วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ล่าสุด สถานีสะพานพุทธฯ ปรับปรุงโครงสร้างสะพาน รื้อย้ายสะพานลอยพร้อมสร้าง...


ล่าสุด สถานีสะพานพุทธฯ ปรับปรุงโครงสร้างสะพาน รื้อย้ายสะพานลอยพร้อมสร้างใหม่ (4 มิ.ย.66)
แจ้งปิดเบี่ยงจราจรบนถนนประชาธิปก ฝั่งขาเข้า 2 ช่องทาง บริเวณซอยประชาธิปก 2 เพื่อดำเนินงานเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างสะพาน 
บริเวณ สถานีสะพานพุทธฯ ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 26 ธันวาคม 2566  ตลอด 24 ชั่วโมง มีผลให้บริเวณที่ปิดเบี่ยงจราจร ฝั่งขาเข้าสามารถสัญจรได้ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกสามารถสัญจร ได้ 2 ช่องทาง โดย กิจการร่วมค้า ไอทีดี-เอ็นดับเบิ้ลยูอาร์ เอ็มอาร์ที ผู้รับจ้างงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า – สะพานพุทธ มีผลให้บริเวณที่ปิดเบี่ยงจราจร ฝั่งขาเข้าสามารถสัญจรได้ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกสามารถสัญจร ได้ 2 ช่องทาง 
ที่ผ่านมาได้มีการรื้อสะพานลอยในคืนวันที่ 12 -14 พฤษภาคม 2566 บริเวณ หจก. ร สุมิตรพานิช และทำการติดตั้งสะพานลอยใหม่ใกล้ๆกัน หน้าโรงเรียนศึกษานารี หัวมุมถนนอรุณอมรินทร์ ข้ามไปฝั่ง ถนนสมเด็จเจ้าพระยา (ทดแทน) 
สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า  เป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่สถานีประชาธิปก  ตำแหน่งสถานีอยู่กลางถนนประชาธิปก ระหว่าง ถ.สมเด็จเจ้าพระยา กับ ถ.อิสรภาพ (แยกบ้านแขก) เป็นสถานีแรกของฝั่งธนฯ หลังจากลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยามาแล้ว แนวเส้นทาง เริ่มจากจุดเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง(ช่วงบางใหญ่–บางซื่อ) ที่บริเวณสถานีเตาปูน โดยเปลี่ยนมาเป็นเส้นทางใต้ดิน วิ่งมาทางด้านทิศใต้  เข้าถนนทหาร ถนนสามเสนวิ่งตรงถึงแยกบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าถนนประชาธิปก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ ผ่านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน 
ลอดแยกมไหสวรรย์ จากนั้นเปลี่ยนเป็นทางยกระดับที่สถานีดาวคะนอง เข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ สิ้นสุดเส้นทาง สถานีครุใน ใกล้ตลาดครุใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ระยะทางรวม 23.63  กิโลเมตร มีจำนวน 17 สถานี แบ่งเป็น สถานีใต้ดิน จำนวน10 สถานี ระยะทาง 14.29 กม. ยกระดับจำนวน 7สถานี ระยะทาง 9.34 กม.
#สถานีสะพานพุทธ  #รถไฟฟ้าสายสีม่วง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น