วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566

ล่าสุด ปรับปรุงคลองผดุง โซนตลาดน้อย เชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยวกลางกรุง


ล่าสุด ปรับปรุงคลองผดุง โซนตลาดน้อย เชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยวกลางกรุง
ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม เริ่มตั้งแต่การจัดทำรูปแบบ การปรับปรุงคันหินและทางเท้า การจัดภูมิสถาปัตย์ ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง และเพิ่มจุดนั่งเล่น งบประมาณทั้งสิ้น 453.2 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโดย กรุงเทพมหานคร  (กทม.) 
(คลิปนี้พามาดูการปรับปรุงคลองผดุงในโซนที่ 1 ตั้งแต่สะพานพิทยเสถียร จนถึงถนนพระรามที่4)โซน 1 ตลาดน้อย (ช่วงท่าเรือสี่พระยา - สะพานเจริญสวัสดิ์36) ระยะทาง 680 ม. ผู้รับเหมา บริษัท วิวัฒน์พล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  งบประมาณ 71,500,000 บาท
ขณะนี้มีการปูพื้นทางเท้า ติดตั้งราวกันตก ติดตั้งระบบไฟส่องสว่าง พื้นที่นั่งเล่น ในฝั่ง ถนนมหาพฤฒาราม ในโซนตลาดน้อยมีการปรับปรุงตั้งแต่ตั้งแต่สะพานพิทยเสถียร จนถึงถนนพระรามที่4 ใกล้เสร็จสมบูรณ์ สำหรับการปรับปรุงคลองผดุงในโซนตลาดน้อย ซึ่งโซนนี้ เราสามารถเดินเชื่อม ตลาดน้อย และ คลองผดุงกรุงเกษมได้
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมฯระยะทางรวม 4,480 ม. แบ่งเป็น 6 โซน
โซน 1 ตลาดน้อย (ช่วงท่าเรือสี่พระยา - สะพานเจริญสวัสดิ์36) ระยะทาง 680 ม. 
โซน 2 หัวลำโพง (ช่วงสะพานเจริญสวัสดิ์36 - สะพานกษัตริย์ศึก) ก่อสร้างเสร็จแล้ว
โซน 3โบ้เบ้ (ช่วงสะพานกษัตริย์ศึก - สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ระยะทาง 450 ม. 
โซน 4 นางเลิ้ง (ช่วงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์/แยกสะพานขาว - สะพานมัฆวานรังสรรค์) ระยะทาง 700 ม. 
โซน 5 สถานที่ราชการ (ช่วงสะพานมัฆวานรังสรรค์ - สะพานเทเวศรนฤมิตร) ระยะทาง 700 ม. 
โซน 6  เทเวศร์ (ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือเทเวศร์) ระยะทาง 700 ม
#ปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม   #ตลาดน้อย

วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2566

สถานีแยกประชาอุทิศ รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก


สถานีแยกประชาอุทิศ รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูน -ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก MRT purple line ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร บนถนนสุขสวัสดิ์ ฝั่งขาเข้าและขาออก 1 ช่องจราจร ชิดเกาะกลาง บนถนนสุขสวัสดิ์ ตั้งแต่บริเวณ คลองราษฎร์บูรณะ ถึงบริเวณแยกประชาอุทิศ เพื่อทำการก่อสร้างสถานีแยกประชาอุทิศ และงานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งหลัก มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทางและฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง สถานีแยกประชาอุทิศ  ตำแหน่งสถานีอยู่บริเวณซอยวัดสารอด (สุขสวัสดิ์ 44) ใกล้กับสามแยกประชาอุทิศมีทางขึ้น ลง 4จุดดังนี้
ทางขึ้น-ลงที่ 1 ใกล้ซอยสุขสวัสดิ์29 มีบันไดธรรมดา บันไดเลื่อน ลิฟท์โดยสาร
ทางขึ้น-ลงที่ 2บริเวณอาคารพาณิชย์ใกล้ซอยสุขสวัสดิ์31 มีบันไดธรรมดา บันไดเลื่อน
ทางขึ้น-ลงที่ 3 ข้างกับธนาคารกรุงเทพ มีบันไดธรรมดา บันไดเลื่อน
ทางขึ้น-ลงที่ 4พื้นที่ติดกับซอยสุขสวัสดิ์44 มีบันไดธรรมดา บันไดเลื่อน ลิฟท์โดยสาร
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก เป็นส่วนต่อขยายเริ่มจากสถานีเตาปูน วิ่งมาลงมาทางด้านทิศใต้ ลดระดับเป็นสถานีใต้ดิน ผ่านถนนสามเสน ถนนพระสุเมรู ถนนมหาไชย ถนนประชาธิปกถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ เปลี่ยนเป็นทางวิ่งยกระดับช่วงดาวคะนอง สิ้นสุดที่บริเวณตลาดครุใน รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก บางคนเรียกว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ครุใน ผู้รับจ้างงานก่อสร้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง – ครุใน  
คืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เดือนมีนาคม  2566 ความก้าวหน้างานโยธา 8.80% 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร 
เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร 7 สถานี#สถานีแยกประชาอุทิศ   #mrtpurpleline #รถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ

วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2566

ป้ายรถเมล์ติดแอร์ พลังงานแสงอาทิตย์ แห่งแรกในไทย Seacon bus station


ป้ายรถเมล์ติดแอร์ พลังงานแสงอาทิตย์ แห่งแรกในไทย Seacon bus station 
Seacon bus station ป้ายรถเมล์ติดแอร์ แห่งแรกในไทย ตั้งอยู่ด้านหน้า ซีคอน ศรีนครินทร์ ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ และ บริษัท คูลคูล จำกัด ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดทำป้ายรถเมล์ติดแอร์ พลังงานแสงอาทิตย์ แห่งแรกในประเทศไทย ที่ด้านหน้าศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์  
พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ป้ายรถเมล์ติดแอร์นี้ ใช้แสงอาทิตย์เป็นพลังงานในการสร้างกระแสไฟฟ้า ทั้งช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดด และสภาวะมลพิษฝุ่นควัน PM2.5 ภายในที่พักคอยรถโดยสารสาธารณะ มีขนาดพื้นที่ 40 ตารางเมตร รองรับผู้ใช้บริการได้ราว 40 คน ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ประกอบด้วย ระบบปรับอากาศพลังงานแสงอาทิตย์, บริการ Free Wi-Fi ที่เสียบ USB สำหรับชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ, ตู้กดน้ำดื่มสาธารณะ, กล้อง CCTV เชื่อมต่อระบบไปยังศูนย์บริหารจัดการ, ระบบสัญญาณเตือนฉุกเฉิน และจอแสดงสายรถเมล์ที่กำลังจะมาถึง
Seacon bus station จัดสร้างโดย บมจ. ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ และศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ร่วมกับพันธมิตร เช่น บริษัท คูลคูล จำกัด บริษัทที่ผลิตเครื่องปรับอากาศระบบโซลาร์เซลล์ เบื้องต้นใช้งบประมาณในการจัดสร้าง 3 ล้านบาท ทั้งได้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ ให้บริการ Free Wi-Fi และการประปานครหลวง สนับสนุนน้ำดื่มแก่ผู้ใช้ ผ่านมาใช้บริการกันได้ ฟรีครับ 

Cloud 11 มิกซ์ยูส 40,000 ล้าน ย่านอุดมสุข ถนนสุขุมวิท 101/1 ใกล้รถไฟฟ้า bts


Cloud 11 มิกซ์ยูส 40,000 ล้าน ย่านอุดมสุข ถนนสุขุมวิท 101/1 ใกล้รถไฟฟ้า bts
Cloud 11 มิกซ์ยูส 40,000 ล้าน ย่านอุดมสุข ถนนสุขุมวิท 101/1 ใกล้รถไฟฟ้า bts
โครงการ Cloud 11 มิกซ์ยูส (Mixed-use) ขนาดใหญ่ มีพื้นที่อาคาร 250,000 ตารางเมตร 
เจ้าของโครงการ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับต้นๆ Cloud 11 (คลาวด์ อีเลฟเว่น) มีมูลค่าการลงทุนกว่า40,000 ล้านบาท ประกอบไปด้วย ศูนย์การค้า ร้านค้าปลีก ฮอลล์จัดงานคอนเสิร์ต สำนักงานให้เช่า สวนลอยฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร  ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดิน 27 ไร่ ติดถนนสุขุมวิท ใกล้BTS สถานี อุดมสุข  และbtsสถานีปุณวิถี ปัจจุบันโครงการอยุ่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง โดย บริษัท นันทวัน จำกัด (Thai Obayashi)  
คาดว่าจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2568 
#Cloud11 #BangkokCybertechDistrict

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2566

ล่าสุด ถนนเลียบคลองบางเขน เส้นทางลัดเลี่ยงรถติด ถนนวิภาวดี ถนนพหลโยธิน


ล่าสุด ถนนเลียบคลองบางเขน เส้นทางลัดเลี่ยงรถติด ถนนวิภาวดี ถนนพหลโยธิน
ถนนเลียบคลองบางเขน”เส้นทางลัด ถนนวิภาวดี เชื่อม ถนนพหลโยธิน 49/1 
ก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 4 ช่องจราจร 
จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติไปทะลุถนนพหลโยธิน 49/1 ใกล้กับสถานีบางบัวของรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 
สภาพเดิมเป็นถนนลูกรัง ต่อมา กทม.ได้จัดงบประมาณพัฒนาโครงการ ตัดถนนใหม่ มีขนาด 2 ช่องจราจร แบ่งสร้างเป็น 3 ระยะ แต่ติดปัญหาสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ ทำให้โครงการกระท่อนกระแท่นไม่ฉลุยอย่างที่คิด จนมาแล้วเสร็จเปิดใช้ในเดือน มี.ค.2559
ล่าสุด กทม. ได้ก่อสร้างถนนเลียบคลองบางเขน จากถนนเดิมที่มีขนาด 2 ช่องจราจร ขยายเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 4 ช่องจราจร ไป/กลับ มีระยะทาง 2 กม. โดยผู้รับจ้างคือ ”บริษัท เอสเทค ซีวิล แอนด์ คอนสตรัคชั่น“ เป็นผู้ก่อสร้าง ด้วยวงเงิน 515 ล้านบาท รวมก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค พร้อมทางเท้า ระบบระบายน้ำ เขื่อน กำแพงกันดิน สร้างสวนริมคลอง เป็นจุดพักผ่อน นั่งเล่น และออกกำลังกาย
ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ป้ายและเครื่องหมายจราจร และระบบสาธารณูปโภค คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2566นี้ เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยระบายการจราจรบนถนนวิภาวดรังสิต และถนนพหลโยธิน ถนนงามวงศ์วานและโดยรอบได้เป็นอย่างดี #ถนนเลียบคลองบางเขน #เส้นทางลัดถนนวิภาวดีถนนพหลโยธิน

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ล่าสุด เชื่อมสายสีชมพู/สายสีเขียว Mrt pink line


สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ล่าสุด เชื่อมสายสีชมพู/สายสีเขียว Mrt pink line
ตั้งอยู่ฝั่งถนนรามอินทรา บริเวณวงเวียนบางเขน เป็นสถานีเดียวของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่ตัวสถานีถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ระหว่างสะพานข้าม วงเวียนพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออกของ ถ.รามอินทรา โดยทางเข้าออกมี 2 ฝั่ง คือฝั่ง ถ.รามอินทราที่อยู่หน้า สน.บางเขน และ ฝั่งที่อยู่ข้างๆสำนักงานเขต ระหว่างชานชาลาเดินข้ามฝั่งถึงกันได้ โดยเดินบนskywalk ที่อยู่เหนือสะพานข้ามวงเวียน และตัวสถานีจะสามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้โดยตรง ทำให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน
ความคืบหน้า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566  งานโยธา 95.80%   งานระบบไฟฟ้า 96.09%  ภาพรวม 95.97% 
รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีการเลื่อนเปิดให้บริการหลายครั้ง ตั้งแต่ปลายปี 64 
ล่าสุดได้มีการทดสอบเดินรถเสมือนจริง และคาดกำหนดเปิดใช้ไว้กลางปี 66นี้ 
#สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ #รถไฟฟ้าสายสีชมพู #mrtpinkline

วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2566

คืบหน้า สถานีศรีย่าน สถานีวชิรพยาบาล รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ...


คืบหน้า สถานีศรีย่าน สถานีวชิรพยาบาล รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน
สถานีศรีย่าน  ที่ตั้งของสถานีจะอยู่หน้า กรมชลประทาน 
กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-พีแอล ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ  ครุใน
สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน - หอสมุดแห่งชาติ
สถานีวชิรพยาบาล ที่ตั้งของสถานีจะอยู่หน้า รพ.วชิรพยาบาล
กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-พีแอล ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ  ครุใน
สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน - หอสมุดแห่งชาติ
รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ครุใน MRT Purple Line 
ความก้าวหน้าเดือนมีนาคม 2566 งานโยธา 8.80%
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ครุในพระประแดง 
#สถานีวชิรพยาบาล  #รถไฟฟ้าสายสีม่วง # MRTPurpleLine

วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2566

เจาะอุโมงค์เชื่อม วัน แบงค็อก one bangkok แก้ปัญหาการจราจร


เจาะอุโมงค์เชื่อม วัน แบงค็อก one bangkok แก้ปัญหาการจราจร
โครงการสร้างทางเชื่อมกับทางด่วน แก้ปัญหาการจราจรโดยรอบ วัน แบงค็อก เนื่องจากโครงการมีขนาดใหญ่ และอยู่ในทำเลที่ตั้งใจกลางเมือง ซึ่งมีปัญหาเรื่องการจราจรติดขัด จึงทำให้กลุ่มทีซีซีฯ ต้องลงทุนก่อสร้างทางเชื่อมเข้ากับโครงการ “วัน แบงค็อก” เพื่อบรรเทาปัญหา การจราจรโดยรอบ ล่าสุดได้ลงทุนสร้างทางเชื่อมกับทางด่วน เพื่อลดปัญหาการจราจรโดยรอบโครงการ วัน แบงค็อก
โครงการจะเป็นทางเชื่อมรูปแบบถนนระดับดิน ขนาด 2 ช่องจราจร 
มีจุดเริ่มต้นบริเวณถนนวิทยุ มุ่งหน้าไปทางตะวันออก ผ่านแยกถนนปลูกจิต สร้างเป็นอุโมงค์ทางลอด ขนาด 2 ช่องจราจร และไปเชื่อมกับทางด่วนขั้นที่ 1 ซึ่งจุดนี้จะมีการสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 3 ช่องจราจร รวมทั้งอาคารด่าน และปรับปรุงถนนเดิมของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่มีอยู่แล้วเป็นระยะทางประมาณ 1 กม.เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางด่วนไม่ต้องอ้อมไปด้านถนนพระราม 4 โดยจัดเก็บค่าผ่านในอัตราเดิม 50 บาท #อุโมงค์วันแบงค็อก  #วันแบงค็อก #onebangkok

ปรับโฉมคลองผดุงฯ โซนตลาดโบ๊เบ๊ เชื่อมย่านการค้า


ปรับโฉมคลองผดุงฯ โซนตลาดโบ๊เบ๊ เชื่อมย่านการค้า
ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม โซน3โบ้เบ้ ต้นแบบทางเท้าริมคลอง และการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย (ช่วงสะพานกษัตริย์ศึก - สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์/แยกสะพานขาว) ระยะทาง 450 ม.ผู้รับจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ทวีชัยก่อสร้าง ตลาดโบ๊เบ๊ ถือเป็นแหล่งขายส่งเสื้อผ้า สินค้าราคาถูก เป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองเพื่อพลิกฟื้นวิถีชีวิตประชาชนริมคลอง ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของคลอง โดยทำการปรับภูมิทัศน์คลองผดุง ตลอด 2ฝั่งคลอง ตั้งแต่ท่าเรือ 4 พระยา -ท่าเรือเทเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษมเป็น 1 ในคลองที่กรุงเทพมหานครกำหนดพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ ปรับปรุงภูมิทัศน์คูคลองให้มีความสะอาด สวยงาม และปลอดภัย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาแหล่งน้ำให้สวยงาม สะอาดอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของชุมชน สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น เป็นเส้นทางสัญจร สถานที่พักผ่อน สถานที่ออกกำลังกาย #ตลาดโบ้เบ้ #ปรับภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม

วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2566

ชี้เป้า..สถานีศรีนุช /สถานีกลันตัน ตำแหน่งบันไดเลื่อน ลิฟท์โดยสาร รถไฟฟ...


ชี้เป้า..สถานีศรีนุช /สถานีกลันตัน ตำแหน่งบันไดเลื่อน ลิฟท์โดยสาร  รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีศรีนุช  ตั้งอยุ่ใน ด้านทิศใต้ของแยกศรีนุช  สถานีกลับตัน  ตั้งอยู่หน้าธัญญะ ช็อปปิ้ง พาร์ค และบ้านกลางเมือง  ศรีนครินทร์   
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง มีความยาวกว่า 30.4 กิโลเมตร 
ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ และมีทั้งหมด 23 สถานี เริ่มต้นที่สถานีลาดพร้าว ซึ่งเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีลาดพร้าว และไป
สิ้นสุดเส้นทางที่สถานีสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ #โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566

ปรับโฉม ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า มิกซ์ยูสแห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์


ปรับโฉม ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า มิกซ์ยูสแห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์ 
ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า (The Old Siam Plaza) ฉลองครบรอบ 30 ปี ทุ่มงบกว่า 400 ล้านบาท 
รีโนเวทพื้นที่ภายใน และภายนอกทั้งหมด ทั้งในส่วนพลาซ่า และบ้านพักอาศัย แต่คงเอกลักษณ์ของอาคารในสไตล์โคโลเนียล ที่มีความคลาสสิก ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า  มิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ ภายใต้การถือครอง และบริหารงานของ บริษัท สยามสินธร จำกัด นับว่าเป็นโครงการมิกซ์ยูส ไลฟ์สไตล์ แห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์ บนที่ดิน 13.61 ไร่ พื้นที่ให้บริการ 98,500 ตารางเมตร เป็นทั้งศูนย์กลางธุรกิจ, ไลฟ์สไตล์ ชอปปิ้ง และบ้านพักอาศัย ซึ่งพื้นที่เดิมเคยเป็นตลาดมิ่งเมือง ที่ได้ชื่อว่าเป็นย่านการค้าหลักของกรุงเทพฯ เพราะอยู่ติดกับถนนสายการค้าทั้ง 4 ด้าน คือ ถ.พาหุรัด, ถ.ตรีเพชร,ถ.เจริญกรุง และ ถ.บูรพา ใกล้ MRTสถานีสามยอด ทางออกช่องที่ 3 ในส่วนของพลาซ่า พื้นที่รวม 17,945 ตารางเมตร ได้เตรียมออกแบบ และตกแต่งให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น พร้อมปรับพื้นที่ร้านค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการทั้งลูกค้ากลุ่มธุรกิจ ลูกค้ากลุ่มค้าปลีก 

วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566

สถานีสวนหลวง ร.9/สถานีศรีนครินทร์ 38 ตำแหน่งบันไดเลื่อน ลิฟท์โดยสาร รถไ...


สถานีสวนหลวง ร.9/สถานีศรีนครินทร์ 38 ตำแหน่งบันไดเลื่อน ลิฟท์โดยสาร  รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 
สถานีสวนหลวง ร.9  ตั้งอยู่ระหว่างห้างซีคอนแสควร์และห้างพาราไดซ์ เพลส  
สถานีศรีนครินทร์ 38  ตั้งอยู่บริเวณปากซอยศรีนครนิทร์ 38 ใกล้ธนาคารกรุงไทย  
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง มีความยาวกว่า 30.4 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ และมีทั้งหมด 23 สถานี เริ่มต้นที่สถานีลาดพร้าว ซึ่งเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีลาดพร้าว 
และไปสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ
#โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2566

สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จุดเชื่อมต่อสายสีชมพู-น้ำตาล-ม่วง


สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จุดเชื่อมต่อสายสีชมพู-น้ำตาล-ม่วง
สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จุดเชื่อมต่อสายสีชมพู-น้ำตาล-ม่วง ตั้งอยู่ ถนนรัตนาธิเบศร์ หน้าศุนย์การค้า เอสพลานาด งามวงวานศ์-แคราย ใกล้แยกแคราย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่อยู่ด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี โดยติดตั้ง Sky Walk และติดตั้งทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ  เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ใช้บริการได้อย่างสะดวก ระยะทางประมาณ 340 เมตร 
ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินงานติดตั้งช่องทางเข้าออกสถานี และโครงเหล็กพื้นทางเดินเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี  นอกจากเชื่อมไปยังรถไฟฟ้าสายสีม่วง ในอนาคตยังจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ที่มาจากแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่ง รฟม. มีแผนการก่อสร้างในอีกไม่นาน
นอกจากจะช่วยให้การเดินทางไปยังศูนย์ราชการนนทบุรีได้รับความสะดวก
ยังสามารถเดินทางไปยังสถานที่ราชการ และสถานที่สำคัญอื่นๆ เช่นวัดบัวขวัญ ศาลจังหวัดนนทบุรี ศาลแขวงนนทบุรี ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี ศาลแรงงานกลาง(นนทบุรี) ศาลากลางเก่า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจังหวัดนนทบุรี 
เกาะเกร็ด กระทรวงสาธารณสุข และในอนาคตอันใกล้ ก็จะมีการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่รอบๆ สถานีอีกหลายโครงการด้วยกัน เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เจ้าของโครงการ  ผู้รับสัมปทาน (บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด) #รถไฟฟ้าสายสีชมพู

วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2566

สถานีหัวหมาก สกายวอล์ค/บันไดเลื่อน/ลิฟท์โดยสาร อยู่ช่องทางใหน? Mrt yello...


สถานีหัวหมาก สกายวอล์ค/บันไดเลื่อน/ลิฟท์โดยสาร อยู่ช่องทางใหน? Mrt yellow line
สถานีหัวหมาก โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง
ตั้งอยู่ใกล้จุดตัด ถนนพัฒนาการกับถนนศรีนครินทร์ ด้านหน้า maxvalu
ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์ภายในสถานี ในชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และชั้นชานชาลา
ความก้าวหน้าล่าสุดเดือนมีนาคม 2566  ภาพรวม 98.73% แบ่งเป็น งานโยธา98.75% ระบบไฟฟ้า 98.72% 
ปัจจุบันได้มีการทดสอบระบบการเดินรถเสมือนจริง ตลอดแนวเส้นทางของโครงการฯ  
โดยมีระยะทางรวม 30.4กม.จำนวน 23 สถานี
สถานีหัวหมาก โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง งานก่อสร้างทับซ้อนกับอุโมงค์ลอดแยกพัฒนาการ
อุโมงค์ทางลอดแยกพัฒนาการ มีขนาด 2 ช่องจราจร 2 ทิศทาง ความยาวทางลอดประมาณ 460 ม.
โดยเสาตอม่อโครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้า ออกแบบเป็นเสาเดี่ยวอยู่บริเวณเกาะกลางอุโมงค์ทางลอดตลอดแนว จะมีการปรับเป็นเสาตอม่อรูปยูคว่ำก็เพียง 2-3 ช่วงเท่านั้น 
อุโมงค์ลอดใต้ทางแยกพัฒนาการ มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่บริเวณทางรถไฟสายตะวันออก สถานีหัวหมาก และ สิ้นสุดที่บริเวณ คลองหัวหมาก ปัจจุบันการก่อสร้างอยู่ระหว่างดำเนินงาน ภายในทางลอด ระบบไฟฟ้า และระบบระบายน้ำ ตามแผนจะสามารถเปิดให้ใช้ประมาณกลางปี 2566 #สถานีหัวหมาก

วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2566

สถานีรัฐสภา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน


อัพเดท สถานีรัฐสภา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ - ครุใน 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน - หอสมุดแห่งชาติ ผู้รับจ้าง คือ กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-พีแอล ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนสามเสน ฝั่งมุ่งหน้าแยกบางกระบือ
บริเวณหน้ากองพันทหารม้าที่ 4 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ 2 ช่องจราจร เพื่อดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันดิน สำหรับงานก่อสร้างสถานีรัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม -30 เมษายน 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง 
โดยผู้ใช้ทางฝั่งมุ่งหน้าไปแยกบางกระบือให้เบี่ยงใช้ช่องทางฝั่งมุ่งหน้าแยกเกียกกายทดแทน 2 ช่องจราจร และผู้ใช้ทางฝั่งมุ่งหน้าแยกเกียกกายให้เบี่ยงใช้ช่องจราจรทดแทนบริเวณด้านหน้ารัฐสภา 2 ช่องจราจร ข้อมูล..เพจโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บุรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก

คืบหน้า ปรับปรุงถนนรัชดาและทางเท้า ข้างอุโมงค์ถนนรัชดา ราชพฤกษ์


คืบหน้า ปรับปรุงถนนรัชดาและทางเท้า ข้างอุโมงค์ถนนรัชดา ราชพฤกษ์
สำนักการโยธา ร่วมมือกับ การไฟฟ้านครหลวง และการปะปานครหลวง เร่งรัดงานก่อสร้างโครงการทางลอดรัชดา - ราชพฤกษ์ 
พาดูความคืบหน้า การก่อสร้างผิวจราจร ปรับปรุงทางเท้า ซึ่งเป็นงานต่อเนื่องจาก โครงการก่อสร้างทางลอดรัชดา-ราชพฤกษ์ ปัจจุบันโครงการฯ อยู่ระหว่างเร่งรัดดำเนินการ ก่อสร้างผิวจราจร และทางเท้า
โครงการก่อสร้างทางลอดรัชดา-ราชพฤกษ์ เป็นโครงการที่ต้องมีการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ที่เป็นอุปสรรค และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคให้สมบูรณ์ไปพร้อมกับโครงการ ได้แก่ ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ท่อประธานและท่อจ่ายน้ำของการประปานครหลวง จึงเป็นเหตุให้ทางเท้าและถนนระดับราบข้างทางลอด ได้รับความเสียหาย จึงมีความจำเป็นต้องรื้อทางเท้า และผิวจราจรเดิมที่เสียหายออก และก่อสร้างทางเท้า พร้อมผิวจราจรข้างทางลอดใหม่ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบด้านการจราจรและความไม่สะดวกระหว่างดำเนินการ กรุงเทพมหานครได้ประสานความร่วมมือกับ การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง และสถานีตำรวจนครบาลท้องที่มาโดยลำดับ ในการบริหารจัดการพื้นที่ การปิดเบี่ยงจราจร การปรับวิธีการทำงาน ให้สอดคล้องตามกายภาพของพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบด้านการจราจรให้ประชาชน โดยสำนักการโยธาได้ประสานความร่วมมือกับการไฟฟ้านครหลวง และการประปานครหลวง เร่งรัดผู้รับจ้างให้ดำเนินการก่อสร้างทางเท้า และผิวจราจรถาวร ข้างทางลอดตลอดแนวโครงการ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2566นี้

วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2566

รถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีบางขุนพรหม สถานีหอสมุดแห่งชาติ mrt purple line


รถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีบางขุนพรหม สถานีหอสมุดแห่งชาติ mrt purple line
1) สถานีบางขุนพรหม โครงสร้างอยู่ใต้ดิน ถนนสามเสน หน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้แยกบางขุนพรหม โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจร 3 ช่องจราจร ชิดทางเท้า บนถนนสามเสน บริเวณแยกบางขุนพรหม ถึงบริเวณร้านง่วนเฮงล้งโลหะกิจ 
เพื่อดำเนินการก่อสร้างกำแพงสถานี บริเวณสถานีบางขุนพรหม โดยจะดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ - 30 มิถุนายน 2566 
โดยมีผลให้ถนนสามเสนบริเวณปิดเบี่ยง ฝั่งมุ่งหน้าแยกบางลำพู เหลือ 1 ช่องจราจร ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้าออกที่พักอาศัยได้ตามปกติ
2) สถานีหอสมุดแห่งชาติ  โครงสร้างอยู่ใต้ดิน ถนนสามเสน ตั้งอยู่ด้านหน้าหอสมุดแห่งชาติ มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนสามเสน เพื่อดำเนินการก่อสร้างกำแพงสถานี หอสมุดแห่งชาติ บริเวณหน้าสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ถึง แยกสี่เสาเทเวศร์ และ บริเวณหน้าหอสมุดแห่งชาติ
ตั้งแต่วันที่ 18 - 30 เมษายน 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ปิดเบี่ยง 2 ช่องจราจร บริเวณสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ถึง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และปิดเบี่ยง 2 ช่องจราจร ฝั่งชิดทางเท้า บริเวณทางเข้าหน้าหอสมุดแห่งชาติ และฝั่งชิดทางเท้า บนถนนศรีอยุธยา บริเวณมูลนิธิพระดาบส
โดยมีผลให้ช่องจราจร ฝั่งมุ่งหน้าแยกสี่เสาเทเวศร์ เหลือ 2 ช่องจราจร 
ประชาชนยังสามารถเข้าออกซอยสามเสน 12 และเข้าออกที่พักอาศัยได้ตามปกติ
งานก่อสร้าง สถานีบางขุนพรหม และสถานีหอสมุดแห่งชาติ โดย กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที - พีแอล ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ – ผ่านฟ้า
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ภาพรวมงานก่อสร้าง เดือนมีนาคม 8.80% ข้อมูลจากเพจ.. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) #สถานีบางขุนพรหม #สถานีหอสมุดแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2566

สถานีรถไฟชุมพร ติดตั้งสกายวอล์คเชื่อมชานชาลา พร้อมลิฟท์โดยสาร


สถานีรถไฟชุมพร ติดตั้งสกายวอล์คเชื่อมชานชาลา พร้อมลิฟท์โดยสาร สถานีรถไฟชุมพร ตั้งอยู่ ถนนนวมินทร์รวมใจ ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เป็นสถานีรถไฟชั้น1 ของทางรถไฟสายใต้ สถานีชุมพร เป็นจุดเติมน้ำมัน จุดแรก ของทางรถไฟสายใต้ หลังจากออกมาจากสถานีกรุงเทพ, สถานีธนบุรี และย่านรับส่งสินค้าพหลโยธิน รถไฟจากเส้นทางสายใต้ทุกขบวนที่จะเข้าสถานีกรุงเทพ สถานีธนบุรี และย่านรับส่งสินค้าพหลโยธิน ดังนั้นรถไฟต้องจอดทุกขบวน ล่าสุด..ปรุงปรุงสถานี สร้างอาคารใหม่ รวมถึงชานชาลาสูง รองรับรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงในอนาคต มีการติดตั้งทางเดินลอยฟ้า เชื่อมระหว่างชานชาลา พร้อมติดตั้งลิฟท์โดยสาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร ผู้ใช้รถวิลแชร์ และผู้สูงอายุ ท่านที่รับชมช่อง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า หากมีความประสงค์ ต้องการสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำคลิปวีดีโอ สามารถกดสมัครหน้าช่องยูทูป หรือโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0430256768    / @user-dk6zx7fc1x   ติดตาม วีเอ็นพีมีเรื่องเล่า ได้ทาง youtube :    / @user-ls4ox9fr3n   Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?... Twitter : https://twitter.com/EsTbJbtYn9MuZyn Instagram : https://www.instagram.com/vnpstory/ blogs : https://vnpstory.blogspot.com/

วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2566

ท่าเรือวัดโพธิ์ วิวฉากหลังพระปรางค์วัดอรุณฯ Wat Pho Pier


ท่าเรือวัดโพธิ์ วิวฉากหลังเพระปรางค์วัดอรุณฯ Wat Pho Pier
ท่าเรือวัดโพธิ์ เป็นท่าเรือที่อยู่ในซอยประตูนกยูง ตรงข้ามวัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม)
ท่าเรือนี้มีมุมถ่ายภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยาสวยๆ ท่าเรือวัดโพธิ์ มีภาพฉากหลังเป็น พระปรางค์วัดอรุณฯ 
เวลาเข้ามาที่ท่าเรือให้ระวังเวลาเดิน เพราะช่วงนี้บริเวณท่าเรือมีการก่อสร้าง มีอุปกรณ์งานก่อสร้างว่างอยู่เป็นบางจุด ท่าเรือวัดโพธิ์เดิมเป็นท่าเรือสำหรับโดยสารและขนส่งสินค้า ชื่อท่าเรือเขียวและท่าเรือขาว เมื่อเวลาผ่านไป เกิดการทรุดโทรมและเสียหาย  กรมเจ้าท่าจึงบูรณาการและทำงานร่วมกับวัดโพธิ์
เพื่อให้เป็นโครงข่ายคมนาคม ที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเชื่อมต่อระบบ ล้อ ราง เรือเข้าด้วยกัน อย่างสะดวกและปลอดภัย ลดปัญหาการจราจรทางบก และมลพิษ ตลอดจนเกิดทัศนียภาพที่สวยงาม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒธรรม รอบเกาะรัตนโกสินทร์
องค์ประกอบในการก่อสร้างวัดโพธิ์ประกอบด้วย อาคารพักคอยแบบทรงไทย หลังคาตรีมุข 2 หลัง มีพื้นที่ลาดดล่ง 1400ตารางเมตร ใช้สำหรับเป็นจุดชมวิวริมแม่น้ำเจ้าพระยา
โดยเฉพาะพระปรางค์วัดอรุณที่สามารถมองได้สวยที่สุด มีโป๊ะเที่ยบเรือ 2 ตัวรูปตัวแอล ความยาวด้านเทียบเรือ 20เมตร รองรับน้ำหนักได้ 100 คน พร้อมสะพานประบระดับ ขึ้น ลง โป๊ะ กว้าง 1.5 เมตร ยาว 17.5 เมตร รองรับผู้ใช้งาน ทั้งผู้สูงอายุ และผู้พิการ #ท่าเรือวัดโพธิ์

รถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนสุขสวัสดิ์ ช่วงใต้สะพานภูมิพล - แยกพระประแดง Mrt pur...


รถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนสุขสวัสดิ์ ช่วงใต้สะพานภูมิพล - แยกพระประแดง Mrt purple line คลิปนี้พาดู งานก่อสร้างทางวิ่งยกระดับ ช่วงใต้สะพานภูมิพล1-แยกพระประแดง ซึ่งอยู่ในสัญญาที่ 5 ดาวคะนอง -ครุใน โครงการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ - ครุใน ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) โดยผู้รับจ้างในสัญญาที่ 5 กำลังดำเนินการก่อสร้างทางวิ่งยกระดับ ขนานกับเกาะกลางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนสุขสวัสดิ์ พร้อมก่อสร้างสถานียกระดับ 7 สถานี ได้แก่ สถานีดาวคะนอง สถานีบางปะแก้ว สถานีบางปะกอก สถานีแยกประชาอุทิศ สถานีราษฎร์บูรณะ สถานีพระประแดง และสถานีครุใน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ - ครุใน คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ภายในปี 2570 ท่านที่รับชมช่อง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า หากมีความประสงค์ ต้องการสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำคลิปวีดีโอ สามารถกดสมัครหน้าช่องยูทูป หรือโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0430256768    / @user-dk6zx7fc1x   ติดตาม วีเอ็นพีมีเรื่องเล่า ได้ทาง youtube :    / @user-ls4ox9fr3n   Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?... Twitter : https://twitter.com/EsTbJbtYn9MuZyn Instagram : https://www.instagram.com/vnpstory/ blogs : https://vnpstory.blogspot.com/

วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2566

ล่าสุด สถานีบางปะแก้ว รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน (วงแหวนก...


ล่าสุด สถานีบางปะแก้ว รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน (วงแหวนกาญจนาภิเษก)mrt purple line สถานีบางปะแก้ว  ตำแหน่งของสถานีจะอยู่บริเวณ ถ.สุขสวัสดิ์ 5 และ9 ใกล้แยกบางปะแก้ว
ความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ -ครุใน เดือนมีนาคม  2566 ความก้าวหน้าภาพรวมงานโยธา 8.80% 
ในสัญญาที่ 5 ทางยกระดับ ดาวคะนอง- ครุใน ผลงานทำได้ 4.68%
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ครุุใน (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร แบ่งเป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี 
และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี 
เริ่มต้นจากสถานีเตาปูน ลดระดับเป็นทางวิ่งใต้ดิน เข้าสู่ถนนทหาร ผ่านแยกเกียกกาย เข้าถนนสามเสน ผ่านอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร  แยกผ่านฟ้าลีลาศ เข้าถนนมหาไชย ผ่านถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าถนนประชาธิปก ผ่านแยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ลอดใต้แยกมไหสวรรย์ จากนั้นเปลี่ยนเป็นโครงสร้างยกระดับ วิ่งไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ผ่านแยกดาวคะนอง ข้ามสะพานข้ามแยกพระราม2 ผ่านแยกประชาอุทิศ ข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร สะพานภูมิพล 1 ผ่านสามแยกพระประแดง และสิ้นสุดที่ ต.ครุใน อ.พระประแดง  สร้างโรงจอดรถไฟฟ้าข้างด่านเก็บค่าผ่านทางบางพลี-สุขสวัสดิ์ มีอาคารจอดแล้วจร (Park&Ride) 4 จุด ทั้ง 2 ฝั่งของ สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน ในสัญญาที่ 5 งานก่อสร้างทางยกระดับ 
มีทั้งหมด 17 สถานี ในปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้าง โดยถ้าสายสีม่วงสร้างเสร็จตลอดสาย จะเป็นรถไฟฟ้าที่เชื่อม 3 จังหวัด นนทบุรี กรุงเทพ สมุทรปราการ คาดว่าแล้วเสร็จ 2570

วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2566

ตัดถนนใหม่ 6เลน เชื่อมถนนวิภาวดี ถนนพหลโยธิน ถนนเทพรักษ์ (เมษายน 66)


ล่าสุด!..ตัดถนนใหม่ 6เลน เชื่อมถนนวิภาวดี ถนนพหลโยธิน ถนนเทพรักษ์ (เมษายน 66)
กทม.ตัดถนนใหม่ 6เลน ข้ามคลองลาดพร้าว เชื่อมถนนวิภาวดี ถนนพหลโยธิน 
ถนนเทพรักษ์  บริเวณพหลโยธินซอย 50 ใกล้กับบิ๊กซีสะพานใหม่ มีเขตทางกว้าง40เมตร ขนาด6ช่องจราจร ระยะทาง2.79 กิโลเมตร มีผู้ได้รับผลกระทบ
จากการเวนคืนที่ดินจำนวน100แปลง ส่วนใหญ่เป็นฝั่งวิภาวดีฯและชุมชนริมคลองถนน 
แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณถนนวิภาวดีรังสิตซอย72 วิ่งตรงจนถึงคลองลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตามแนวคลองประมาณ 500เมตร 
เลี้ยวขวาสร้างสะพานข้ามคลอง ตรงไปจนถึงถนนพหลโยธินซอย 50 (บิ๊กซี) ก่อสร้างสะพานยกระดับข้ามแยกไปเชื่อมถนนเทพรักษ์ สิ้นสุดโครงการบริเวณคลองลำผักชี 
และช่วงปากซอยวิภาวดีซอย 72 ฝั่งขาเข้าก็จะมี สะพานรับรถจากถนนพหลโยธิน และถนนเทพรักษ์ ข้ามไปยังถนนเทวฤทธิ์พันลึก หรือว่าช่องทางทกท9 
เข้าสนามบินดอนเมืองได้ ในอนคต กทม.จะตัดถนนต่อจากถนนสุขาภิบาล 5 - นิมิตใหม่ ระยะทาง 9 กิโลเมตร ตามที่คณะรัฐมนตรี อนุมัติร่างพ.ร.ฎ.เวนคืน ไปแล้ว ตามแผนจะแล้วเสร็จเปิดใช้ทางได้ปีนี้ 2566 แต่ปัจจุบัน การรื้อย้ายบ้านริมคลองยังไม่ย้ายออกไปทั้งหมด และยังไม่ได้ก่อสร้างในส่วนสะพานข้ามคลองลาดพร้าว

วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2566

รีวิว รถด่วนพิเศษขบวน40 ชุมพร - กรุงเทพ (เม.ย.66)


รีวิว รถด่วนพิเศษขบวน40 ชุมพร - กรุงเทพ (เม.ย.66)
ผมมายืนรอขบวนรถไฟดีเซลรางขบวนหมายเลข40 ที่มาจากสุราษฎร์ธานี ไปกรุงเทพ สิ้นสุดที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ รถไฟดีเซลรางหมาย40 มาถึงสถานีชุมพรในเวลา 12:35นาที คลิปนี้ผมจะพาชมบรรยากาศการเดินทางไปกับรถด่วนพิเศษขบวน40 ช่วงกลับจากจังหวัดชมพรเพื่อเข้ากรุงเทพ พามานั่งรถไฟเพื่อประโยชน์สำหรับท่านผู้ชมที่อาจจะยังไม่มีข้อมูลการเดินทางด้วยรถด่วนพิเศษหมายเลข40 
ซึ่งมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอะไรบ้าง? ราคาตั๋วโดยสารเท่าไร? ใช้เวลาการเดินทางเท่าไร?
คลิปวีดีโอนี้คงจะมีประโยชน์สำหรับท่านผู้ชม...ขอบคุณครับ

สะพานข้ามแยก ณ ระนองล่าสุด ลดจุดตัดทางแยก เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน (6...


สะพานข้ามแยก ณ ระนองล่าสุด ลดจุดตัดทางแยก เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน (6 เม.ย.66)
โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยก ณ ระนอง เพื่อแก้ปัญหาถนนที่มีลักษณะคอขวด ลดจุดตัดบริเวณทางแยกและเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน รองรับการจราจรถนนวงแหวนรัชดาภิเษก และถนนสายหลักต่อเนื่องถนนพระราม 3 สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ได้เร่งรัดโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยก ณ ระนอง ให้ได้ตามแผน ความคืบหน้างานก่อสร้างปัจจุบันใกล้ 100% โดยสำนักการโยธา ได้สั่งการให้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ เพื่อเปิดการใช้สะพานให้ได้ภายใน วันที่ 15 พ.ค.66 นี้  
ข่าว...เพจ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร

วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2566

เสาตอม่อ สถานีครุใน รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษ...


โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก ผู้รับจ้าง บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวลีอปเมนต์ ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร บนถนนสุขสวัสดิ์ ฝั่งขาเข้าและขาออก 1 ช่องจราจร ชิดเกาะกลาง ตั้งแต่ซอยสุขสวัสดิ์ 68 ถึง ซอยสุขสวัสดิ์ 47/1 ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร เพื่องานก่อสร้าง สถานีครุใน และเส้นทางวิ่งหลัก ไปถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2570 ตลอด 24 ชั่วโมง มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง ล่าสุดเตรียมหล่อเสาตอม่อ สถานีครุใน ที่ตั้งอยุ่บริเวณซอยสุขสวัสดิ์70 ผู้รับเหมาได้นำเครื่องจักร เร่งขุดหลุมเพื่อสร้างเสาตอม่อ สถานีครุใน ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สถานีครุใน ตั้งอยุ่หน้าถ.สุขสวัสดิ์ซอย 70 ทางขึ้นลงมี 4 จุด (map) ทางขึ้นลงที่ 1 อยู่บริเวณพื้นที่ว่าง บ.อุตสาหกรรมแอร์เคมีไทย ทางขึ้นลงที่ 2 อยู่บริเวณศูนย์ซ่อมรถยนต์ ทางขึ้นลงที่ 3 พื้นที่ว่างบริเวณ ปากซอยสุขสวัสดิ์ 70 ทางขึ้นลงที่ 4 บริเวณปั้มซัสโก้ ติดกับคลองเจ๊กทิม โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 7 สถานี มีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง ได้แก่ สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ #รถไฟฟ้าสายสีม่วงล่าสุด #สถานีครุใน ท่านที่รับชมช่อง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า หากมีความประสงค์ ต้องการสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำคลิปวีดีโอ สามารถกดสมัครหน้าช่องยูทูป หรือโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0430256768    / @user-dk6zx7fc1x   ติดตาม วีเอ็นพีมีเรื่องเล่า ได้ทาง youtube :    / @user-ls4ox9fr3n   Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?... Twitter : https://twitter.com/EsTbJbtYn9MuZyn Instagram : https://www.instagram.com/vnpstory/ blogs : https://vnpstory.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2566

คลองโอ่งอ่าง เฟส2 ช่วงสะพานดำรงสถิต-สะพานผ่านฟ้าลีลาศ Ong Ang Canal (เม....


คืบหน้า..คลองโอ่งอ่าง เฟส2 เร่งสร้างทางเดิน ผนังคลองลายอิฐ Ong Ang Canal(เม.ย.66)
ปรับปรุง คลองโอ่งอ่าง เฟส2 ช่วงสะพานดำรงสถิต-สะพานผ่านฟ้าลีลาศ Ong Ang Canalการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ คลองบางลำพู คลองโอ่งอ่าง ทางด้านทิศเหนือ
มีชื่อเรียกว่าคลองบางลำพูเริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งเหนือบริเวณสวนสันติชัยปราการ ถึงคลองมหานาคบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ ทางด้านใต้มีชื่อเรียกว่าคลองโอ่งอ่าง
โดยเริ่มจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถึงแม่นํ้าเจ้าพระยาฝั่งใต้บริเวณสะพานพระปกเกล้าฯ มีความยาวทั้งสิ้น 3.2 กม.ความกว้างเฉลี่ย 8-22 ม.ปัจจุบันได้ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. พร้อมก่ออิฐโชว์ลาย ในโครงการปรับปรุงคลองโอ่งอ่างในเฟสที่1 ตั้งแต่สะพานโอสถานนท์บริเวณสะพานพระปกเกล้า จนถึงสะพานดำรงสถิต ถนนเจริญกรุง ได้แล้วเสร็จและเปิดใช้งานแล้ว ขณะนี้ยังเหลืองานก่อสร้างปรับปรุง คลองโอ่งอ่าง เฟสที่ 2 ตั้งแต่ สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถึงสะพานดำรงสถิต ความยาวคลอง 1,000 ม. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง  ตามกำหนดจะต้องแล้วเสร็จในปี 2565
คลิปนี้จะพาชมในเฟสที่ 2 เริ่มจากสะพานดำรงสถิต ถนนเจริญกรุง-สะพานสมมตอมรมารค ถนนบำรุงเมือง คาดหวังว่าเมื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่างแล้วเสร็จ จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ 
สร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนริมคลอง ตลอดจนเชื่อมต่อการเดินทางและแหล่งท่องเที่ยว อาทิ พิพิธบางลำพู และสวนสันติชัยปราการ ได้เป็นอย่างดี

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566

รื้อตึกแถวคลองเตย ริมถนนพระราม4 ฝั่งซอยโรงงานยาสูบ ใกล้แยกคลองเตย (เม.ย.66)


รื้อตึกแถวริมถนนพระราม4ใกล้แยกคลองเตย ฝั่งซอยโรงงานยาสูบใกล้แยกคลองเตย
ตั้งแต่ชุมชนเทพประทาน ถึงถนนดวงพิทักษ์(ใกล้ทางด่วนเฉลิมมหานคร)
ลึกไปถึงแนวรั่วเขตโรงงานยาสูบ ถนนพระราม4 กลายเป็นย่านทำเลทอง ทุนใหญ่ๆได้เข้ามาลงทุนพัฒนา โครงการอภิมหาโปรเจ็กต์ในรูปแบบมิกซ์  ยูส สำนักงาน คอนโด 
มูลค่ารวมกันเกือบๆ 200,000 ล้านบาท ทำให้ถนนพระราม 4 กลายเป็นทำเลทอง
ฝังเพชรอีกแห่งของกทม.ร้านค้าและชุมชนบริเวณซอยโรงงานยาสูบ
ซึ่งเป็นพื้นที่ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์หลังหมดสัญญาเช่ากับ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้มีทุนใหญ่เข้ามาเช่าพื้นที่ต่อเพื่อพัฒนา
ซึ่งในอนาคต ถนนพระราม4 ก็จะกลายเป็น Super CBD(Central Business District)

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2566

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง แยกลาดพร้าว-บางกะปิ/คืนผิวจราจร/บอกจุดขึ้น-ลง สถานี (...


พาชมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง งานคืนผิวจราจร บอกจุดขึ้น-ลงสถานี เป็นระบบรถไฟรางเดี่ยว หรือโมโนเรล โครงสร้างยกระดับทั้งสาย เพื่อลดผลกระทบในการก่อสร้าง โดยทางวิ่งและสถานี ตั้งอยุ่บริเวณเกาะกลางถนน อาคารสถานี มีระดับทางวิ่งสูง 15 เมตร ชานชาลากว้าง 20-25 เมตร ยาว 110 เมตร จึงใช้พื้นที่น้อย มีการเวนคืนน้อยที่สุด ทำให้ใช้งบประมาณน้อยกว่ารถไฟฟ้าขนาดใหญ่ อย่าง mrtสายสีน้ำเงิน และbtsสายสีเขียว หากแล้วเสร็จจะช่วยระบายความหนาแน่นของการจราจรในพื้นที่ บริเวณ ลาดพร้าว รามคำแหง , ศรีนครินทร์ จนถึงพัฒนาการ เป็นจุดที่ประสบปัญหารถติดมาก โดยรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีจุดเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้า 4 สาย คือ สายสีเทา สายสีส้ม รถไฟฟ้าAirport Rail Link และสายสีเขียว โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กม. 23 สถานี งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ขณะนี้เสร็จเกือบ100% คาดเปิดให้บริการได้มิ.ย.66 ท่านที่รับชมช่อง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า หากมีความประสงค์ ต้องการสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำคลิปวีดีโอ สามารถกดสมัครหน้าช่องยูทูป หรือโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0430256768    / @user-dk6zx7fc1x   ติดตาม วีเอ็นพีมีเรื่องเล่า ได้ทาง youtube :    / @user-ls4ox9fr3n   Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?... Twitter : https://twitter.com/EsTbJbtYn9MuZyn Instagram : https://www.instagram.com/vnpstory/ blogs : https://vnpstory.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566

รถไฟทางคู่สายใต้ล่าสุด นครปฐม - ชุมพร สัญญาที่ 5 บางสะพานน้อย - ชุมพร EP_6


รถไฟทางคู่สายใต้ล่าสุด นครปฐม-ชุมพร สัญญาที่ 5 บางสะพานน้อย-ชุมพร EP_6
โครงการรถไฟทางคู่สายใต้ระยะที่ 1 นครปฐม-ขุมพร ในสัญญาที่ 5 บางสะพานน้อย-ชุมพร ระยะทาง 79 กิโลเมตร งบประมาณ 5,992 ล้านบาท มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างแล้ว 94.555% ขณะนี้การรถไฟฯ อยู่ระหว่างทำการทดสอบการเดินรถในระบบทางคู่ ผลการทดสอบ รถไฟทำความเร็วได้ดีขึ้น และการสับเปลี่ยนรางก็มีความนิ่มนวล  เตรียมเปิด 2567 การก่อสร้างในสัญญาที่ 5 บางสะพานน้อย-ชุมพรเป็นการก่อสร้างทางรถไฟวิ่งระดับพื้นดิน 1ทางรถไฟ มีการก่อสร้างถนนยกระดับข้ามทางรถไฟ ถนนกลับรถยกระดับรูปตัวยู ถนนลอดใต้สะพานทางรถไฟ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งขบวนรถไฟและผู้ที่สัญจรทั่วไป นอกจากการส้างทางรถไฟใหม่แล้ว ยังมีการสร้างอาคาร และโครงสร้างโดยรอบ ส่วนต่อเนื่อง การก่อสร้างได้คำนึงถึงความเป็นเอกลักษณ์ ความสวยงาม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยรอบในพื้นที่ 
โดยการรถไฟฯ คาดการณ์ว่าจะสามารถเปิดให้บริการเดินรถแบบทางคู่ได้เต็มรูปแบบภายในปี 2567

วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2566

ปตท.สร้างสกายวอล์ค เชื่อมรถไฟฟ้า mrt bts ห้าแยกลาดพร้าว (เม.ย.66)


ปตท.สร้างสกายวอล์ค skywalk เชื่อมรถไฟฟ้า mrt bts ห้าแยกลาดพร้าว (เม.ย.66)
โครงการก่อสร้างสกายวอล์คเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์ 
ปตท. เสริมโครงสร้างพื้นฐาน ผุดสกายวอล์ค เพิ่มความสะดวก เชื่อมต่อการเดินทาง "ด้วยทางเดินลอยฟ้า” ทำให้การเดินทางมีความสะดวก รวดเร็ว และยังทำให้ปลอดภัย 
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้เริ่มโครงการก่อสร้างสกายวอล์คเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ 4 หน่วยงาน ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และกรุงเทพมหานคร ได้ให้การสนับสนุนพื้นที่ก่อสร้าง ทางเดินเชื่อมต่อการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้า bts สถานีห้าแยกลาดพร้าว และ รถไฟฟ้า mrt สถานีพหลโยธิน งานก่อสร้างแบ่งเป็น 2 โครงการ ได้แก่ 
1)โครงการสร้างทางเดินเชื่อมรถไฟฟ้า btsสายสีเขียว สถานีห้าแยกลาดพร้าว
2)โครงการสร้างทางเดินเชื่อมรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน สถานีพหลโยธิน 
ก่อสร้างทางเดินมีหลังคาคลุม กันแดดและฝน 
โครงการสกายวอล์ค เชื่อมระบบขนส่งมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้ง 2 สาย 
จะเป็นส่วนหนึ่งในการรองรับการเดินทางของประชาชน ให้เกิดความสะดวกและปลอดภัย