วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เชิงสะพานภูมิพล ใกล้แยกพระประแดง Mrt purple line (ส....


รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เชิงสะพานภูมิพล ใกล้แยกพระประแดง Mrt purple line (ส.ค.66)
พาดูงานก่อสร้างทางวิ่งยกระดับ ช่วงใต้สะพานภูมิพล ใกล้สามแยกพระประแดง ซึ่งอยู่ในสัญญาที่ 5 ดาวคะนอง -ครุใน ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ - วงแหวนกาญจนาภิเษก ผู้รับจ้างกำลังดำเนินการก่อสร้างทางวิ่งยกระดับ ขุดหลุม และมีการหล่อเสาตอม่อได้สูงขึ้นมาก คนงานก็เร่งงานอยู่ก็เป็นเสาตอม่อเส้นทางระหว่างสถานีราษฎร์บูรณะ กับสถานีพระประแดง ใกล้เชิงสะพานภูมิพล หรือชื่อเดิม 
ถนนวงแหวนอุสาหกรรม ช่วงเกาะกลางถนนสุขสวัสดิ์ ภาพรวมทั้งโครงการ เดือน กรกฎาคม 2566 งานโยธาทำได้ 14,70% คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ภายในปี 2571 #รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า เตรียมพื้นที่ขุดเจาะอุโมงค์ MRT PURPLE LINE(ส.ค.66)


สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
รฟม. แจ้งขยายเวลาปิดเบี่ยงจราจรบนถนนประชาธิปก ชิดเกาะกลาง 1 ช่องทาง บริเวณทางลงสะพานพระปกเกล้า ถึง อนุสรณ์สถานงานสมโภช 100 ปี เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับงานขุดเจาะอุโมงค์ ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง โดย กิจการร่วมค้า ไอทีดี-เอ็นดับเบิ้ลยูอาร์ เอ็มอาร์ที ผู้รับจ้างงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน 
สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า เป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่สถานีประชาธิปก 
มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร 7 สถานี ภาพรวมการก่อสร้าง 14.70% กำหนดเปิดให้บริการปี 2571
#สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า  #รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ถนนตัดใหม่ เชื่อมเทพรักษ์ พหลโยธิน วิภาวดี (ส.ค.66)


ถนนตัดใหม่ เชื่อมเทพรักษ์ พหลโยธิน วิภาวดี (ส.ค.66)
โครงการก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น เชื่อมระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ถนนพหลโยธินและแบ่งเบาการจราจร ถนนรามอินทรา 
เป็นถนนตัดใหม่เชื่อมระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน แบ่งออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่ 
สัญญาที่ 1 : ถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณซอยวิภาวดีรังสิต 72 ถึงสะพานข้ามคลองลาดพร้าว ระยะทาง 1.9 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 6 ช่องจราจร พร้อมทางเท้า ทางจักรยาน 
สัญญาที่ 2 : ช่วงจากสะพานข้ามคลองลาดพร้าว ถึงถนนเทพรักษ์ เป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร ลอดใต้ทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ไปลงที่ถนนเทพรักษ์ สิ้นสุดบริเวณสะพานข้ามคลองลำผักชี ระยะทาง 1.16 กิโลเมตร โดยมีบริษัท พรรณีวรกิจก่อสร้างและขนส่ง จำกัด เป็นผู้รับจ้าง
โดยสำนักการโยธา ได้ชี้แจงปัญหาความล่าช้า เนื่องจากมีการปรับปรุงรูปแบบการก่อสร้างสะพานข้ามคลองลาดพร้าว ออกแบบไม่ให้มีตอม่อสะพานอยู่ในคลอง เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาอุปสรรคในการระบายน้ำ จึงทำให้เกิดความล่าช้า คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ส.ค. 2567 
#สะพานเลี้ยวเข้าดอนเมือง  #ถนนตัดใหม่เทพรักษ์พหลโยธินวิภาวดี

สกายวอล์คเชื่อม MRT BTS แหล่งช้อปปิ้งแยกลาดพร้าว (ส.ค.66)


สกายวอล์คเชื่อม MRT BTS แหล่งช้อปปิ้งแยกลาดพร้าว (ส.ค.66)
โครงการก่อสร้างสะพานลอยเดินเท้า (skywalk)สายสีน้ำเงิน เชื่อมระบบขนส่งมวลชนเพื่อสาธารณะประโยชปตท. เสริมโครงสร้างพื้นฐาน ผุดสกายวอล์ค เพิ่มความสะดวก เชื่อมต่อการเดินทาง 
ทางเดินลอยฟ้า” ทำให้การเดินทางมีความสะดวก รวดเร็ว และยังทำให้ปลอดภัย เชื่อมต่อรถไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้เริ่มโครงการก่อสร้างสกายวอล์คเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์ โครงการสร้างทางเดินเชื่อมรถไฟฟ้า MRT สถานีพหลโยธิน และ BTS ห้าแยกลาดพร้าว ก่อสร้างทางเดินมีหลังคาคลุม กันแดดและฝน 
โครงการสกายวอล์ค เชื่อมระบบขนส่งมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้ง 2 สาย 
จะเป็นส่วนหนึ่งในการรองรับการเดินทางของประชาชน ให้เกิดความสะดวกและปลอดภัย
#โครงการก่อสร้างสะพานลอยเดินเท้าสายสีน้ำเงิน

วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566

โฉมใหม่โบ๊เบ๊ ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม (ล่าสุด 26 ส.ค.66)


โฉมใหม่โบ๊เบ๊ ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม (ล่าสุด 26 ส.ค.66)
ปรับภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม โซน3 โบ๊เบ๊ (ช่วงสะพานกษัตริย์ศึก - สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์/แยกสะพานขาว) ระยะทาง 450 ม.เริ่มต้นก่อสร้างวันที่ 1ตุลาคม 2565   สิ้นสุดวันที่ 29 มีนาคม 2566  ผู้รับจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ทวีชัยก่อสร้าง กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อพลิกฟื้นวิถีชีวิตประชาชนริมคลอง ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของคลอง โดยคลองผดุงกรุงเกษมเป็น 1 ในคลองที่กรุงเทพมหานครกำหนดพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ตลาดโบ๊เบ๊ ปรับปรุงภูมิทัศน์คูคลองให้มีความสะอาด สวยงาม และปลอดภัย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาแหล่งน้ำให้สวยงาม สะอาดอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของชุมชน และสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น เป็นเส้นทางสัญจร สถานที่พักผ่อน สถานที่ออกกำลังกาย เป็นต้น
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมฯระยะทางรวม 4,480 ม. แบ่งเป็น 6 โซน
โซน 1 ตลาดน้อย (ช่วงท่าเรือสี่พระยา - สะพานกษัตริย์ศึก) ระยะทาง 680 ม.
โซน 2 หัวลำโพง (ช่วงสะพานเจริญสวัสดิ์ - สะพานกษัตริย์ศึก) ระยะทาง 1,250 ม. ก่อสร้างเสร็จแล้ว
โซน 3 โบ้เบ้(ช่วงสะพานกษัตริย์ศึก - สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์/แยกสะพานขาว) ระยะทาง 450 ม.
โซน 4 นางเลิ้ง (ช่วงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์/แยกสะพานขาว - สะพานมัฆวานรังสรรค์) ระยะทาง 700 ม.
โซน 5 สถานที่ราชการ (ช่วงสะพานมัฆวานรังสรรค์ - สะพานเทเวศรนฤมิตร) ระยะทาง 700 ม.
โซน 6 เทเวศร์  (ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือเทเวศร์) ระยะทาง 700 ม.
#ตลาดโบ๊เบ๊  #ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม

วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2566

อัพเดท สถานีบางปะกอก รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT PURPLE LINE (ส.ค.66)


อัพเดท สถานีบางปะกอก รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT PURPLE LINE (ส.ค.66)
สถานีบางปะกอก (PP29)โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
รูปแบบสถานียกระดับ ตั้งอยู่บนแนวเกาะกลางถนนสุขสวัสดิ์ บริเวณซอยสุขสวัสดิ์ 23 ถึงซอยสุขสวัสดิ์ 25  
มีการก่อสร้างผนังกันดิน (Guide Wall)ขุดหล่มทำเสาตอม่อสถานี และมีการหล่อเสาทางวิ่งในด้านทิศเหนือ
ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 
ผู้รับจ้างงานก่อสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ อาคารจอดรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง - ครุในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 
มีความคืบหน้าภาพรวมงานโยธา ณ สิ้นเดือน กรกฎาคม 2566 อยู่ที่ 14.70% ล่าสุด รฟม. มีกำหนดเปิด
ให้บริการภายในปี 2571 ข้อมูลเพจ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 
#สถานีบางปะกอก  #รถไฟฟ้าสายสีม่วง

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เดินกลางฝน สกายวอร์คช่องนนทรี ถนนนราธิวาสฯ ถนนสีลม bts ศาลาแดง (23 ส.ค.66)


เดินกลางฝน สกายวอร์คช่องนนทรี ถนนนราธิวาสฯ ถนนสีลม bts ศาลาแดง (23 ส.ค.66) 
จุดหมายของผมเริ่มจาก สกายวอร์ค ช่องนนทรี ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกสีลม-นราธิวาสฯ-เลี้ยวขวาไปตามถนนสีลมเพื่อไปยัง bts ศาลาแดง ระยะทาง 1.25 กิโลเมตร ฝนตกตลอดการเดินทาง 
เป็นเวลาเลิกงานของหลายคน ผู้คนที่เดินอยู่บนทางเท้าต่างรีบเร่งกันเดินอย่างเร็ว รถตามท้องถนนก็หนาแน่นมากๆ เป็นเวลาก่อน 6โมงเย็นแต่เมฆฝนก็ทำให้เป็นเหมือนยามค่ำไปได้ 
#สกายวอร์คช่องนนทรี  #นนนราธิวาส  #ถนนสีลม

วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566

รีวิว รถโดยสารด่วนพิเศษBRT ก่อนเปิดนั่งฟรี 13 เดือน สาทร - ราชพฤกษ์ (ส.ค...


รีวิว รถโดยสารด่วนพิเศษBRT ก่อนเปิดนั่งฟรี 13 เดือน สาทร - ราชพฤกษ์ (ส.ค.66)
กทม.เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดหาเอกชนเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานวันที่ 31 ส.ค.2566นี้ ผลการเปิดประกวดราคา จ้างบริษัทเอกชนเดินรถ BRT ระยะเวลา 13 เดือน 
ปรากฏว่า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) ผู้รับสัมปทานเดินรถในปัจจุบัน เป็นผู็ได้รับการคัดเลือก โดยจะแบ่งการจ้างเดินรถออกเป็น 2 ช่วง 
ช่วงแรกจำนวน 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ย.-พ.ย.2566 ได้จัดสรรงบสำหรับจ่ายค่าจ้างเดินรถไว้แล้ว 
ช่วง 2 จำนวน 10 เดือน ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2566 - ก.ย.2567 อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติ สภา กทม.
เพื่อขอใช้งบประมาณปี 67 มาดำเนินการ กำหนดลงนามสัญญาจ้างวันที่ 28 ส.ค.นี้ โดยจะให้ประชาชนนั่งฟรีไม่เก็บค่าโดยสาร ระยะเวลา 13 เดือน #รถโดยสารด่วนพิเศษBRT

เสร็จแล้ว ถนนเลียบคลองบางเขน พร้อมสวนริมคลองไร้สายไฟ สายสื่อสาร (ส.ค.66)


เสร็จแล้ว ถนนเลียบคลองบางเขน พร้อมสวนริมคลองไร้สายไฟ สายสื่อสาร (ส.ค.66)
ถนนเลียบคลองบางเขน เส้นทางลัด ถนนวิภาวดี เชื่อม ถนนพหลโยธิน 49/1 โดยกรุงเทพมหานคร ได้ทุ่มงบ 515 ล้าน ก่อสร้างถนนจากเดิมมีขนาด 2 ช่องจราจร ขยายเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 4 ช่องจราจร ไป/กลับ มีระยะทาง 2 กม. ปรับปรุงสะพานข้ามคลอง ที่กลับรถใต้สะพาน พร้อมทางเท้า ระบบระบายน้ำ เขื่อน กำแพงกันดิน ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ป้ายและเครื่องหมายจราจร และระบบสาธารณูปโภค
จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณบริเวณสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติไปทะลุถนนพหลโยธิน 49/1 ใกล้กับสถานีบางบัว
ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และในอนาคต กทม.ยังมีแผนต่อขยายจากช่วงถนนพหลโยธิน ไปเชื่อมกับถนนบริเวณราบ 11 ไปออกลาดปลาเค้า โดยก่อสร้างเป็นสะพานข้ามแยก จะอยู่บริเวณด้านบนของสกายวอล์กและใต้โครงสร้างทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ปัจจุบันถนนสายนี้ เป็นเส้นทางที่มีประชาชนมาใช้ในการเดินทางจำนวนมากในช่วงเช้าและเย็น ตามแผนเดิมก่อสร้างเสร็จในปี 2565 แต่เนื่องจากสถานะการณ์ไข้หวัดโควิด-19 จึงทำให้การก่อสร้างล่าช้า และได้มาเสร็จประมาณกลางปี 2566นี้
ถนนสายนี้ช่วยระบายการจราจรบนถนนวิภาวดรังสิต และถนนพหลโยธิน ถนนงามวงศ์วานและโดยรอบ
#ถนนเลียบคลองบางเขน

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สถานีครุใน เร่งหล่อเสาเตรียมวางคาน รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT purple line (...


สถานีครุใน เร่งหล่อเสาเตรียมวางคาน รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT purple line (ส.ค.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก ผู้รับจ้าง บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวลีอปเมนต์ ผู้รับจ้างในสัญญาที่ 5 (ดาวคะนอง-ครุใน)
สถานีครุใน เป็นสถานีสุดท้ายในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก รูปแบบเป็นสถานียกระดับ ตั้งอยู่บริเวณหน้าซอยสุขสวัสดิ์ 70 ใกล้ตลาดครุใน 
ทางผู้รับจ้างได้นำเครื่องจักรเข้าพื้นที่ขุดหลุมทำเสาเข็ม ได้มีการเร่งหล่อเสาตอม่อ บริเวณสถานีครุในไปได้หลายต้นแล้ว และเตรียมจะมีการติดตั้งคานทางวิ่งเร็วๆนี้
บริเวณจุดก่อสร้างการจราจรค่อนข้างติดขัดโดยเฉพาะเวลาเร่งด่วน แต่ยังพอเคลื่อนตัวไปได้ โปรดเลี่ยงเส้นทางไปใช้เส้นทางอื่นจะได้รับความสะดวกกว่า
ภาพรวมการก่อสร้างทำได้ 8.22% ทางผู้รับจ้างได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร ตลอดถนนสุขสวัสดิ์
สถานีครุใน มีทางขึ้น ลงทั้งหมด 4 จุด ดังนี้ 
ทางขึ้นลงที่ 1 อยู่บริเวณพื้นที่ว่าง บ.อุตสาหกรรมแอร์เคมีไทย 
ทางขึ้นลงที่ 2 อยู่บริเวณศูนย์ซ่อมรถยนต์    
ทางขึ้นลงที่ 3 พื้นที่ว่างบริเวณ ปากซอยสุขสวัสดิ์ 70
ทางขึ้นลงที่ 4 บริเวณปั้มซัสโก้ ติดกับคลองเจ๊กทิม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร 
เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ  7 สถานี มีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง 
ได้แก่ สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ ล่าสุด ภาพรวมงานก่อสร้างทั้งดครงการ เดือน กรกฎาคม 2566 งานโยธา  14.70% #สถานีครุใน  #รถไฟฟ้าสายสีม่วง

วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เปิดวันแรก อุโมงค์ทางลอดแยกพัฒนาการ ถนนศรีนครินทร์ (21 ส.ค.66)


เปิดวันแรก อุโมงค์ทางลอดแยกพัฒนาการ ถนนศรีนครินทร์ (21 ส.ค.66)
เปิดใช้งานแล้ววันนี้ (วันที่ 21 ส.ค. 66 ) อุโมงค์ทางลอดพัฒนาการ ตามแนวถนนศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง เป็นความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 
โดยกรุงเทพมหานครมอบหมายให้ รฟม. เป็นผู้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้าง เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน กับแนวการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบด้านการจราจรให้ประชาชน และอำนวยความสะดวกในการเดินทาง โดยรูปแบบอุโมงค์ มีขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 800 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ขณะนี้ได้เปิดใช้งานแล้วเมื่อเวลา 05.00 น. 
การเปิดใช้ อุโมงค์ทางลอดพัฒนาการ เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณถนนศรีนครินทร์ให้ผ่านถนนพัฒนาการ ได้อย่างคล่องตัว ในช่วงแรกนี้ อาจมีการปิดการจราจรชั่วคราว ในช่วงเวลากลางคืน เพื่อเก็บรายละเอียดของงานในส่วนที่เหลืออีกเล็กน้อย รวมถึงการเชื่อมต่อบริเวณด้านข้างของอุโมงค์ทางลอดให้เรียบร้อย ซึ่งทางบริษัทผู้รับเหมาแจ้งว่าการก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้
#อุโมงค์ทางลอดแยกพัฒนาการ   #รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

อัพเดท โครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 2 ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 3 (ส.ค.66)


อัพเดท โครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 2 ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 3 (ส.ค.66)
ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย4 เป็นโครงการก่อสร้างถนนตัดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) และจังหวัดนครปฐม โดยต่อขยายถนนพรานนก จากสามแยกไฟฉาย ไปบรรจบถนนพุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร ขณะนี้ได้ก่อสร้างช่วงที่ 3 ถนนพุทธมณฑลสาย 2-ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระยะทาง 3.4 กม. กลุ่มกิจการร่วมค้าเอสซีพี (สามประสิทธิ์และประยูรชัย) เป็นผู้ก่อสร้างวงเงิน 1,532 ล้านบาท 
รูปแบบก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 8 ช่องจราจร ก่อสร้างสะพานข้ามคลอง ทางแยกต่างระดับบริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 3 และส่วนต่อเนื่อง ขณะเดียวกันได้ขอจัดสรรงบฯปี 2565 วงเงิน 1,300 ล้านบาท เวนคืนและก่อสร้างช่วงที่ 4 ถนนพุทธมณฑลสาย 3-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ระยะทางประมาณ 3 กม.ใช้เวลาสร้าง 720 วัน การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา สาเหตุความล่าช้าเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ทำให้ขาดแคลนแรงงาน ประกอบกับผู้รับจ้างได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมฝนตกหนักในฤดูฝนของปี พ.ศ.2564 - 2565 มีปัญหาการระบายน้ำออกจากพื้นที่ก่อสร้างทำให้ไม่สามารถเร่งรัดงานได้ตามแผนงาน สนย.ได้วางแผนเร่งรัดโครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 2 ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 3 ดังนี้ (
1) สะพานยกระดับถนนพุทธมณฑลสาย 3 กำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.66 
(2) สะพานต่างระดับที่เป็นทางร่วม - ทางแยกไปยังถนนต่อเชื่อมพุทธมณฑลสาย 2 กำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค.67
(3) ถนนต่อเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 2 ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 3 กำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย.67 
#โครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย2ถึงถนนพุทธมณฑลสาย3  #ถนนพรานนกพุทธมณฑลสาย4

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ หลังวัดดอนเมือง (ส.ค.66)


ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ หลังวัดดอนเมือง (ส.ค.66)
โครงการก่อสร้างเขื่อม ค.ส.ล.พัฒนาคลองเปรมประชากร ช่วงที่3 จากถนนสรงประภา ถึงถนนแจ้งวัฒนะ ผู้รับจ้าง บ.อิตาเลี่ยนไทยฯ ได้รื้อบ้านรุกล้ำริมคลองเปรมประชากร ด้านหลังวัดดอนเมือง และหลังโรงแรมอมรีดอนเมือง  เป็นที่อาศัยของ ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ และชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ 
มีรื้อบ้านทั้งหมดรวม 168หลัง เพื่อให้ภาครัฐเดินหน้าก่อสร้างเขื่อน ตามนโยบายจัดการน้ำ ไม่ให้ท่วม-และลดเร็ว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยความร่วมมือจาก  สำนักการระบายน้ำ สำนักงานเขตดอนเมือง  สถาบันพัฒนาชุมชน (พอช) และกองทัพภาคที่ 1 ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ หลังวัดดอนเมือง เป็นชุมชนแรกในเขตดอนเมือง ที่ได้มีการก่อสร้างเขื่อน พร้อมสร้างบ้านมั่นคง ชาวชุมชนได้ก่อสร้างบ้านทั้งหมด 123 หลัง ปัจจุบันมีบ้านที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและมีสมาชิกทะยอยเข้าอยู่บ้านหลังใหม่บ้างแล้ว และในส่วนชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้หลังโรงแรมอมรี ดอนเมือง ชาวบ้านให้ความร่วมมือ ยอมรื้อถอนบ้านรุกล้ำออกไป เพื่อเปิดทางให้ กทม. ก่อสร้างเขื่อมทางเดิน ค.ส.ล และขณะได้มีการก่อสร้างบ้าน ใกล้เสร้จบางส่วนแล้วเช่นกัน  #ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ #ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ปรับปรุงคลองโอ่งอ่างเฟส 2 ล่าสุด จุดท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์ Ong Ang ...


ปรับปรุงคลองโอ่งอ่างเฟส 2 ล่าสุด จุดท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์  Ong Ang Canal (ส.ค.66)
การปรับปรุงคลองโอ่งอ่าง เฟสที่ 2 ต่อจากเฟสที่1 เริ่มจาก สะพานดำรงสถิต ถนนเจริญกรุง ไปทางด้านทิศเหนือ จนถึงสะพานสมมตอมรมารค ถนนบำรุงเมือง ในเฟสที่1 ได้แล้วเสร็จและเปิดใช้งานแล้ว ยังเหลืองานก่อสร้างปรับปรุง คลองโอ่งอ่าง เฟสที่ 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ความก้าวหน้าล่าสุดในเฟสที่ 2 มีการแบ่งเป็น 2 ช่วง จากสะพานดำรงสถิต ถึงสะพานรพีพัฒนภาค ก่อสร้างทางเดิน ผนังคลองอิฐโชว์ลาย และติดตั้งราวกันตก และในช่วงจากสะพานรพีพัฒนภาค ไปถึงสะพานสมมตอมรมารค ถนนบำรุงเมือง ได้ทำทางเดิน พร้อมผนังคลองอิฐโชว์ลายไปได้ 1ใน3 แล้ว #คลองโอ่งอ่าง #คลองบางลำพู

สถานีสามยอด สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จุดเปลี่ยนสายรถไฟฟ้าสายสีม่วง MRT...


สถานีสามยอด สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จุดเปลี่ยนสายรถไฟฟ้าสายสีม่วง MRT PURPLE LINE(ส.ค.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก ความก้าวหน้ารวมทั้งโครงการ  14.70% พาดู 2 สถานีสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนสายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนด้านตะวันนตก
สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์ – มีนบุรี ตั้งอยูใต้ถนนพระสุเมรุ บริเวณแยกป้อมมหากาฬ (เดิมชื่อสถานีผ่านฟ้า) ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที - พีแอล สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ – ผ่านฟ้า 
สถานีสามยอด  เป็นจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า mrt สายสีน้ำเงิน รูปแบบสถานีใต้ดิน ตั้งอยูใต้ถนนมหาไชย บริเวณแยกสามยอด รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงและจัดทิศทางการจราจร ถนนมหาไชยช่วงแยกสามยอดถึงแยกสำราญราษฎร์ ช่วงแยกสามยอดถึงแยกเรือนจำปิด3ช่องทางเหลือ1ช่องทางเดินรถทางเดียว คือจากแยกเรือนจำไปแยกสามยอด มีผลให้รถโดยสารประจำทางและรถส่วนบุคคลบนถนนมหาไชย จากแยกสามยอด มุ่งหน้าแยกเรือนจำไม่สามารถสัญจรได้ เพื่อการดำเนินงาน ก่อสร้างกำแพงกันดิน สถานีสามยอด ผู้รับจ้างก่อสร้าง กิจการร่วมค้าไอทีดี-เอ็นดับบลิวอาร์ เอ็มอาร์ที ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน  สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้าฯ-สะพานพุทธ #โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง #mrtpurpleline

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เดินเที่ยว ปากคลองตลาด สะพานพุทธ ผ่านวัดประยุรวงฯ ทางเดินริมเจ้าพระยา ชุ...


เดินเที่ยว ปากคลองตลาด สะพานพุทธ ผ่านวัดประยุรวงฯ ทางเดินริมเจ้าพระยา ชุมชนกุฎีจีน วัดกัลยาฯ(ส.ค.66) พาดูบรรยากาศชุมชนที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากฝั่งพระนครเกาะรัตนโกสินทร์ ข้ามไปกรุงเทพฯฝั่งธนบุรี ตั้งแต่ทางเข้าท่าเรือราชินี ผ่านปากคลองตลาด ข้ามสะพานพุทธ ผ่านวัดประยุรวงศาวาส เดินเลาะริมเขื่อนที่สร้างใหม่ ย่านชุมชนกุฎีจีน หรือชุมชนกะดีจีน จนถึงวัดกัลยาณมิตร ระยะทางประมาณ 1.4 กม.
-ปากคลองตลาด เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ บริเวณถนนจักรเพชร ยาวจนไปถึงถนนมหาราช 
อยู่ใกล้วัดราชบูรณะ(เดิมชื่อวัดเลียบ) และโรงเรียนราชินี มีตลาดใหญ่อยู่ถึง 4 แห่งตั้งติดกัน 
ปัจจุบันเน้นขาย สินค้าเกษตรกรรม ขายส่งผัก ผลไม้และดอกไม้สด 
-สะพานพระพุทธยอดฟ้า  เป็นสะพานถนนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เก่าที่สุดของประเทศไทย 
ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทสร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ปี พ.ศ. 2475 
เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี 
-วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง ว่าที่กรมท่า และสมุหพระกลาโหม ได้อุทิศสวนกาแฟสร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2375 ได้ถวายเป็น พระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า "วัดประยุรวงศาวาส" 
-วัดซางตาครู้ส, โบสถ์ซางตาครู้ส หรือ วัดกุฎีจีน
เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยกุฎีจีน แยกซอยอรุณอมรินทร์ 4 ปัจจุบันวัดหลังนี้มีอายุรวมแล้ว 106 ปี
-ศาลเจ้าเกียนอันเกง เป็นศาลเจ้าแม่กวนอิมของกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยน ตั้งอยู่ในย่านชุมชนกุฎีจีน 
ตั้งอยู่ระหว่างวัดกัลยาณมิตร กับวัดซางตาครู้ส สร้างขึ้นในปีใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด 
-ป้อมวิไชยประสิทธิ์ เป็นป้อมปราการเก่าแก่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตก ทางเหนือของปากคลองบางกอกใหญ่ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
-วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2368 และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร" 
หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก วิกิพีเดีย

วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566

มอเตอร์เวย์ m82 บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว เฟสที่ 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว (สิง...


มอเตอร์เวย์ m82 บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว เฟสที่ 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว (สิงหาคม 66)
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว motorway m82 
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพระราม 2 วังมะนาว 
ซึ่งขณะนี้ได้มีการก่อสร้างอยู่ในช่วงบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ช่วงบางขุนเทียน - เอกชัย และระยะที่ 2 ช่วงเอกชัย -บ้านแพ้ว คลิปนี้พาชมใน ระยะที่ 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว เริ่มจากหลักกิโลเมตรที่ 20+295 ตรงด่านมหาชัย1 ใกล้จุดตัดถนนเอกชัย ผ่านด่านมหาชัย 2   ด่านสมุทรสาคร1  ด่านสมุทรสาคร2 ด่านบ้านแพ้ว สิ้นสุดที่หลักกิโลเมตรที่ 36+645  เขตอำเภอบ้านแพ้ว ระยะทางประมาณ 16.350 กิโลเมตร โดยออกแบบเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่อง จราจร ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมจากกองทุนมอเตอร์เวย์ แบ่งเป็น 10สัญญา 
คาดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ในปี 2568 #ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบางขุนเทียนบ้านแพ้ว  #motorwayM82 #มอเตอร์เวย์เอกชัยบ้านแพ้ว

วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู งานคืนช่องจราจร ช่วงสถานีวัดพระศรีฯ - ตลาดมีนบุร...


เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู งานคืนช่องจราจร ช่วงสถานีวัดพระศรีฯ - ตลาดมีนบุรี MRTPINKLINE(ส.ค.66) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยว่าจะเริ่มทดสอบเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู  ช่วงแคราย – มีนบุรี เสมือนจริง (Trial Run) ในวันอังคารที่ 15 ส.ค.นี้ และจะเปิดให้ประชาชนร่วมทดลองใช้บริการฟรี ระหว่างเดือน กันยายน-ตุลาคม 2566 ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ จัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู ในเดือนพฤศจิกายน 2566 หลังจากที่บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ผู้รับสัมปทาน ได้ทำการทดสอบระบบการเดินรถตั้งแต่ศูนย์ซ่อมบำรุง (DEPOT) 
ไปยังสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี รวม 30 สถานี ระยะทางประมาณ 35 กม.โดยไม่มีปัญหาในการทดสอบ
ความก้าวหน้าเดือน ก.ค. 2566 งานโยธา 97.35% งานระบบรถไฟฟ้า 97.74% ภาพรวม 97.54%
#ทดสอบการเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู  #รถไฟฟ้าสายสีชมพู #MRTPINKLINE

วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สร้างทางยกระดับ ซ้อนทับทางด่วนเฉลิมมหานคร |สายพระราม3 ดาวคะนอง (ส.ค.66)


สร้างทางยกระดับ ซ้อนทับทางด่วนเฉลิมมหานคร |สายพระราม3 ดาวคะนอง (ส.ค.66) โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 ดาวคะนอง วงแหวนด้านตะวันตก ช่วงราษฎร์บูรณะ ถ.สุขสวัสดิ์ ถ.พระราม2 สร้างทางยกระดับซ้อนทับทางด่วนเฉลิมมหานคร ช่วงถนนราษฎร์บูรณะ ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนพระรามที่2 คลิปนี้พาชม..การก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3 ดาวคะนอง วงแหวนตะวันตก ในสัญญาที่ 4 ต่างระดับบางโคล่ ผ่านถนนพระราม3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านจุดก่อสร้างในสัญญาที่ 3 ถนนราษฎร์บูรณะ ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนประชาอุทิศ ถึงถนนพระรามที่2 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้าง กิจการร่วมค้า ไอทีดี-วีซีบี ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด และ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนด้านตะวันตก ในสัญญาที่ 3 เป็นการก่อสร้างช่วงจากเชิงสะพานขึงฝั่งถนนราษฎร์บูรณะ จนถึงแยกต่างระดับดาวคะนอง ถนนพระราม2 ระยะทางรวมประมาณ 5 กิโลเมตร และงานปรับปรุงด่านสุขสวัสดิ์ รูปแบบการก่อสร้างในสัญญาที่3 ก่อสร้างทางยกระดับซ้อนทับบนทางด่วนเฉลิมมหานครขนาด 6ช่องจราจร โครงสร้างส่วนบน คานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องหล่อสำเร็จ โครงสร้างส่วนล่าง เสาต่อม่อแบบคู่ ความก้าวหน้าของโครงการแบบสะสม ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 แผนงาน 38.96% ผลงาน 36.90% ช้ากว่าแผน -2.06% #ทางพิเศษสายพระราม3ดาวคะนองวงแหวนตะวันตก

วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เร่งตอกเสาเขื่อน ชุมชนตลาดหลักสี่ คลองเปรมประชากร กรุงเทพฯ (ส.ค.66)


เร่งตอกเสาเขื่อน ชุมชนตลาดหลักสี่ คลองเปรมประชากร กรุงเทพฯ (ส.ค.66)
ชุมชนตลาดหลักสี่ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่หลังสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
ก่อสร้างชุดแรกบ้าน 86 หลัง เมื่อต้นเดือนธ้นวาคม 2564 ที่ผ่านมา งานก่อสร้างเป็นไปตามแผนงาน
ได้ส่งมอบบ้านให้สมาฃิกได้เข้าอยุ่แล้ว ขณะนี้ได้เร่งก่อสร้างเขื่อน พร้อมทางเดินริมน้ำ
โครงการก่อสร้างเขื่อน และการจัดการที่อยู่อาศัยริมคลองเปรมประชากร ภาพรวมยังถือว่าล้าช้ามาก
ช่วงนี้เป็นฤดูฝน ทาง กทม.เร่งขุด-ลอกคลองเปรมประชากร เพื่อรองรับน้ำ น้ำจะดำมากส่วนหนึ่งเกิดจากการก่อสร้าง สำนักการระบายน้ำได้ดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อน คลองเปรมประชากร จากกรุงเทพฯ เขตจตุจักร หลักสี่ ดอนเมืองต่อเนื่องถึง จ.ปทุมธานี ปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์ริมคลอง สร้างเขื่อน ปรับปรุงสภาพน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พอช.ดำเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชาวชุมชนริมคลองเปรมประชากรรื้อบ้านเก่าที่รุกล้ำคลอง สร้างบ้านหลังใหม่ ให้ชาวชุมชนเกิดความปลอดภัย 
พัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนริมคลองเปรมประชากร และส่งเสริมการท่องเที่ยวในอนาคต
#ชุมชนตลาดหลักสี่   #คลองเปรมประชากร  #บ้านมั่นคง

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สถานีบางปะแก้ว ล่าสุด รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิ...


สถานีบางปะแก้ว ล่าสุด รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก (ส.ค.66) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก (MRT PURPLE LINE) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างงานก่อสร้างสัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง–ครุใน ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร บนถนนสุขสวัสดิ์ ฝั่งขาออก บริเวณซอยสุขสวัสดิ์ 5 ชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร และฝั่งขาเข้า บริเวณซอยสุขสวัสดิ์ 12 ถึง ซอยสุขสวัสดิ์ 14 (บริเวณเชิงสะพานยกระดับ) ชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร เพื่อทำการรื้อย้ายสาธารณูปโภค งานก่อสร้างสถานีบางปะแก้ว ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม จนถึง วันที่ 20 ตุลาคม 2570 ตลอด 24 ชั่วโมง โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก ความก้าวหน้างานโยธา เดือนกรกฎาคม 2565 ภาพรวม 14.70% สถานีบางปะแก้ว มีจุดขึ้น-ลง สถานี 4จุด #สถานีบางปะแก้ว #รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ทางพิเศษสายพระราม 3 ดาวคะนอง สัญญาที่ 1-2 (สิงหาคม 66)


ทางพิเศษสายพระราม 3 ดาวคะนอง สัญญาที่ 1-2 (สิงหาคม 66)
โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 ดาวคะนอง วงแหวนรอบนอกกรุงเทพด้านตะวันตก บนถนนพระรามที่ 2
เส้นทางก่อสร้าง|ด่านทางขึ้น ลง  ช่วงต่างระดับดาวคะนอง หน้ารพ.บางปะกอก9  ไปจนถึงด่านบางขุนเทียน บริเวณถนนพระราม 2 ซอย 84 เป็นงานก่อสร้างทางยกระดับ ขนาด 6ช่องจราจร บนถนนพระรามที่ 2 ซึ่งอยู่ในช่วง สัญญาที่ 1 และ2 โดยโครงการแบ่งงานโยธาออกเป็น 4สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางยกระดับใกล้ต่างระดับบางขุนเทียน -รพ.นครธน ระยะทางรวม 6.3 กม.
สัญญาที่ 2 รพ.นครธน - รพ.บางปะกอก9 บริเวณต่างระดับดาวคะนอง ระยะทาง 5.3 กม.
สัญญาที่ 3  ต่างระดับดาวคะนอง-ถนนสุขสวัสดิ์-ถนนราษฎร์บูรณะ ระยะทางรวมประมาณ 5 กิโลเมตร 
สัญญาที่ 4 ก่อสร้างสะพานขึง ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาด 8 ช่องจราจร 
ความก้าวหน้าสัญญาที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2566 
ผลงานสะสม 71.45% แผนงานสะสม 72.92% ช้ากว่าแผน -1.47%
ความก้าวหน้าสัญญาที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2566 
แผนงานสะสม 38.96% ผลงานสะสม 38.29% ช้ากว่าแผน -0.67%
คาดว่าจะเปิดให้ประชาชนได้ใช้ฟรี ในส่วนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 67 
#ทางพิเศษสายพระราม3 #ทางด่วนสายพระราม2

วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2566

โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ แก้คอขวดถนนราชพฤกษ์ (...


โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ แก้คอขวดถนนราชพฤกษ์ (ส.ค.66)
กรมทางหลวงชนบท (ทช.)  ทุ่มงบ 1,181 ล้านบาท  สร้างสะพานคลองมหาสวัสดิ์  เร่งแก้คอขวดถนนราชพฤกษ์ เร่งก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ เพื่อแก้ปัญหาคอขวดบริเวณสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ปัจจุบันถนนราชพฤกษ์ไม่สามารถรองรับการจราจรที่มีปริมาณหนาแน่นได้ ในช่วงเร่งด่วนมีจำนวนรถยนต์สูงถึง 59,000 คันต่อวัน ทช.ได้เข้าดำเนินการก่อสร้าง เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยก่อสร้างเป็นสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ขนาด 2 ช่องจราจร ต่อทิศทาง 
มีจุดเริ่มต้นงานก่อสร้างประมาณ กม.ที่ 12+850 ไปสิ้นสุดงานก่อสร้างประมาณ กม.ที่ 15+100 
สะพานฝั่งขาเข้าความยาวประมาณ 2.1 กิโลเมตร และสะพานฝั่งขาออกยาวประมาณ 1.9 กิโลเมตร 
คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2568 
ผู้รับจ้างก่อสร้าง บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
เริ่มก่อสร้าง วันที่ 1 ธันวาคม 2565 สิ้นสุดสัญญาจ้าง วันที่ 18 พฤษภาคม 2568
#โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์  #สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์

วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สถานีหอสมุดแห่งชาติ สถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT PURPLE LINE ...


สถานีหอสมุดแห่งชาติ สถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT PURPLE LINE (ส.ค.66) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ - ผ่านฟ้า ประชาสัมพันธ์ แจ้งปิดเบี่ยงการจราจรบนถนนสามเสนและบนถนนศรีอยุธยา กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที - พีแอล ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน แจ้งปิดเบี่ยงจราจร 2 ช่องจราจร บนถนนสามเสนและบนถนนศรีอยุธยา บริเวณซอยท่าวาสุกรี ถึง หอสมุดแห่งชาติ บริเวณโรงเรียนพระดาบส ถึง แยกสี่เสาเทเวศร์ และบริเวณแยกสี่เสาเทเวศร์ฝั่งทางเข้าวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เพื่อดำเนินงานก่อสร้างกำแพงสถานี โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยาย สถานีหอสมุดแห่งชาติ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีผลให้ถนนสามเสนบริเวณปิดเบี่ยง ฝั่งมุ่งหน้าแยกสี่เสาเทเวศร์ เหลือ 2 ช่องจราจร และถนนศรีอยุธยา ฝั่งทางเข้าวัดเทวราชกุญชร เหลือ 1 ช่องจราจร ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้าออกที่พักอาศัยได้ตามปกติ สถานีบางขุนพรหม ถ.สามเสน หน้าวัดเอี่ยมวรนุช แยกบางขุนพรหม กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที - พีแอล ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ - ผ่านฟ้า แจ้งปิดเบี่ยงจราจร 3 ช่องจราจร บนถนนสามเสน บริเวณแยกบางขุนพรหม ถึง ซอยสามเสน 5 และบริเวณร้านซินไฉฮั้วซักแห้ง ถึง บริเวณร้านสิริบังอร เพื่อดำเนินการก่อสร้างกำแพงสถานี สถานีบางขุนพรหม ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง มีผลให้รถฝั่งมุ่งหน้าแยกบางลำพู เหลือ 1 ช่องจราจร โดยประชาชนสามารถเข้าออกที่พักอาศัยได้ตามปกติ #สถานีหอสมุดแห่งชาติ #สถานีบางขุนพรหม #รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ท่านที่รับชมช่อง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า หากมีความประสงค์ ต้องการสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำคลิปวีดีโอ สามารถกดสมัครหน้าช่องยูทูป หรือโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0430256768 https://www.youtube.com/channel/UCM-zyK3oIyk8mo5nBDBOj4w ติดตาม วีเอ็นพีมีเรื่องเล่า ได้ทาง youtube : https://www.youtube.com/channel/UCD9OvS-299_pUEldu_VsOwA Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100064109230338 Twitter : https://twitter.com/EsTbJbtYn9MuZyn Instagram : https://www.instagram.com/vnpstory/ blogs : https://vnpstory.blogspot.com/

ทางยกระดับถนนพระราม 2 บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วง1 บางขุนเทียน-เอกชัย (ส.ค...


ทางยกระดับถนนพระราม 2 บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว เฟส 1 บางขุนเทียน-เอกชัย (ส.ค.66) 
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน บ้านแพ้ว motorway m82 แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง คือ1 ช่วงบางขุนเทียน - เอกชัย 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว
คลิปนี้พาดูการก่อสร้างในช่วงที่ 1 บางขุนเทียน เอกชัย เชื่อมต่อได้โดยตรงกับโครงการทางพิเศษ สายพระราม 3 ดาวคะนอง วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก 
ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และสิ้นสุดที่บริเวณ ด่านมหาชัย 1 
จากกม.11+960 จ.กรุงเทพฯ สิ้นสุดที่ กม.20+295 อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ใกล้ถนนเอกชัย 
เขตพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทางรวมประมาณ 24.7 กิโลเมตร มีจุดเก็บค่าผ่านทาง 2 จุด 1ด่านใกล้วัดพันท้ายนรสิงห์ 2 ด่านฯ มหาชัย1 
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว M82 การก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ช่วงบางขุนเทียน - เอกชัย ช่วงที่ 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว
รูปแบบ ก่อสร้างเป็นทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ขนาด 6ช่องจราจร 
1ด่านใกล้วัดพันท้ายนรสิงห์ 2 ด่านฯ มหาชัย1 
ความก้วหน้า ปัจจุบันทำได้กว่า 80% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2567 
#มอเตอร์เวย์บางขุนเทียนบ้านแพ้ว  #มอเตอร์เวย์บางขุนเทียนเอกชัย

วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ ราชพฤกษ์ Central Westville กำหนดวันเปิดแล้ว (ส.ค.66)


เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ ราชพฤกษ์ Central Westville กำหนดวันเปิดแล้ว (ส.ค.66)
เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ หรือเรียกกันว่า เซ็นทรัล ราชพฤกษ์  ตั้งอยู่พื้นที่เดิมบ้านแอนด์บียอนด์ สาขาถนนราชพฤกษ์ ซึ่งได้ปิดบริการ เนื่องจากต้องนำพื้นที่ไปรวมกับ ศูนย์การค้า เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ ที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ ศูนย์การค้าที่จะมาพลิกโฉมย่านราชพฤกษ์ ให้เปลี่ยนไป
กลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา เตรียมพร้อมบุกเบิกอณาจักร กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก ร่วมกับแบรนด์ดังกว่า 300 ร้านค้า 
ด้วยมูลค่าโครงการรวมกว่า 6,200 ล้านบาท บนที่ดิน 40 ไร่ พื้นที่รวม 93,000 ตร.ม. 
โครงสร้างมีทั้งหมด 4 ชั้น ประกอบไปด้วย ศูนย์การค้า ร้านค้าปลีก โรงภาพยนต์ พื้นที่สีเขียว พื้นที่กิจกรรม พร้อมที่จอดรถกว่า 2,200 คัน 
พลิกโฉมสู่ สุดยอดไลด์สไตร์ ของกรุงเทพฯ ฝั่งด้านตะวันตก 
ดึงดูดลูกค้ากำลังซื้อสูงจากโครงการที่อยู่อาศัย ย่านถนนราชพฤกษ์
เตรียมเปิดโครงการ “เซ็นทรัล เวสต์วิลล์” (Central Westville) อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 นี้
#เซ็นทรัลเวสต์วิลล์  #CentralWestville

วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566

รื้อใหญ่ ชุมชนบุญร่มไทร เร่งสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ส.ค...


รื้อใหญ่ ชุมชนบุญร่มไทร เร่งสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ส.ค.66) การลงนามสัญญาระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับบริษัทเอเชียเอรา วัน จำกัด โดยจะใช้เส้นทางเดินรถไฟเดิม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มต้นเส้นทางจากสนามบินดอนเมือง ไปทิศตะวันออกผ่าน จ.ฉะเฃิงเทรา ชลบุรี พัทยา จนถึงสนามบินอู่ตะเภา ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้ส่งมอบพื้นที่ ช่วงสถานีสุวรรณภูมิถึงสถานีอู่ตะเภา ระยะทาง 160 กม. และพื้นที่บริเวณมักกะสัน จำนวน 140 ไร่ ให้ผู้รับสัมปทานเรียบร้อยแล้ว ล่าสุดรื้อถอนบ้านริมทางรถไฟบริเวณสถานีพญาไทความยาว 1 กิโลเมตร เพื่อลงมือก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน #รื้อบ้านชุมชนบุญร่มไทร ท่านที่รับชมช่อง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า หากมีความประสงค์ ต้องการสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำคลิปวีดีโอ สามารถกดสมัครหน้าช่องยูทูป หรือโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0430256768    / @user-dk6zx7fc1x   ติดตาม วีเอ็นพีมีเรื่องเล่า ได้ทาง youtube :    / @user-ls4ox9fr3n   Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?... Twitter : https://twitter.com/EsTbJbtYn9MuZyn Instagram : https://www.instagram.com/vnpstory/ blogs : https://vnpstory.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สถานีศรีย่าน สถานีวชิระพยาบาล รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT PURPLE LINE(ส.ค.66)


สถานีศรีย่าน สถานีวชิระพยาบาล รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT PURPLE LINE(ส.ค.66)
สถานีศรีย่าน  ก่อสร้างบนถนนสามเสน รูปแบบสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก 
ได้ทำการปิดเบียงช่องจราจรบนถนนสามเสนในฝั่งขาเข้า บริเวณซอยสามเสน 21 ถึงแยกศรีย่าน รถสัญจรได้ทิศทางเดียว เฉพาะในฝั่งขาเข้า มุ่งหน้าแยกวชิระพยาบาล1 ช่องทาง
โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภค และการก่อสร้างกำแพงกันดิน
ตั้งของสถานีจะอยู่หน้า กรมชลประทาน  ทางเข้าออกมี 4 จุด 
สถานีวชิระพยาบาล โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ รูปแบบสถานีใต้ดิน 
ได้ทำการปิดเบียงช่องจราจรบนถนนสามเสน  เดินรถทางเดียว เฉพาะในฝั่งขาเข้าไปได้ 1 ช่องทาง
โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภค และการก่อสร้างกำแพงกันดิน
สถานีวชิรพยาบาล ทางเข้าออกมี 4 จุด
สถานีศรีย่าน และสถานีวชิระพยาบาล  ผู้รับจ้างคือ กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-พีแอล ก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน 
ในสัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน- หอสมุดแห่งชาติ ล่าสุด มีความคืบหน้างานก่อสร้าง 16.68% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566
โครงรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 
มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร 10 สถานี 
และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร 7 สถานี  #สถานีศรีย่าน #สถานีวชิระพยาบาล #รถไฟฟ้าสายสีม่วง #MRTPURPLELINE

วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เปิดแล้ว สะพานข้ามแยกบางกะปิ ถนนลาดพร้าว - ถนนเสรีไทย (2 ส.ค.66)


เปิดแล้ว สะพานข้ามแยกบางกะปิ ถนนลาดพร้าว - ถนนเสรีไทย (2 ส.ค.66) ล่าสุด..ได้เปิดช่องทางในฝั่งขาออก ฝั่งถนนลาดพร้าว ไปถนนเสรีไทย ระหว่างเวลา 05.00-22.00น. เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมา หลังจากนั้นจะปิดการจราจรช่วงกลางคืน เพื่อเก็บงานในส่วนที่ยังไม่เรียบร้อย ส่วนในฝั่งขาเข้า ถนนเสรีไทย มุ่งหน้าถนนลาดพร้าว จะเร่งงานให้เสร็จประมาณต้นเดือน กันยายน 2566 สำหรับสกายวอร์ค รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีบางกะปิ เชื่อมศูนย์การค้า เดอะมอลล์ บางกะปิ ติดตั้งชิ้นส่วนใกล้เสร็จ 100% คาดเปิดใช้งานได้ สิงหาคม 2566 นี้ สำหรับทางเดินลอยฟ้า รอบๆย่านบางกะปิ ซึ่งทางกรุงเทพมหานคร กำลังติดตั้งอยู่ใต้แนวสะพาน คาดแล้วเสร็จทั้งหมดประมาณต้นปี 2567 #สะพานข้ามแยกบางกะปิ ท่านที่รับชมช่อง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า หากมีความประสงค์ ต้องการสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำคลิปวีดีโอ สามารถกดสมัครหน้าช่องยูทูป หรือโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0430256768    / @user-dk6zx7fc1x   ติดตาม วีเอ็นพีมีเรื่องเล่า ได้ทาง youtube :    / @user-ls4ox9fr3n   Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?... Twitter : https://twitter.com/EsTbJbtYn9MuZyn Instagram : https://www.instagram.com/vnpstory/ blogs : https://vnpstory.blogspot.com/

ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม โซนที่6 เทเวศน์ ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือ...


ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม โซนที่6 เทเวศน์ ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือเทเวศร์ (ส.ค.66)
โซน 6  เทเวศร์ (ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือเทเวศร์) ระยะทาง 400เมตร ผู้รับเหมา บริษัท วิวัฒน์พล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด งบประมาณ 76,500,000 บาท เชื่อมต่อการเดินทาง มีรถโดยสารประจำทาง สาย 53 ,33 เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือไฟฟ้าให้บริการในคลองผดุงฯ หัวลำโพง ท่าเรือเทเวศร์
ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม เริ่มตั้งแต่การจัดทำรูปแบบ การปรับปรุงคันหินและทางเท้า การจัดภูมิสถาปัตย์ ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง และเพิ่มจุดนั่งเล่น งบประมาณทั้งสิ้น 453.2 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโดย กรุงเทพมหานคร  (กทม.) 
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมฯระยะทางรวม 4,480 ม. แบ่งเป็น 6 โซน
โซน 1 ตลาดน้อย (ช่วงท่าเรือสี่พระยา - สะพานเจริญสวัสดิ์36) ระยะทาง 680 ม. 
โซน 2 หัวลำโพง (ช่วงสะพานเจริญสวัสดิ์36 - สะพานกษัตริย์ศึก) ระยะทาง 1,250 ม. ก่อสร้างเสร็จแล้ว
โซน 3โบ้เบ้ (ช่วงสะพานกษัตริย์ศึก - สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์/แยกสะพานขาว) ระยะทาง 450 ม. 
โซน 4 นางเลิ้ง (ช่วงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์/แยกสะพานขาว - สะพานมัฆวานรังสรรค์) ระยะทาง 700 ม. 
โซน 5 สถานที่ราชการ (ช่วงสะพานมัฆวานรังสรรค์ - สะพานเทเวศรนฤมิตร) ระยะทาง 700 ม. 
โซน 6  เทเวศร์ (ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือเทเวศร์) ระยะทาง 400 ม 
#ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม #เทเวศร์

วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ล่าสุด สถานีรัฐสภา รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT PURPLE LINE (ส.ค.66)


ล่าสุด สถานีรัฐสภา รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT PURPLE LINE(ส.ค.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก โดยกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-พีแอล ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ในสัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งมีความคืบหน้างานก่อสร้าง 16.68% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 ผู้รับเหมาได้ปิดเบี่ยงจราจร บนถนนสามเสน  ตั้งแต่แยกเกียกกาย ถึงบริเวณหน้ากองพันทหารม้าที่ 4 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์  ช่วงเวลาทั่วไป รถจากแยกเกียกกายมุ่งหน้าแยกบางกะบือไปได้ 2 ช่องทาง รถจากแยกบางกะบือมาแยกเกียกกายไปได้ 1 ช่องทาง เวลาเร่งด่วน 15:00-18:00น. รถจากแยกเกียกกายมุ่งหน้าบางกะบือไปได้ 1ช่องทาง  รถจากบางกะบือมาแยกเกียกกายไปได้ 2ช่องทาง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภค และการก่อสร้างกำแพงกันดิน สำหรับงานก่อสร้างสถานีรัฐสภา
มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร 10 สถานี 
และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร 7 สถานี #สถานีรัฐสภา #MRTPURPLELINE