดื่มให้แก่คนที่ผ่านไปมา ขณะที่กรุงเทพมหานครเริ่มมีน้ำประปา โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร 
ซึ่งเป็นพระราชโอรสได้ถวายคำแนะนำให้สร้างเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมนั่งในซุ้มเรือนแก้ว โดยมีน้ำสะอาดไหลออกมาจากปลายมวยผม สามารถใช้ดื่มกินได้ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบรูปปั้นนางพระธรณี และพระยาจินดารังสรรค์ (พลับ) เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบซุ้มเรือนแก้ว ดำเนินงานจัดสร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ 
โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2460 ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
คลองคูเมืองเดิม หรือคลองหลอด เป็นคลองขุดรอบพระนครชั้นใน (ชั้นแรก) ของเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร  โดยมีถนนด้านข้างสองฝั่งคลอง คือถนนอัษฎางค์ และถนนราชินี มีสถานที่น่าสนใจ 2ฝั่งคลองมากมาย เช่น วัดบุรณศิริมาตยาราม  กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดเป็นโบราณสถาน  เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2520 สะพานเจริญศรี 34 เป็น 1 ในสะพานชุดเจริญ ที่ก่อสร้างไว้มีทั้งหมด 7 สะพาน 
อีแอมกาติ๊บในอดีต คือห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายเครื่องแก้วเจียรนัย น้ำหอมและเครื่องถ้วยชามจากยุโรป 
สะพานช้างโรงสี ชื่อนี้มาจากในอดีตตั้งอยู่ใกล้กับโรงสีข้าว จึงเรียกกันติดปากว่า "สะพานช้างโรงสี"
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร  ต้นตะเคียนริมคลองหลอด 
ใกล้วัดราชบพิธฯ ปลูกสมัยรัชกาลที่ 1 อายุกว่า 200ปี สะพานหก เดิมเป็นสะพานไม้และได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ในปี พ.ศ. 2525 ช่วงฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี  #อุทกทาน  #คลองคูเมืองเดิม

วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566

ก่อสร้างทางวิ่งหลัก รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ หน้าห้างบิ๊กซีบางปะกอก MRT PURPL...


ก่อสร้างทางวิ่งหลัก รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ หน้าห้างบิ๊กซีบางปะกอก MRT PURPLE LINE (ก.ย.66)
คลิปนี้พาดู งานก่อสร้างทางวิ่งหลักบริเวณหน้าห้างบิ๊กซีบางปะกอก จนถึงซอยสุขสวัสดิ์ 28 
ในสัญญาที่ 5 ดาวคะนอง-ครุใน ผู้รับจ้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ล่าสุดผู้รับจ้าง เร่งหล่อเสาทางวิ่งยกระดับรถไฟฟ้า ปิดเบี่ยงจราจรชิดเกาะกลาง เมื่อมีการต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บุรณะ 
ก็ทำให้ ห้างร้าน คอนโด ที่พักอาศัย ทะยอยก่อสร้างตามแนวรถไฟฟ้า ทั้งสร้างเสร็จไปแล้ว และกำลังก่อสร้างอยู่จำนวนหลายโครงการ มีนายทุนเข้ามาจับจองพื้นที่ มีที่ติดถนนใหญ่ และตามซอยต่างๆ ต่อเนื่อง มูลค่าที่ดินใกล้รถไฟฟ้าเริ่มปรับราคาสูงขึ้น 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บุรณะ วงแหวนกาญจนาฯ ภาพรวมการก่อสร้าง เดือนสิงหาคม 2566 งานโยธา 16.71%
ระยะทางรวม 23.63  กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี แบ่งเป็น
สถานีใต้ดิน จำนวน10 สถานี  สถานียกระดับ จำนวน 7สถานี 
แบ่งออกเป็น 6 สัญญา ได้แก่ 
สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ก่อสร้างโดย กิจการร่วมค้าซีเคเอสที-พีแอล (ช.การช่าง และซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น) 
สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้าฯ  สร้างโดย กิจการร่วมค้าซีเคเอสที-พีแอล, 
สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้าฯ-สะพานพุทธ  ก่อสร้างโดย กิจการร่วมค้าไอทีดี-เอ็นดับบลิวอาร์ เอ็มอาร์ที (อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และเนาวรัตน์พัฒนาการ)
สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง ก่อสร้างโดย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), 
สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุในก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 
สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนวเส้นทางโครงการ ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 
คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ภายในปี 2570  
#รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ #mrtpurpleline

ถนนทองหล่อ มาร์เช่ ทองหล่อ (สุขุมวิท55) Thonglor Road (ก.ย.66)


ถนนทองหล่อ |มาร์เช่ ทองหล่อ (สุขุมวิท55) Thonglor Road (ก.ย.66)
เดินเล่น ถนนทองหล่อ หรือ ซอยสุขุมวิท 55 นิยมเรียกกันว่า ซอยทองหล่อ เป็นเส้นทางจราจรแยกจากถนนสุขุมวิท ไปบรรจบกับถนนเพชรบุรี ระยะทาง 2 กิโลเมตรกว่าๆ
เป็นแหล่งรวมร้านอาหารนานาชาติ ศูนย์การค้า ร้านค้าหลายสัญชาติ ร้านค้าแฟชั่น สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืน สตูดิโอแต่งงาน และที่พักอาศัยชาวต่างชาติ
มาร์เช่ ทองหล่อ ที่ตั้ง : ถนนสุขุมวิท (ทองหล่อ ซอย 4) อาคารสำนักงาน และพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน (Mixed-Use) ห้างเปิดใหม่ย่านทองหล่อ อดีตคือ Marketplace เปลี่ยนเป็นห้างแนวตั้งผสมกับธรรมชาติ มี 3 อาคารเชื่อมด้วยสะพาน 2 แบบ ไฮไลท์คือสะพานโค้งด้านหน้าถนนทองหล่อ มีที่นั่งพัก ด้านบนเป็นโซนคลีนิค, สถาบันเสริมความงาม #ถนนทองหล่อ  #มาร์เช่ทองหล่อ

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566

รื้อตึกแถวแยกคลองเตย ถนนพระราม4 ซอยโรงงานยาสูบ - ทางด่วนเฉลิมมหานคร (ก.ย...


รื้อตึกแถวแยกคลองเตย ถนนพระราม4 ซอยโรงงานยาสูบ - ทางด่วนเฉลิมมหานคร (ก.ย.66) 
โครงการรื้อถอนอาคาร และงานล้อมรั้ว พื้นที่บริเวณถนนพระรามที่4 (ซอยโรงงานยาสูบ) รื้อตึกแถวหน้าถนนพระรามที่ 4 ฝั่งซอยโรงงานยาสูบ ใกล้แยกคลองเตย ประมาณ 100 คูหา เนื้อที่กว่า20 ไร่ หลังชาวบ้านหมดสัญญาเช่าพื้นที่ 30 ปี กับสำนักทรัพย์สินฯ ตั้งแต่ชุมชนเทพประทาน ถึงถนนดวงพิทักษ์(ใกล้ทางด่วนเฉลิมมหานคร) ยาวเกือบ350 เมตร โดยลึกไปถึงแนวรั่วเขตโรงงานยาสูบ ขณะนี้สำนักทรัพย์สินฯ อยู่ระหว่างเปิดประมูลหาผู้เช่ารายใหม่ ปัจจุบันถนนพระราม4 กลายเป็นทำเลทอง ทุนใหญ่ๆได้เข้ามาลงทุนพัฒนา โครงการระดับอภิมหาโปรเจ็กต์ในรูปแบบมิกซ์  ยูส สำนักงาน คอนโดมิเนียม มูลค่ารวมกันเกือบๆ 200,000 ล้านบาท ทำให้ถนนพระราม 4 
ขณะนี้กลายเป็นทำเลทองฝังเพชรอีกแห่งของกรุงเทพมหานคร
#รื้อตึกแถวแยกคลองเตย  #โครงการรื้อถอนอาคารและงานล้อมรั้ว

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566

เวิ้งนาครเขษม ย่านการค้าในตำนานของกรุงรัตนโกสินทร์ Weng Nakhon Kasem (ก....


เวิ้งนาครเขษม ย่านการค้าในตำนานของกรุงรัตนโกสินทร์ Weng Nakhon Kasem (ก.ย.66)
เวิ้งนาครเขษม หรือเวิ้งนครเกษมย่านการค้าเก่าแก่ ที่จะมีการปรับโฉมเป็น แลนด์มาร์คใหม่ ย่านไชน่าทาวน์ ถือเป็นย่านการค้าเก่าแก่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ มีร้านค้าจำหน่าย เครื่องดนตรี เครื่องครัว เครื่องทองเหลือง ของโบราณ หนังสือเก่า แผ่นเพลงเก่า ร้านค้าส่วนใหญ่สืบทอดกิจการกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ร้านค้าบางร้านอยู่กันมาถึง 3 ชั่วอายุคน เดิมเป็นที่ดินในกรรมสิทธิ์ของ ราชสกุลบริพัตร  ซึ่งได้ให้มีการเช่าทีดินสร้างตึกแถวร้านค้าต่างๆมาหลายชั่วคน ซึ่งร้านเก่าแก่ในย่านนี้นั้นมีอายุมากกว่า100 ปี 
ชื่อเวิ้งนาครเขษม หมายถึง เวิ้งอันเป็นที่รื่นรมณ์ของชาวเมือง ต่อมาถูกเรียกเพี้ยนไปเป็น เวิ้งนครเกษม
เวิ้งนาครเขษม มีการเปลี่ยนมือของกลุ่มเจ้าของเดิม เข้าสู่ผู้ครองที่ดินรายใหม่คือกลุ่ม ทีซีซีกรุ๊ป ตั้งแต่ปี 2555 ของเจ้าสัว เจริญ สิริวัฒนภักดี มีพื้นที่ติดถนนทั้ง 4ด้าน ถนนเยาวราช ถนนจักรวรรดิ ถนนเจริญกรุง ถนนบริพัตร โครงการเวิ้งนาครเขษม ประกอบด้วย โรงแรมระดับลักชัวรี, โรงแรมแบบบูติก และพื้นที่ค้าปลีก โดยมี ‘เจดีย์จีน’ สูง 8 ชั้น เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเยาวราช                                                                   เจ้าของโครงการ บริษัท ทีซีซี เวิ้งนาครเขษม จำกัด
พื้นที่โครงการ  ถนนเจริญกรุง แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ เนื้อที่   14 ไร่ 1งาน 91ตารางวา
ปัจจุบันเป็นอาคารพาณิชย์ รอการปรับปรุง อยู่ในระหว่างศึกษา และจัดทำการรายงาน ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เวิ้งนาครเขษม มีข่าวจะเริ่มปรับปรุงในปี 2567 และเตรียมเปิดปี 2569 ภายใต้แบรนด์ "อินเตอร์คอนติเนนตัล แบงค็อก ไชน่าทาวน์" พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จะเป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ในย่านเยาวราชที่น่าจับตามอง #เวิ้งนาครเขษม  #เวิ้งนครเกษม

ปรับปรุงคลองโอ่งอ่าง เฟส2 สะพานดำรงสถิต-สะพานสมมตอมรมารค Ong Ang Canal (...


ปรับปรุงคลองโอ่งอ่าง เฟส2 สะพานดำรงสถิต-สะพานสมมตอมรมารค Ong Ang Canal (ก.ย.66)
การปรับปรุงคลองโอ่งอ่าง เฟสที่ 2 สะพานดำรงสถิต ถึงสะพานสมมตอมรมารค ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ความก้าวหน้าล่าสุดในเฟสที่ 2 ก่อสร้างทางเดิน ผนังคลองอิฐโชว์ลาย และติดตั้งราวกันตก จากสะพานดำรงสถิต ถึงสะพานรพีพัฒนภาคเสร็จทั้ง 2 ฝั่งแล้ว และจากสะพานรพีพัฒนภาค ไปถึงสะพานสมมตอมรมารค ถนนบำรุงเมือง ได้ทำทางเดิน พร้อมผนังคลองอิฐโชว์ลาย และเริ่มติดตั้งราวกันตกใกล้ถึงสะพานสมมตอมรมารคแล้ว คลองโอ่งอ่าง เป็นส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุง ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2326 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เชื่อมต่อกับคลองบางลำพู เริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศเหนือบริเวณสวนสันติชัยปราการ มาทางด้านทิศใต้ ถึงแยกคลองมหานาค เรียกคลองบางลำพู และจากทางแยกคลองมหานาคสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้าก่อนจะออกไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่าคลองโอ่งอ่าง 
สำนักการระบายน้ำ ผู้ดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงเขื่อน ค.ส.ล. คลองโอ่งอ่าง ความยาวประมาณ 1,120 เมตร ผู้รับจ้างบริษัท ซีโก้ทรานสปอร์ต จำกัด #คลองโอ่งอ่าง #คลองบางลำพู

วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566

สะพานรักษ์ทะเลบางขุนเทียน ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ (ก.ย.66)


สะพานรักษ์ทะเลบางขุนเทียน ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ (ก.ย.66) รีวิว สะพานรักษ์ทะเลบางขุนเทียน พาชมจุดไฮไลท์ที่น่าสนใจ 1 ชมธรรมชาติป่าชายเลน 2 อุโมงค์ต้นไม้ป่าชายเลน ระยะทาง 1 กม. 3 สะพานพื้นภาพใบไม้สีสวยจี๊ดจ๊าด 4 เดินสะพานไม้ไผ่ชมพระอาทิตย์ตกดินทะเลกรุงเทพ การเดินทาง แนะนำมาด้วยรถส่วนตัวใช้เส้นทางถนนพระราม 2 ฝั่งขาออก ผ่านบิ๊กซีพระราม2 ให้เลี้ยวเข้าถนนบางขุนเทียนชายทะเลไปจนเจอทางแยก ถนน สค.4008 ระยะทางประมาณ 16 กม. สะพานรักษ์ทะเลบางขุนเทียน อยู่ตรงข้ามบริเวณทางแยกจอดรถหน้าทางเข้า หรือเลยไปหน่อยมีพื้นที่กว้างจอดรถได้ไม่คิดค่าบริการ วันหยุดหากคิดไม่ออกว่าจะไปไหน? ลองมาเที่ยวย่านบางขุนเทียน จุดชมวิวทะเลที่ สะพานรักษ์ทะเลบางขุนเทียน มาเช่าจักรยานปั่นเล่น หรือจักรยานไฟฟ้า ชมวิวธรรมชาติ พร้อมจุดถ่ายรูปสุดปังเพียบ อากาศก็ดีไม่ร้อนมาก แนะนำติดหมวกไปด้วย ข้อแนะนำ ผู้ที่มาในช่วงเย็นหากปั่นจักรยานมา ก็อย่าลืมเผื่อเวลาในช่วงปั่นกลับถึงกลางทางจะมืดไม่มีไฟฟ้า #สะพานรักษ์ทะเลบางขุนเทียน

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566

ปรับโฉม ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า มิกซ์ยูสแห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์ (ก.ย.66)


ปรับโฉม ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า มิกซ์ยูสแห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์ (ก.ย.66) the old siam plaza รีโนเวทครั้งใหญ่หลังเปิดบริการมากว่า 30ปี ทุ่มงบ 400ล้านบาท ปรับปรุงพื้นที่ภายใน และภายนอกทั้งหมด ทั้งในส่วนพลาซ่า และบ้านพักอาศัย แต่คงเอกลักษณ์ของอาคารในสไตล์โคโลเนียล ที่มีความคลาสสิค มิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ บริหารงานโดยบริษัท สยามสินธร จำกัด ยกให้เป็นมิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ แห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์ บนที่ดิน 13.61 ไร่ พื้นที่ให้บริการรวม 98,500 ตารางเมตร เป็นทั้งศูนย์กลางธุรกิจ, ไลฟ์สไตล์ ชอปปิ้ง และบ้านพักอาศัย ซึ่งพื้นที่เดิมเคยเป็นตลาดมิ่งเมือง ที่ได้ชื่อว่าเป็นย่านการค้าหลักของกรุงเทพมหานคร เพราะอยู่ติดกับถนนสายการค้าทั้ง 4 ด้าน นั้นก็คือ ถนนพาหุรัด, ถนนตรีเพชร,ถนนเจริญกรุง และถนนบูรพา ใกล้MRTสถานีสามยอด ทางออกช่องที่ 3 ในส่วนของพลาซ่า พื้นที่รวม 17,945 ตารางเมตร ได้มีการออกแบบ และตกแต่งให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า แบ่งพื้นพลาซ่า ที่ให้บริการออกเป๊น 3 ชั้น ดังนี้ ชั้น 1 แหล่งรวม ร้านเพชร ร้านทอง ผ้าลูกไม้นำเข้า ร้านเครื่องประดับ และร้านขนมไทยโบราณ ชั้น 2 เป็นศูนย์รวมผ้าไหม เครื่องประดับ ห้องเสื้อ ชุดราตรี ชุดแต่งงาน ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ชั้น 3 กำลังปรับโฉม เพื่อเป็นศูนย์รวมร้านอาหาร และมาร์เก็ต ชั้น 4 เป็นพื้นที่บ้านพักอาศัย (Residence) ประกอบด้วย 128 ยูนิต ขนาดพื้นที่เริ่มต้น 95 ตารางเมตร พื้นที่รวมทั้งหมด 13,000 ตารางเมตร มีชั้นจอดรถใต้ดิน #ดิโอลด์สยามพลาซ่า #The Old Siam Plaza ท่านที่รับชมช่อง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า หากมีความประสงค์ ต้องการสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำคลิปวีดีโอ สามารถกดสมัครหน้าช่องยูทูป หรือโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0430256768    / @user-dk6zx7fc1x   ติดตาม วีเอ็นพีมีเรื่องเล่า ได้ทาง youtube :    / @user-ls4ox9fr3n   Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?... Twitter : https://twitter.com/EsTbJbtYn9MuZyn Instagram : https://www.instagram.com/vnpstory/ blogs : https://vnpstory.blogspot.com/

สถานีครุใน สถานีสุดท้าย รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-วงแหวนกาญจนา...


สถานีครุใน สถานีสุดท้าย รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-วงแหวนกาญจนาภิเษก (ก.ย.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก  ผู้รับจ้าง บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวลีอปเมนต์ ในสัญญาที่ 5 ดาวคะนอง-ครุใน
ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร บนถนนสุขสวัสดิ์ ฝั่งขาเข้าและขาออก 1 ช่องจราจร ชิดเกาะกลาง ตั้งแต่ซอยสุขสวัสดิ์ 68 ถึง ซอยสุขสวัสดิ์ 47/1 
ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร เพื่องานก่อสร้าง สถานีครุใน และเส้นทางวิ่งหลัก ไปถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2570 ตลอด 24 ชั่วโมง 
มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง 
ล่าสุด ผู้รับจ้างได้เร่งหล่อเสาตอม่อ ทางวิ่ง และสถานี มีเสาสูงๆให้เห็นหลายต้น
สถานีครุใน ตั้งอยู่บริเวณซอยสุขสวัสดิ์70 
ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
สถานีครุใน ตั้งอยุ่หน้าถ.สุขสวัสดิ์ซอย 70 ทางขึ้นลงมี 4 จุด
ทางขึ้นลงที่ 1 อยู่บริเวณพื้นที่ว่าง บ.อุตสาหกรรมแอร์เคมีไทย 
ทางขึ้นลงที่ 2 อยู่บริเวณศูนย์ซ่อมรถยนต์    
ทางขึ้นลงที่ 3 พื้นที่ว่างบริเวณ ปากซอยสุขสวัสดิ์ 70
ทางขึ้นลงที่ 4 บริเวณปั้มซัสโก้ ติดกับคลองเจ๊กทิม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร 
เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ  7 สถานี มีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง 
ได้แก่ สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ #รถไฟฟ้าสายสีม่วงล่าสุด #สถานีครุใน

วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566

ปรับโฉมห้างร้าง นิวเวิลด์ บางลำพู สู่แหล่งท่องเที่ยว จุดเช็คอินแห่งใหม่ ...


ปรับโฉมห้างร้าง นิวเวิลด์ บางลำพู สู่แหล่งท่องเที่ยว จุดเช็คอินแห่งใหม่
สำนักงานเขตพระนคร ได้เข้าปรับปรุงพื้นที่อาคารห้างนิวเวิลด์ ซึ่งเจ้าของได้มอบให้กรุงเทพมหานครนำมาใช้ประโยชน์ โดยทางเขตได้เข้าไปตรวจสอบสภาพอาคาร พบว่ายังมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ ที่ผ่านมาได้เคยจัดแสดงนิทรรศการ โดยมีแผนพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่ทำการค้าบางส่วน ซึ่งเขตได้มีการตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาพื้นที่ ในเบื้องต้นเขตได้ทำความสะอาดพื้นที่ และปรับปรุงภูมิทัศน์มาเป็นระยะๆ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธา และฝ่ายรักษาความสะอาด ล้างทำความสะอาด ปรับปรุงคอกต้นไม้ ประดับตกแต่งต้นไม้ในพื้นที่ส่วนต่างๆ ให้เกิดความสวยงาม รวมทั้งสร้างทางเดินไม้ เพื่อให้ประชาชน/นักท่องเที่ยว ได้เข้าไปเดินชมอาคารและถ่ายภาพได้ในอนาคต 
รวมถึงจะมีการเพิ่มเติมในส่วนของนิทรรศการ บอกเล่าประวัติ ความเป็นมาของอาคารหลังดังกล่าวให้ผู้คนได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ข้อมูล เพจสำนักงานเขตพระนคร
#ปรับโฉมห้างนิวเวิลด์   #นิวเวิลด์บางลำพู

วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566

รื้อบ้านบุกรุก คลองเปรมประชากร ชุมชนมิตรประชาพัฒนา หลักสี่ กรุงเทพฯ (ก.ย...


รื้อบ้านบุกรุก คลองเปรมประชากร ชุมชนมิตรประชาพัฒนา หลักสี่ กรุงเทพฯ (ก.ย.66)
ชุมชนมิตรประชาพัฒนา ตั้งบ้านอยู่ริมคลองเปรมประชากร ฝั่งตรงข้ามศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ชาวชุมชนมีการรื้อบ้านที่บุกรุกออกจากแนวคลองเปรมประชากร บ้านที่มีการรื้อ เริ่มตั้งแต่ซอยหน้าทางเข้าชุมชนบริเวณ โครงการเคหะชุมชนหลักสี่ ไปจนถึงถนนเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณ์ ระยะทางประมาณ 500เมตร
ประธานชุมชนมิตรประชาพัฒนา ผู้อาศัยและเติมโตมาในพื้นที่นี้ ได้ให้ข้อมูลกับทาง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า ว่าชุมชนมิตรประชาพัฒนา ได้รื้อบ้านที่บุกรุกออกจากแนวคลองจำนวน 94 หลังคาเรือน ชุมชนตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์ ที่ผ่านมามีบ้านรุกล้ำแนวคลอง เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ขณะนี้ชาวชุมชนกำลังเร่งรื้อถอนบ้าน เพื่อมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมา มาดำเนินการสร้างบ้านให้เป็นไปตามแผนงาน โดยสมาชิกส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมโครงการ และให้ร่วมมือเป็นอย่างดี
สำหรับสมาชิกที่ได้รื้อบ้าน จะได้เงินช่วยเหลือ ในขณะที่รอการสร้างบ้านหลังใหม่
โดยแต่ละหลังจะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 3000บาท เป็นเวลา 1 ปี 
#ชุมชนมิตรประชาพัฒนา #คลองเปรมประชากร

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2566

งาน Chatuchak Night Walking Street ถนนตัดใหม่เลียบคลองบางเขน (17 ก.ย.66)


งาน Chatuchak Night Walking Street ถนนตัดใหม่เลียบคลองบางเขน (17 ก.ย.66) ถนนเลียบคลองบางเขน เส้นทางลัด จากถนนพหลโยธินซอย 49/1 ใกล้bts สถานีบางบัว เชื่อมถนนวิภาวดีรังสิตบริเวณ ศูนย์ปรมณูเพื่อสันติ มีระยะทาง 2 กม. มีสวนสาธารณะ และทางเดินริมคลอง ล่าสุดได้ก่อสร้างเสร็จ และเปิดใช้ช่องจราจรแล้ว กทม.จัดงาน Chatuchak Night Walking Street@เลียบคลองบางเขน กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นจตุจักร สำหรับกิจกรรม กำหนดจัดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 15- 24 กันยายน 2566 บริเวณถนนตัดใหม่ เลียบคลองบางเขน เขตจตุจักร โดยมีร้านค้ามาจำหน่ายผลิตภัณฑ์กว่า 172 ร้านค้า เพื่อส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการขายสินค้าของผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย ผู้จัดจำหน่ายสินค้า OTOP และผู้จัดจำหน่ายสินค้า Bangkok Brand ซึ่งจะเป็นการดึงดูดผู้คนให้เข้ามาเลือกชม และเลือกซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมถึงมีการฉายหนังกลางแปลง แสดงดนตรี และการออกร้านค้าของกินอร่อยมากมาย ซึ่งจะทำให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น ตามนโยบาย ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร #ถนนตัดใหม่เลียบคลองบางเขน #ChatuchakNightWalkingStreet

วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2566

ปรับปรุงคลองบางลำพู แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผ่านฟ้า-ป้อมพระสุเมรุ (ก...


ปรับปรุงคลองบางลำพู แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผ่านฟ้า-ป้อมพระสุเมรุ (ก.ย.66)
คลองบางลำพู เป็นส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุง เชื่อมต่อกับคลองโอ่งอ่างบริเวณทางแยกเข้าคลองมหานาคหรือสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มีความกว้าง 20 ม. ความยาว 1,550 ม. มีชุมชนที่ตั้งอยู่ริมคลอง 2 ชุมชน คือ ชุมชนตรอกบ้านพานถม จำนวน 467 ครัวเรือน ชุมชนวัดสังเวชวิศยาราม จำนวน 330 ครัวเรือน
คลิปนี้ผมจะเริ่มเดินตั้งแต่ สะพานผ่านฟ้าลีลาส -จนถึงสวนสันติชัยปราการ เดินผ่าน สะพานผ่านฟ้าลีลาศ  สะพานเฉลิมวันชาติ สะพานอุษาสวัสดิ์ สะพานนรรัตน์สถาน จนถึงสวนสันติชัยปราการ (ป้อมพระสุเมรุ)
คลองบางลำพูเป็นอีกหนึ่งคลอง ที่ทางกรุงเทพมหานคร ได้ทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เกิดความสวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย งดตั้งวางสิ่งและสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำริมคลองเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ให้ประชาชนได้ใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกันได้ อีกทั้งยังกระตุ้นเศษฐกิจให้ชุมชนริมคลองอีกด้วยโดยสำนักการโยธาได้มีการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองบางลำพูเป็นระยะทาง1500เมตร สร้างทางเดินริมคลองเพิ่มเติมและสำนักการระบายน้ำก็ได้ก่อสร้าง และปรับปรุงเขื่อน ค.ส.ล. ความยาวประมาณ 60 เมตร ซ่อมแซมผนังลายอิฐ ความยาวประมาณ 15 เมตร พร้อมทั้งติดตั้งบันไดเหล็ก จำนวน 30 จุด และพัฒนาระบบระบายน้ำเขตชั้นใน เป็นการจัดระเบียบปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาสภาพแวดล้อมโดยรอบเกาะรัตนโกสินทร์ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม โดยประชาชนสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะร่วมกันอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน สร้างรายได้ให้ชุมชนริมคลอง.โดยสามารถเดินทางเชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยว อาทิ พิพิธบางลำพู และสวนสันติชัยปราการ #คลองบางลำพู #บางลำพู

วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566

ปรับปรุงด่านสุขสวัสดิ์ | งานก่อสร้างอาคาร | บริเวณเชิงสะพานพระราม 9 (ก.ย...


ปรับปรุงด่านสุขสวัสดิ์ | งานก่อสร้างอาคาร | บริเวณเชิงสะพานพระราม 9 (ก.ย.66)
พาเดินดูการปรับปรุงด่านสุขสวัสดิ์ งานสร้างอาคารด่าน ทางขึ้น-ลงด่านสุขสวัสดิ์
การปรับปรุงครั้งนี้ เพื่อทำให้ผู้ใช้เส้นทาง สามารถเดินทางขึ้นสะพานขึงทั้ง 2 สะพานได้ เมื่อขึ้นมาจากด่านสุขสวัสดิ์ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้าง กิจการร่วมค้า ไอทีดี-วีซีบี 
ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด 
เป็นผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก 
ในสัญญาที่ 3 แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 2 ส่วน
1 การก่อสร้างช่วงเชิงสะพานขึงฝั่งถนนราษฎร์บูรณะ รูปแบบทางยกระดับซ้อนทับทางด่วนเแลิมมหานคร จนถึงแยกต่างระดับดาวคะนอง ถนนพระราม2 ระยะทาง 5 กิโลเมตร
2 งานปรับปรุงด่านสุขสวัสดิ์ สร้างอาคารด่าน มีการปิดเบี่ยงจราจร เพื่อดำเนินการก่อสร้างเสาตอม่อ 
#ปรับปรุงด่านสุขสวัสดิ์   #จุดตัดทางด่วนเฉลิมมหานคร

สถานีราษฎร์บูรณะ สถานีสุดท้ายในเขตกรุงเทพฯ ก่อนเข้าจังหวัดสมุทรปราการ (ก...


สถานีราษฎร์บูรณะ สถานีสุดท้ายในเขตกรุงเทพฯ ก่อนเข้าจังหวัดสมุทรปราการ (ก.ย.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก 
สถานีราษฎร์บูรณะ ตำแหน่งของสถานีจะอยู่ถัดจากทางด่วน ตรงถ.สุขสวัสดิ์ จุดตัดกับ คลองแจงร้อน มีอาคารจอดแล้วจร ริมถนนสุขสวัสดิ์ 2อาคาร ซึ่งตั้งอยุ่ในฝั่งขาออก 1อาคาร และฝั่งขาเข้า 1อาคาร รองรับรถยนต์ได้ 1384 คัน งานก่อสร้างอยู่ใน สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุใน  ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ภาพรวมการก่อสร้าง เดือน สิงหาคม 2566 งานโยธา 16.71%
ล่าสุด... ปิดเบี่ยงจราจร ชิดเกาะกลาง ฝั่งละ 1 ช่อง มีผลทำให้การจราจรไปและกลับเหลือฝั่งละ 3 ช่องจราจร รื้อย้ายสาธารณูประโภค ขุดหลุม ทำฐานราก หล่อเสาเข็ม
#รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ #mrtpurpleline

วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566

เสร็จแล้ว ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม |เชิญเที่ยวงานริมคลองผดุงกรุงเกษม (ก....


เสร็จแล้ว ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม |เชิญเที่ยวงานริมคลองผดุงกรุงเกษม (ก.ย.66)
เดินดูการปรับปรุงคลองผดุงฯในโซน 4 นางเลิ้ง (ช่วงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ แยกสะพานขาว- สะพานมัฆวานรังสรรค์) แวะเดินเที่ยวงาน ช๊อป ชม ชิม ริมคลองผดุง บริเวณถนนกรุงเกษม เลียบคลองผดุงกรุงเกษม
ชม วิวถ่ายรูปเช็คอินริมคลองผดุงกรุงเกษม ชมการแสดงย้อนยุค ลำตัด โขน 
ชิม อาหารอร่อยราคาถูกจากทั่วทุกภูมิภาค
ช็อป สินค้าอุปโภค บริโภคราคาถูกจากผู้ผลิตโดยตรง
ภายในงานชมฟรี คอนเสิร์ต พบกับศิลปินชื่อดังวันที่ 11-17 กันยายน 2566  
(งานจัดริมคลองผดุงกรุงเกษม ช่วง สะพานมัฆวานรังสรรค์-สะพานเทเวศน์นฤมิตร) แยกประชาเกษม-สะพานเทเวศนฤมิตร โครงการปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม ขณะนี้แล้วเสร็จทั้งหมดแล้ว มาเดินเล่น ถ่ายรูป ออกกำลังกายหรือนั่งเล่น มีเรือไฟฟ้าบริการฟรี รับ-ส่ง ตั้งแต่ท่าเรือหัวลำโพง จนถึงตลาดเทวราช ทุกวัน
#ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566

อาคารจอดรถไฟฟ้า |ศูนย์ซ่อมบำรุงครุใน MRT PURPLE LINE DEPOT (ก.ย.66)


อาคารจอดรถไฟฟ้า |ศูนย์ซ่อมบำรุงครุใน MRT PURPLE LINE DEPOT (ก.ย.66)
พาดู พื้นที่ก่อสร้าง อาคารจอดรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเบา ครุใน ผู้รับเหมาได้ตัดต้นไม้ รื้อย้ายบ้านเรือนเพื่อเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างแล้ว
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก  วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท มีทั้งหมด 17 สถานี เริ่มก่อสร้างปี 2565 และเปิดใช้งานประมาณปี 2570-2571
เป็นส่วนต่อขยายมาจากช่วง บางซื่อ -บางใหญ่   ตามแผนเดิมเส้นทางในโครงการจะสิ้นสุดที่ สถานีราษฎร์บูรณะ แต่การมีส่วนต่อขยายเส้นทางเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนรถไฟฟ้าต้องมีจำนวนมากขึ้น จุดจอดรถไฟฟ้า ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่ ไม่เพียงพอที่จะรับปริมาณรถไฟฟ้าที่มากขึ้น 
จึงต้องหาจุดจอดรถไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อรองรับ และจุดที่เหมาะสมคือบริเวณครุใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีราษำร์บูรณะถึง 4.4 กม. และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้สร้างสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 2 สถานี คือสถานีพระประแดง และสถานีครุใน ซึ่งตั้งอยู่ก่อนถึงอาคารจอดรถไฟฟ้า 
โรงจอดรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมย่อย ตั้งอยู่ริมถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ ข้างด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางครุ 3 
ภายในโรงจอดรถไฟฟ้า ศูนย์ซ่อมย่อย ข้างด่านบางครุ 3 ประกอบด้วยกลุ่มอาคารที่สำคัญต่างๆ ดังนี้
1 อาคารที่จอดขบวนรถไฟฟ้า
2 อาคารซ่อมบำรุงเบา
3 โรงล้างขบวนรถไฟฟ้า
4 อาคารทดสอบรถไฟฟ้า
5 อาคารบริหารและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
อัปเดต ภาพรวมการก่อสร้าง เดือน สิงหาคม 2566 งานโยธา16.71%
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร 
เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร 7 สถานี #อาคารจอดรถไฟฟ้า #รถไฟฟ้าสายสีม่วง

ล่าสุด สถานีโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า (สถานีสำเหร่) รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต...


ล่าสุด สถานีโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า (สถานีสำเหร่) รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (ก.ย.66)     
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก MRT PURPLE LINE
สถานีโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า มีการเปลี่ยนชื่อ จากสถานีสำเหร่ เป็น สถานีโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า รูปแบบสถานีใต้ดิน ตั้งอยู่ใต้ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ด้านหน้าโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ เป็นสถานีสุดท้ายของโครงการ ที่เป็นสถานีแบบใต้ดิน
บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้รับจ้างในสัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ - ดาวคะนอง 
ขณะนี้งานก่อสร้างอยู่ระหว่างสร้างกำแพงกันดิน และงานรื้อย้ายสาธารณูประโภค 
การจราจรฝั่งขาเข้าและออกเหลือ 2 ช่องจราจร
รฟม.จะทำการก่อสร้างทางเดินลอดใต้ดิน ช่องทางเข้าออกที่ 3 บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาล เพื่อสร้างทางขึ้น-ลง พร้อมกันนี้  จะทำการก่อสร้างทางเดินลอดใต้ดิน เพื่อเชื่อมต่อจากชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสารของสถานีไปยังด้านหน้าอาคารผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาล และไปเชื่อมต่อกับที่จอดรถใต้ดินของอาคารผู้ป่วยนอก 
ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าและผู้ใช้บริการของทางโรงพยาบาลให้สามารถเข้าถึงอาคารผู้ป่วยนอก (OPD) ได้อย่างสะดวก โดย รฟม.จะทำการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่ก่อสร้างให้เสร็จสมบูรณ์เมื่อโครงการฯแล้วเสร็จ ภาพรวมการก่อสร้าง เดือน สิงหาคม 2566 งานโยธา16.71%
#สถานีโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า  #สถานีสำเหร่

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566

รื้อแล้ว กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ ศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์...


รื้อแล้ว กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ ศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์  (ก.ย.66)
โครงการรื้อถอนอาคารกรมการปกครอง และสิ่งก่อสร้างประกอบ ภายในกระทรวงมหาดไทย  
กระทรวงมหาดไทย ตั้งอยู่ติดวัดราชบพิธฯ ริมคลองหลอด หัวมุมถนนอัษฎางค์ ตัดถนนบำรุงเมือง กรุงเทพฯ เตรียมย้ายไปที่ถนนเจริญนคร ข้างวัดเศวตฉัตรวรวิหาร ติดแม่น้ำเจ้าพระยา เนื้อที่ 19ไร่ 
ได้เริ่มก่อสร้างแล้ว กำหนดแล้วเสร็จปี 2569 โดยขณะนี้ได้รื้อถอน อาคารเก่า 6 ชั้น และสิ่งก่อสร้างประกอบ เป็นอาคารที่ใช้มากว่า 20 ปี ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับหมู่ตึกเก่ากระทรวงมหาดไทย 
เช่น อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย อาคารดำรงราชานุสรณ์ อาคารดำรงราชานุภาพ ริมถนนอัษฎางค์ กรุงเทพฯ มีแผนที่จะย้ายไปอยู่ที่ “ศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ ถนนเจริญนคร โดยจะอยู่ในโซน B อาคารของกรมการปกครอง ความสูง 21 ชั้น
สำหรับพื้นที่เดิมมีแนวคิดจะพัฒนาเป็นพื้นที่อนุรักษ์เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และศูนย์เรียนรู้ ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ โดยจะอนุรักษ์ศาลาว่าการเป็นอาคารเก่าแก่ไว้ และรื้อบางอาคารโดยรอบที่เป็นอาคารสูง เนื่องจากบดบังภูมิทัศน์ของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
#ย้ายกระทรวงมหาดไทย  #โครงการรื้อถอนอาคารกรมการปกครอง

วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2566

ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม โซนที่ 6 เทเวศน์ ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรื...


ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม โซนที่ 6 เทเวศน์ ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือเทเวศร์ (ก.ย.66)
โซน 6  เทเวศร์ (ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือเทเวศร์) ระยะทาง 700เมตร ผู้รับเหมา บริษัท วิวัฒน์พล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด งบประมาณ 76,500,000 บาท เชื่อมต่อการเดินทาง มีรถโดยสารประจำทาง สาย 53 ,33 เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือไฟฟ้าให้บริการในคลองผดุงฯ หัวลำโพง ท่าเรือเทเวศร์ ปรับปรุงภูมิทัศน์
บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม เริ่มตั้งแต่การจัดทำรูปแบบ การปรับปรุงคันหินและทางเท้า การจัดภูมิสถาปัตย์ ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง และเพิ่มจุดนั่งเล่น งบประมาณทั้งสิ้น 453.2 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโดย กรุงเทพมหานคร  (กทม.) 
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมฯระยะทางรวม 4,480 ม. แบ่งเป็น 6 โซน
โซน 1 ตลาดน้อย (ช่วงท่าเรือสี่พระยา - สะพานเจริญสวัสดิ์36) ระยะทาง 680 ม. 
โซน 2 หัวลำโพง (ช่วงสะพานเจริญสวัสดิ์36 - สะพานกษัตริย์ศึก) ระยะทาง 1,250 ม.
โซน 3โบ้เบ้ (ช่วงสะพานกษัตริย์ศึก - สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์/แยกสะพานขาว) ระยะทาง 450 ม. 
โซน 4 นางเลิ้ง (ช่วงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์/แยกสะพานขาว - สะพานมัฆวานรังสรรค์) ระยะทาง 700 ม. 
โซน 5 สถานที่ราชการ (ช่วงสะพานมัฆวานรังสรรค์ - สะพานเทเวศรนฤมิตร) ระยะทาง 700 ม. 
โซน 6  เทเวศร์ (ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือเทเวศร์) ระยะทาง 700 ม.
#ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม  #ท่าเรือเทเวศร์ 

วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2566

พานั่งมอเตอร์ไซค์ เที่ยวกรุงรัตนโกสินทร์ ย่านท่าเตียน ท่าพระจันทร์ ถึงแย...


พานั่งมอเตอร์ไซค์ เที่ยวกรุงรัตนโกสินทร์ ย่านท่าเตียน ท่าพระจันทร์ ถึงแยกบางลำพู (ก.ย.66)
พาเที่ยวย่านเกาะรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สะพานพุทธ ผ่านปากคลองตลาด เข้าถนนมหาราช ท่าเตียน ท่าช้าง ท่าพระจันทร์ เลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงแยกบางลำพู ซึ่งจะผ่านแลนด์มาร์คสำคัญมากมายของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รู้จักกันเป็นอย่างดี ท่าเตียน ย่านเก่าแก่สำคัญ
ฝั่งพระนคร  ที่มีเสน่ห์สุดคลาสสิกของชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เราจะเห็นตึกสองชั้นสีเหลือง สไตล์โคโลเนียล มีวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่พระนครมาอย่างยาวนานก็คือ วัดโพธิ์ ขณะนี้ทางวัดโพธิ์กำลังก่อสร้างท่าเรือ 
ท่าพระจันทร์ ที่มาของชื่อท่าพระจันทร์ บริเวณท่าเรือเคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์ ซึ่งเป็นป้อมแห่งหนึ่ง
ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามแนวกำแพงพระนครด้านตะวันตก โดยเป็นที่รู้จักกันดี ในเรื่องตลาดพระเครื่องและวัตถุมงคลต่าง ๆ รวมถึงร้านค้า, ร้านอาหาร, ร้านหนังสือต่าง ๆ อีกด้วย
สวนสันติชัยปราการ เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนเมือง พื้นที่ประมาณ 8 ไร่เศษ รอบป้อมพระสุเมรุ 
ซึ่งตั้งอยู่ช่วงปลายถนนพระอาทิตย์ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงปากคลองบางลำพู สวนแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 #เที่ยวกรุงรัตนโกสินทร์  #ย่านท่าเตียน

เดินเล่น จากบีทีเอสหมอชิต ถนนพหลโยธิน ถึงแยกสะพานควาย Saphan Kwai(ก.ย.66)


เดินเล่น จากบีทีเอสหมอชิต ถนนพหลโยธิน ถึงแยกสะพานควาย Saphan Kwai (ก.ย.66)
เดินดูบรรยากาศ ชุมชน ตึกแถว ร้านค้า เริ่มจาก btsสถานีหมอชิต เดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถนนพหลโยธิน ผ่านกรมขนส่งทางบก btsสะพานควาย บิ๊กซีสะพานควาย จนถึงแยกสะพานควาย ซึ่งเป็นทางแยกจุดเชื่อมของ ถนนประดิพัทธ์ และถนนสาลีรัฐวิภาค โดยมีถนนพหลโยธินมาตัดผ่าน
ย่านสะพานควาย มีชุมชนเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยเป็นเวลานาน ในอดีตจะมีพ่อค้าวัวควายจากภาคอีสานของไทย เดินทางมาค้าขายวัวควายที่ภาคกลาง และผ่านพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งขณะนั้นเป็นทุ่งนา มีสะพานไม้ให้วัวควายเดินข้าม หลังจากนั้นมีการค้าขายที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น สู่ยุคที่ธุรกิจห้างสรรพสินค้าชั้นนำกำลังขยายตัว ย่านสะพานควาย เป็นหนึ่งในย่านที่กลุ่มทุน มาปักหลักปักฐานเปิดบริการ เช่นห้างสรรพสินค้าเมอร์รี่คิงส์ ซึ่งในอดีตเป็นห้างชื่อดัง ต่อมาปิดบริการไป ล่าสุดเปลี่ยนเป็น เดอะ ไรซ์ บาย ศรีศุภราช
ปัจจุบันย่านสะพานควาย เป็นย่านที่ตลาดคอนโดมิเนียมมีการเติบโต ราคาที่ดินสูงขึ้นมาก มีผลมาจากการขยายตัวของเมือง มีรถไฟฟ้าผ่าน ใกล้สถานีขนส่งขนาดใหญ่ เช่นหมอชิต2 สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ 
ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่สำคัญจำนวนมาก จึงทำให้ย่านสะพานความเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว #สะพานควาย #btsหมอชิต 

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2566

ปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม โซนตลาดน้อย เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวย่านช...


ปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม โซนตลาดน้อย เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวย่านชุมชนเก่าแก่ (ก.ย.66)
การปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม โซนตลาดน้อย (ช่วงสะพานพิทยเสถียร ถึงสะพานเจริญสวัสดิ์ 36) ระยะทาง 680 เมตร ผู้รับเหมา บริษัท วิวัฒน์พล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  งบประมาณ 71,500,000 บาท ล่าสุด ได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม เริ่มตั้งแต่การจัดทำรูปแบบ การปรับปรุงคันหินและทางเท้า การจัดภูมิสถาปัตย์ ถนนด้านข้าง ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง และเพิ่มจุดนั่งเล่น งบประมาณทั้งสิ้น 453.2 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่ช่วงสะพานพิทยเสถียร จนไปถึงท่าเรือเทเวศน์ ระยะทางรวม 4,480 เมตร ดำเนินการก่อสร้างโดย กรุงเทพมหานคร 
การปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม แบ่งเป็น 6 โซนดังนี้
โซน 1ตลาดน้อย ((ช่วงสะพานพิทยเสถียร ถึงสะพานเจริญสวัสดิ์ 36) ระยะทาง 680 ม.
โซน 2 หัวลำโพง (ช่วงสะพานเจริญสวัสดิ์36 - สะพานกษัตริย์ศึก) ระยะทาง 1,250 ม. 
โซน 3โบ้เบ้ (ช่วงสะพานกษัตริย์ศึก - สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ระยะทาง 450 ม. 
โซน 4นางเลิ้ง (สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ - สะพานมัฆวานรังสรรค์)ระยะทาง 700 ม. 
โซน 5 สถานที่ราชการ (ช่วงสะพานมัฆวานรังสรรค์ - สะพานเทเวศรนฤมิตร) ระยะทาง 700 ม. 
#ปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม  #โซนตลาดน้อย

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2566

จัดระเบียบข้างทางรถไฟ กั้นรั้วป้องกันบุกรุก ต้นแบบการพัฒนาริมทางรถไฟ (ก....


จัดระเบียบข้างทางรถไฟ กั้นรั้วป้องกันบุกรุก ต้นแบบการพัฒนาริมทางรถไฟ (ก.ย.66)
เดินดู การปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ริมทางรถไฟ บริเวณชุมชนบุญร่มไทร ช่วงถนนพญาไท-ถนนพระรามที่6 นั่งรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง
โครงการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ริมทางรถไฟภายในเขตปริมณฑล และทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ของการรถไฟฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การบริหารจัดการพื้นที่ สองข้างทางรถไฟสายตะวันออก ทำความสะอาด จัดเก็บขยะมูลฝอย วัชพืช บริเวณริมทางรถไฟ ระหว่างที่หยุดรถอุรุพงษ์ – ที่หยุดรถพญาไท ตลอดจนแนวเขตทางรถไฟ ซึ่งเป็นจุดที่มีการรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างของผู้บุกรุก ได้ทำการวางแนวรั้วกั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งทำการประชาสัมพันธ์
ติดป้ายประกาศห้ามบุกรุก เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกลับมาบุกรุก หรือทิ้งขยะในพื้นที่ของการรถไฟได้อีก #ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ริมทางรถไฟ  #ชุมชนบุญร่มไทร

วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566

ล่าสุด สถานีดาวคะนอง งานขุดทำท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน ปิดเบี่ยงจราจร (ก.ย...


ล่าสุด สถานีดาวคะนอง งานขุดทำท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน ปิดเบี่ยงจราจร mrtpurpleline (ก.ย.66)
ข่าวจากเพจ  โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) mrt purple line ประชาสัมพันธ์ แจ้งปิดเบี่ยงจราจร ฝั่งขาเข้า 1 ช่องจราจร และฝั่งขาออก 2 ช่องจราจร เลนกลาง บนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน บริเวณซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 39 เพื่องานก่อสร้างโครงสร้างท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน ในระหว่างวันที่ 8 กันยายน – 30 กันยายน 2566  ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 2 ช่องจราจร และฝั่งขาออก 4 ช่องจราจร สถานีดาวคะนอง (เดิมชื่อสถานีจอมทอง)  รูปแบบสถานีแบบยกระดับ มีจุดขึ้น-ลง สถานี 2จุด ดังนี้
จุดที่ 1   บริเวณอาคารพาณิชย์ 4ชั้น ใกล้กับคลอง บางสะแก ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฝั่งขาเข้า
จุดที่ 2  บริเวณอาคารพาณิชย์ 2ชั้นใกล้กับคลอง บางสะแก ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฝั่งขาออก โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างงานก่อสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ อาคารจอดรถไฟฟ้า อาคารจอดแล้วจร  
สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง – ครุใน  
ความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เดือนกรกฎาคม 2566 ภาพรวมความก้าวหน้างานโยธา 14.70% 
มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร 7 สถานี #สถานีดาวคะนอง   #โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง #mrtpurpleline

วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2566

รีวิว..สะพานข้ามแยกบางกะปิ ฝั่งขาเข้า | ฝั่งขาออก ถนนเสรีไทย - ถนนลาดพร้...


รีวิว..สะพานข้ามแยกบางกะปิ ฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก ถนนเสรีไทย - ถนนลาดพร้าว (4 ก.ย.66)
สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.)  และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 
ได้เปิดใช้สะพานข้ามแยกบางกะปิ ฝั่งขาเข้า 2 ช่องทาง  จากถนนเสรีไท-ถนนลาดพร้าว - 
ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ของวันที่ 4 ก.ย. 2566  ที่ผ่านมา จึงมีผลให้สะพานข้ามแยกบางกะปิ เปิดครบทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งไปและกลับ ทั้งนี้ จะปิดการจราจรเพื่อเก็บรายละเอียดในช่วงเวลา 22.00 - 05.00 น. ของทุกวัน
สำหรับการก่อสร้างปรับปรุงสะพานข้ามแยกบางกะปิ (สะพานลาดพร้าว-เสรีไทย) เป็นความร่วมมือระหว่าง กทม. กับ รฟม. โดยในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ต้องมีการก่อสร้างเสาตอม่อบริเวณเกาะกลางถนนลาดพร้าว ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟฟ้าได้ทับซ้อนกับสะพานข้ามแยกบางกะปิด้วย 
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรื้อสะพานข้ามแยกบางกะปิออก โดยเมื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแล้วเสร็จ 
ทาง รฟม. จึงได้สร้างสะพานคืนให้ตามเดิม ทั้งนี้ รฟม. เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรื้อ และก่อสร้างสะพานข้ามแยกฝั่งลาดพร้าว ถึงแยกบางกะปิ ส่วน กทม. รับผิดชอบจากแยกบางกะปิ ถึงถนนเสรีไทย
#สะพานข้ามแยกบางกะปิ

วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2566

อุโมงค์ทางลอด วันแบงค็อก เชื่อมทางด่วนเฉลิมมหานคร แก้ปัญหาจราจร (ก.ย.66)


อุโมงค์ทางลอด วันแบงค็อก เชื่อมทางด่วนเฉลิมมหานคร แก้ปัญหาจราจร  (ก.ย.66)
โครงการ one bangkok เนื่องจากมีขนาดใหญ่ ทำเลใจกลางเมือง ซึ่งมีปัญหาเรื่องการจราจรติดขัด จึงทำให้กลุ่มทีซีซีฯต้องลงทุนก่อสร้างทางเชื่อมเข้ากับโครงการ “วัน แบงค็อก” เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรโดยรอบ ล่าสุดได้สร้างทางเชื่อมกับทางด่วน เพื่อลดปัญหาการจราจรโดยรอบ โครงการ วัน แบงค็อก
โดยก่อสร้างเป็นทางเชื่อมรูปแบบถนนระดับดิน ขนาด 2 ช่องจราจร 
มีจุดเริ่มต้นบริเวณถนนวิทยุ มุ่งหน้าไปทางตะวันออก ผ่านแยกถนนปลูกจิต สร้างเป็นอุโมงค์ทางลอด ขนาด 2 ช่องจราจร และไปเชื่อมกับทางด่วนขั้นที่ 1ซึ่งจุดนี้จะมีสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง และอาคารด่าน ปรับปรุงถนนเดิมของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่มีอยู่แล้วเป็นระยะทางประมาณ 1 กม.เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางด่วนไม่ต้องอ้อมไปด้านถนนพระราม 4 โดยจัดเก็บค่าผ่านในอัตราปกติ 50 บาท”
#อุโมงค์วันแบงค็อก  #วันแบงค็อก #onebangkok

สวนคลองช่องนนทรี ช่วงถนนสุรวงศ์ - ถนนสาทร Khlong Chong Nonsi Park (ก.ย.66)


สวนคลองช่องนนทรี ช่วงถนนสุรวงศ์ - ถนนสาทร Khlong Chong Nonsi Park (ก.ย.66)
โครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี ช่วงที่ 1 ถนนสุรวงศ์ - ถนนสาทร โดยจะเริ่มถ่ายตั้งแต่แยกสาทร นราธิวาส ผ่าน bts สถานีช่องนนทรี จนไปถึงบริเวณถนนสุรวงศ์
โครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี ตามแผนเดิม เริ่มจากถนนสุรวงศ์ จนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร มีการออกแบบแยกชั้นในการรองรับน้ำ โดยน้ำฝนจะไหลลงตามคลอง และน้ำทิ้งทำเป็นท่อระบายน้ำใต้คลอง ลึกลงไป 4 เมตร 
ได้แบ่งงานก่อสร้าง 5 ช่วง ได้แก่  
1 ช่วงถนนสุรวงศ์ ถึงถนนสาทร ระยะทาง 800เมตร วงเงิน 80ล้านบาท (กำลังก่อสร้าง)
2 ช่วงถนนสาทร -ซอยนราธิวาสราชนครินทร์7 ระยะทาง 200เมตร วงเงิน 80ล้านบาท (เปิดแล้ว)
3 ช่วงซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 ถึงถนนจันทน์ระยะทาง1.6 ก.มวงเงิน 370 ล้านบาท (เตรียมก่อสร้าง)
4 ช่วงถ.จันทร์-ถ.รัชดาภิเษก ระยะทาง 1กม. วงเงิน 250 ล้านบาท (ไม่ดำเนินการ)
5 ช่วงถ.รัชดาภิเษก -ถ.พระราม 3 ระยะทาง 900เมตร วงเงิน 200ล้านบาท(ไม่ดำเนินการ) 
ล่าสุด กทม.ได้ตัดงานก่อสร้างในช่วงที่ 4และ5 ออกจากโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี โดยใแจ้งว่างบประมาณมีไม่เพียงพอ จึงดำเนินการโครงการดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
จากเดิมโครงการใช้งบประมาณ 980 ล้านบาท จึงตัดให้เหลือ 520 ล้านบาท และลดระยะทางจาก 4.5 กิโลเมตร เหลือ 2.6 กม. ส่งผลให้โครงการดังกล่าวเหลือ 3 ช่วง
#โครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี

วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566

สถานีแยกประชาอุทิศ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เร่งหล่อเสาสถานี ทางวิ่งรถไฟฟ้า (...


สถานีแยกประชาอุทิศ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เร่งหล่อเสาสถานี ทางวิ่งรถไฟฟ้า (1 ส.ค.66) 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูน -ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก 
ภาพรวมทั้งโครงการ เดือนกรกฎาคม 2566 ความก้าวหน้างานโยธา 14.70% 
คลิปนี้มากันที่ สถานีแยกประชาอุทิศ ผู้รับจ้างก่อสร้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง – ครุใน ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร บนถนนสุขสวัสดิ์ ฝั่งขาเข้าและขาออก 1 ช่องจราจร ชิดเกาะกลาง บนถนนสุขสวัสดิ์ ตั้งแต่บริเวณ คลองราษฎร์บูรณะ ถึงบริเวณแยกประชาอุทิศ เพื่อทำการก่อสร้างสถานีแยกประชาอุทิศ และงานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งหลัก มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทางและฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง 
ล่าสุด.. เร่งหล่อเสาสถานีแยกประชาอุทิศ และเสาทางวิ่งยกระดับ ขึ้นมาให้เห็นหลายต้นแล้ว
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
เป็นส่วนต่อขยายเริ่มจากสถานีเตาปูน วิ่งมาลงมาทางด้านทิศใต้ ลดระดับเป็นสถานีใต้ดิน 
ผ่านถนนสายสำคัญหลายสาย อย่างเช่น ถนนสามเสน ถนนพระสุเมรู ถนนมหาไชย ถนนประชาธิปก
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปลี่ยนเป็นทางวิ่งยกระดับช่วงดาวคะนอง เข้าถนนสุขสวัสดิ์ สิ้นสุดที่บริเวณตลาดครุใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร 7 สถานี
#สถานีแยกประชาอุทิศ   #mrtpurpleline #รถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ