วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เดินเที่ยว ปากคลองตลาด สะพานพุทธ ผ่านวัดประยุรวงฯ ทางเดินริมเจ้าพระยา ชุ...


เดินเที่ยว ปากคลองตลาด สะพานพุทธ ผ่านวัดประยุรวงฯ ทางเดินริมเจ้าพระยา ชุมชนกุฎีจีน วัดกัลยาฯ(ส.ค.66) พาดูบรรยากาศชุมชนที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากฝั่งพระนครเกาะรัตนโกสินทร์ ข้ามไปกรุงเทพฯฝั่งธนบุรี ตั้งแต่ทางเข้าท่าเรือราชินี ผ่านปากคลองตลาด ข้ามสะพานพุทธ ผ่านวัดประยุรวงศาวาส เดินเลาะริมเขื่อนที่สร้างใหม่ ย่านชุมชนกุฎีจีน หรือชุมชนกะดีจีน จนถึงวัดกัลยาณมิตร ระยะทางประมาณ 1.4 กม.
-ปากคลองตลาด เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ บริเวณถนนจักรเพชร ยาวจนไปถึงถนนมหาราช 
อยู่ใกล้วัดราชบูรณะ(เดิมชื่อวัดเลียบ) และโรงเรียนราชินี มีตลาดใหญ่อยู่ถึง 4 แห่งตั้งติดกัน 
ปัจจุบันเน้นขาย สินค้าเกษตรกรรม ขายส่งผัก ผลไม้และดอกไม้สด 
-สะพานพระพุทธยอดฟ้า  เป็นสะพานถนนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เก่าที่สุดของประเทศไทย 
ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทสร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ปี พ.ศ. 2475 
เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี 
-วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง ว่าที่กรมท่า และสมุหพระกลาโหม ได้อุทิศสวนกาแฟสร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2375 ได้ถวายเป็น พระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า "วัดประยุรวงศาวาส" 
-วัดซางตาครู้ส, โบสถ์ซางตาครู้ส หรือ วัดกุฎีจีน
เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยกุฎีจีน แยกซอยอรุณอมรินทร์ 4 ปัจจุบันวัดหลังนี้มีอายุรวมแล้ว 106 ปี
-ศาลเจ้าเกียนอันเกง เป็นศาลเจ้าแม่กวนอิมของกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยน ตั้งอยู่ในย่านชุมชนกุฎีจีน 
ตั้งอยู่ระหว่างวัดกัลยาณมิตร กับวัดซางตาครู้ส สร้างขึ้นในปีใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด 
-ป้อมวิไชยประสิทธิ์ เป็นป้อมปราการเก่าแก่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตก ทางเหนือของปากคลองบางกอกใหญ่ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
-วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2368 และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร" 
หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น