วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เปิดแล้ว สะพานข้ามแยก ณ ระนอง รีวิว ทดลองใช้สะพานเที่ยวไปและกลับ (1มิ.ย.66)


เปิดแล้ว สะพานข้ามแยก ณ ระนอง รีวิว ทดลองใช้สะพานเที่ยวไปและกลับ (1มิ.ย.66)
เปิดใช้แล้ว สะพานข้ามแยก ณ ระนอง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 หลังก่อสร้างยาวนานกว่า 4ปี
โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยก ณ ระนอง เพื่อแก้ปัญหาถนนที่มีลักษณะคอขวด ลดจุดตัดบริเวณทางแยกและเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน รองรับการจราจรถนนวงแหวนรัชดาภิเษกและถนนสายหลักต่อเนื่องถนนพระราม 3
เริ่มปิดสะพานเพื่อทำการรื้อทุบสะพานเก่าและก่อสร้างใหม่ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2562 และกำหนดแล้วเสร็จ วันที่ 13 มีนาคม 2564 สาเหตุการล่าช้า จากสถานะการณ์โควิด-19 ขาดแคลนแรงงาน และติดปัญหาสาธาณณูประโภค การขออนุญาตก่อสร้างข้ามทางด่วนจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
โครงการดังกล่าว มีการทุบช่วงกลางสะพานข้ามแยก ณ ระนองเดิม ไปจนถึงเชิงสะพานข้ามแยกถนนเชื้อเพลิง และเหลือช่วงกลางสะพาน ใกล้แยกพระรามที่ 4 ไปถึงหน้าศูนย์สิริกิติไว้ จากนั้นก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่อง 2 ทิศทาง เริ่มต้นจากถนนพระราม 3 หน้าโรงเรียน นนทรีวิทยา ยกระดับข้ามสะพานข้ามแยกถนนเชื้อเพลิง ข้ามทางด่วนขั้นที่ 1 ข้ามแยก ณ ระนอง เชื่อมกับสะพาน ณ ระนองของเดิมที่เหลือไว้ ข้ามแยกถนนพระรามที่ 4 ถึงศูนย์ฯ สิริกิติ์ ความยาวสะพานรวมทั้งหมด 1,950 เมตร 
#เปิดแล้วสะพานข้ามแยกณระนอง #สะพานข้ามแยกณระนองล่าสุด

คืบหน้า สถานีวงเวียนใหญ่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูร...


คืบหน้า สถานีวงเวียนใหญ่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
คืบหน้า สถานีวงเวียนใหญ่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
ล่าสุด ดำเนินงานรื้อย้ายสะพานลอย บริเวณ หน้าตลาด เสสะเวช (ชั่วคราว) เมื่อวันที่ 27 - 28 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ป้ายรถเมล์ชั่วคราว จะอยู่บริเวณสะพานลอยที่รื้อชั่วคราว ทั้งสองฝั่งถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
โดย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างงาน สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ – ดาวคะนอง ได้ดำเนินงานรื้อย้ายเกาะกลางเพื่อขยายช่องจราจร และทำการปิดเบี่ยงจราจรเพื่องานก่อสร้าง กำแพงกันดิน  สถานีวงเวียนใหญ่ โดยได้ทำการปิดเบี่ยงช่องจราจร บริเวณซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 6  จนถึงอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถานีวงเวียนใหญ่ ตำแหน่งสถานี จะอยู่ติดกับวงเวียนใหญ่ บน ถ.สมเด็จพระเข้าตากสิน เป็นสถานีที่อยู่ใต้ดิน
#สถานีวงเวียนใหญ่  #รถไฟฟ้าสายสีม่วง

วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

อัพเดท สถานีพระประแดง ช่วงแยกพระประแดง -บิ๊กซีสุขสวัสดิ์ MRT PURPLE LINE


อัพเดท สถานีพระประแดง ช่วงแยกพระประแดง -บิ๊กซีสุขสวัสดิ์ MRT PURPLE LINE
งานก่อสร้าง สถานีพระประแดง ดครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงแยกพระประแดง -บิ๊กซีสุขสวัสดิ์-สุขสวัสดิ์ 66 สถานีพระประแดง โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างงานก่อสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ อาคารจอดรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร  สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง – ครุใน ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร ฝั่งขาเข้าและขาออก 1 ช่องจราจรชิดเกาะกลาง บนถนนสุขสวัสดิ์ บริเวณสามแยกพระประแดง ถึง ซอยสุขสวัสดิ์ 37/8  และปิดเพิ่มเติมจากหน้าบิ๊กซีสุขสวัสดิ์ ไปถึงจุดกลับรถ ซอยสูขสวัสดิ์66 โดยจะปิดไปถึง วันที่  20 ตุลาคม 2570 มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้า และ ฝั่งขาออกเหลือ 3ช่องทาง รถที่มาจากเจดีย์ หรือครุใน สามารถเลี้ยวขวาเข้าถนนเขื่อนขันธุ์ไปยังตลาดพระประแดงได้  และรถที่จะเลี้ยวขวาเข้าซอย สุขสวัสดิ์ 66 เปิดเพิ่มเติมให้ 1 ช่องทาง 
คลิปนี้ผมจะพาดูงานก่อสร้าง ช่วง แยกพระประแดง บิ๊กซีสุขสวัดิ์ ถึงซอยสุขสวัสดิ์66
#สถานีพระประแดง  #รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
taq
อัพเดท สถานีพระประแดง,ช่วงแยกพระประแดง,บิ๊กซีสุขสวัสดิ์,สุขสวัสดิ์66 ,Mrt purple line,
งานก่อสร้าง สถานีพระประแดง,โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง,แยกพระประแดง,บิ๊กซีสุขสวัสดิ์
สถานีพระประแดง,รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ, วงแหวนกาญจนาภิเษก,
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด, ผู้รับจ้างงานก่อสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ, อาคารจอดรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร,  
สัญญาที่ 5, ช่วงดาวคะนอง ครุใน ,
ปิดเบี่ยงจราจร, ฝั่งขาเข้าและขาออก,ชิดเกาะกลาง,ถนนสุขสวัสดิ์,สามแยกพระประแดง, ซอยสุขสวัสดิ์ 37/8,  
หน้าบิ๊กซีสุขสวัสดิ์ ,จุดกลับรถ ซอยสูขสวัสดิ์66 ,ช่องจราจรฝั่งขาเข้า, ฝั่งขาออก,เจดีย์,ครุใน, 
ถนนเขื่อนขันธุ์,ตลาดพระประแดง,ซอย สุขสวัสดิ์ 66,,สถานีพระประแดง ,รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

รีวิว ถนนตัดใหม่ แยกไฟฉาย - นครปฐม


รีวิว ถนนตัดใหม่ แยกไฟฉาย - นครปฐม โครงการก่อสร้างถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 เป็นโครงการก่อสร้างถนนตัดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) และจังหวัดนครปฐม โดยต่อขยายถนนพรานนก จากแยกไฟฉาย ไปบรรจบถนนพุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ถนนพรานนก ตรงแยกไฟฉาย ตัดผ่านถนนราชพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑล สาย1 - ถนนกาญจนาภิเษก ความยาว 7.13 กิโลเมตร (เปิดใช้งานเมื่อปี 2558) ระยะที่ 2 ถนนกาญจนาภิเษก ตัดผ่านถนนพุทธมณฑล สาย 2 ความยาว 1.67 กิโลเมตร (เปิดใช้งานในปี. 2564) ระยะที่ 3 ถนนพุทธมณฑล สาย 2 - ถนนพุทธมณฑล สาย 3 ความยาว 3.4 กม (กำลังดำเนินการก่อสร้าง) ระยะที่ 4 ถนนพุทธมณฑล สาย 3 - ถนนพุทธมณฑล สาย 4 คลิปนี้พาชม ระยะที่ 3 ถนนพุทธมณฑล สาย 2 - ถนนพุทธมณฑล สาย 3 ความยาว 3.4 กม ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ ตั้งแต่จุดกลับรถ ถนนพุทธมณฑล สาย 2 จนไปถึงถนนพุทธมณฑลสาย 3 ผู้รับเหมาได้ดำเนินการ งานเสาเข็ม งานฐานราก งานโครงสร้างเสาสะพานยกระดับ และงานฐานรากสะพานยกระดับ และงานพื้นสะพาน ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 3 รูปแบบก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 8 ช่องจราจร ก่อสร้างสะพานข้ามคลอง ทางแยกต่างระดับบริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 3 และส่วนต่อเนื่อง เมื่อเปิดบริการครบทุกช่วง จากกรุงเทพ - นครปฐม จะเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรของพื้นที่ฝั่งธนบุรี ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนกาญจนาภิเษก ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ถนนเพชรเกษม ถนนบรมราชชนนี ถนนสายรองโดยรอบ เชื่อมโยงโครงข่ายถนนระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯโซนตะวันออก-ตะวันตกให้สมบูรณ์ สามารถเดินทางสะดวกรวดเร็ว #โครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย2ถนนพุทธมณฑลสาย3 #ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

คืบหน้า สถานีบางปะแก้ว รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาฯ


คืบหน้า สถานีบางปะแก้ว รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาฯ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 
ผู้รับจ้างงานก่อสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ อาคารจอดรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ 
สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง–ครุใน ทำการปิดเบี่ยงจราจร บนถนนสุขสวัสดิ์ ฝั่งขาออก ตั้งแต่บริษัทเจริญกิจการเคหะ -แยกยกระดับบางปะแก้ว ชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร 
 และฝั่งขาเข้า แยกยกระดับบางปะแก้ว ถึงซอยสุขสวัสดิ์ 6 ชิดเกาะกลาง 1 ช่องจราจร 
เพื่องานก่อสร้างสถานีบางปะแก้ว และทางวิ่งหลัก จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2570  ตลอด 24 ชั่วโมง มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง ตอนนี้ปิดเบี่ยงได้ครบทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ขั้นตอนเตรียมพื้นที่ขุดหลุมทำเสาเข็ม สถานี และทางวิ่งหลัก 
โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร (10 สถานี)
โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร (7 สถานี)
รวมทั้งสิ้น 23.6  กิโลเมตร (17 สถานี)
มีอาคารจอดแล้วจร (Park&Ride) 4 จุด ทั้ง 2 ฝั่งของ สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ #โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง  #สถานีบางปะแก้ว

วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม โซนนางเลิ้ง สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ - สะพานมัฆ...


ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม โซน4 นางเลิ้ง ช่วงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ - สะพานมัฆวานรังสรรค์
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมฯระยะทางรวม 4,480 เมตร 
คลิปนี้พาดูในโซนที่ 4 นางเลิ้ง (ช่วงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ - สะพานมัฆวานรังสรรค์) ระยะทาง 700 ม.ผู้รับเหมา บริษัท รัชรส จำกัด งบประมาณ 96,800,000 บาท    
มีการปรับปรุงเขื่อน ปูพื้นทางเท้าใหม่ ปลูกต้นไม้ สร้างทางขึ้น-ลง สำหรับรถวีลแชร์ 
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 6 โซน
โซน 1 ตลาดน้อย (ช่วงท่าเรือสี่พระยา - สะพานเจริญสวัสดิ์36) ระยะทาง 680 เมตร
โซน 2 หัวลำโพง (ช่วงสะพานเจริญสวัสดิ์36 - สะพานกษัตริย์ศึก) ระยะทาง 1,250 เมตร (สร้างเสร็จแล้ว)
โซน 3โบ้เบ้ (ช่วงสะพานกษัตริย์ศึก - สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์) ระยะทาง 450 เมตร
โซน 4 นางเลิ้ง ช่วงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์-สะพานมัฆวานรังสรรค์)ระยะทาง700 ม.
โซน 5 สถานที่ราชการ (ช่วงสะพานมัฆวานรังสรรค์ - สะพานเทเวศรนฤมิตร) ระยะทาง 700 เมตร
โซน 6  เทเวศร์ (ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือเทเวศร์) ระยะทาง 700 เมตร
#ปรับโฉมคลองผดุงฯ  #นางเลิ้ง

วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

อัพเดท สถานีดาวคะนอง โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วง...


อัพเดท สถานีดาวคะนอง โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
วงแหวนกาญจนาภิเษก
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
ความก้าวหน้าเดือน เมษายน 2566  งานโยธา 10.41%
รับจ้างก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ก่อสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ อาคารจอดรถไฟฟ้า และอาคารจอดแล้วจร  สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง – ครุใน  ได้ทำการ ปิดเบี่ยงจราจรบนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฝั่งขาเข้าและขาออก 1ช่องจราจรชิดเกาะกลาง  บริเวณหน้าอาคารพลอยเกษม ถึง ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 41 ระยะทางประมาณ 300 เมตร เพื่องานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งหลัก และสถานีดาวคะนอง ได้เริ่มปิดเบี่ยงตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566  – 20 ตุลาคม 2570 มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กม. จำนวน 7 สถานี #สถานีดาวคะนอง   #โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง  #mrtpurpleline

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

โครงการก่อสร้างทางคู่ขนานวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงถนนสุขสวัสดิ์ - บ...


โครงการก่อสร้างทางคู่ขนานวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงถนนสุขสวัสดิ์ - บางขุนเทียน
คลิปนี้พาชม การก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3901 และ 3902 เป็นถนนที่สร้างอยู่ 2 ฝั่งของ ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก ด้านทิศใต้
เริ่มจากใกล้ด่านเก็บค่าผ่านทางบางครุ ผ่านแยกประชาอุทิศ ข้ามคลองบางมด ข้ามถนนบางขุนเทียนชายทะเล จนถึงปากทางถนนพระรามที่ 2 ระยะทาง 13.600 กม.
เริ่มต้นสัญญา วันที่11 กันยายน 2563 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 27 กุมภาพัน 2566 ระยะเวลา 900 วัน วงเงินก่อสร้าง 582,703,000 บาท ผู้รับเหมาก่อสร้าง ช.ทวีก่อสร้างจำกัด
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร หรือ เรียกกันว่า ถนนกาญจนาภิเษก ระยะทางส่วนใหญ่เป็นทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร ผ่านพื้นที่ของจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมระยะทาง168 กิโลเมตร  #ทางหลวงหมายเลข3902 #ทางหลวงหมายเลข3901 #ต่างระดับบางขุนเทียน

วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ถนนตัดใหม่ วิภาวดีฯ ทะลุ พหลโยธิน เทพรักษ์ เชื่อมรถไฟฟ้า


ถนนตัดใหม่ วิภาวดีฯ  ทะลุ พหลโยธิน เทพรักษ์ เชื่อมรถไฟฟ้า 
โครงการก่อสร้างถนนตัดใหม่ จากซอยวิภาวดีรังสิต 72 ถึงถนนพหลโยธินซอย 50 บริเวณแยกเทพรักษ์
ใกล้กับบิ๊กซีสะพานใหม่ มีเขตทางกว้าง40เมตร ขนาด6ช่องจราจร ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร
แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณถนนวิภาวดีรังสิตซอย72 วิ่งตรงจนถึงคลองลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตามแนวคลองประมาณ 500เมตร เลี้ยวขวาสร้างสะพานข้ามคลอง ตรงไปจนถึงถนนพหลโยธินซอย 50 (บิ๊กซี) ก่อสร้างสะพานยกระดับข้ามแยกไปเชื่อมถนนเทพรักษ์  และช่วงปากซอยวิภาวดีซอย 72 ฝั่งขาเข้า
ก็จะมี สะพานรับรถจากถนนพหลโยธิน และถนนเทพรักษ์ ข้ามไปยังถนนเทวฤทธิ์พันลึก หรือว่าช่องทาง ทกท9 เข้าสนามบินดอนเมืองได้ สำหรับการก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่ 
สัญญาที่ 1 : ถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณซอยวิภาวดีรังสิต 72 ถึงสะพานข้ามคลองลาดพร้าว ระยะทาง 1.910 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 6 ช่องจราจร พร้อมทางเท้า ทางจักรยาน 
โดยมีบริษัท สระหลวงก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ระยะเวลาก่อสร้าง 720 วัน เริ่มต้นสัญญา 22 ก.พ. 64 สิ้นสุดสัญญา 15 ก.พ. 66  
สัญญาที่ 2 : ช่วงจากสะพานข้ามคลองลาดพร้าว ถึงถนนเทพรักษ์ เป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร ข้ามคลองลาดพร้าว จนถึงแยกเทพรักษ์ ลอดใต้ทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวไปลงที่ถนนเทพรักษ์ ก่อนถึงสะพานข้ามคลองลำผักชี ระยะทาง 1.16 กิโลเมตร โดยมีบริษัท พรรณีวรกิจก่อสร้างและขนส่ง จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ระยะเวลาก่อสร้าง 720 วัน เริ่มต้นสัญญา 17 ธ.ค. 63 สิ้นสุดสัญญา 6 ธ.ค. 65 
#ตัดถนนใหม่    #ถนนเทพรักษ์

วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

บ้านมั่นคง ชุมชนตลาดหลักสี่ คลองเปรมประชากร หลังสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลัก...


บ้านสวย น้ำใส ภูมิทัศนืใหม่  ชุมชนตลาดหลักสี่ คลองเปรมประชากร
บ้านมั่นคง ชุมชนตลาดหลักสี่ คลองเปรมประชากร หลังสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพฯ
บ้านมั่นคง ชุมชนตลาดหลักสี่ คลองเปรมประชากร หลังสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพฯ
บ้านมั่นคงชุมชนตลาดหลักสี่" เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ชุมชนตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  การดำเนินงานก่อสร้างบ้านมั่นคงชุมชนริมคลองเปรมประชากร ณ ชุมชนตลาดหลักสี่ การก่อสร้างบ้านใกล้แล้วเสร็จ พร้อมส่งมอบบ้านใหม่ให้สมาชิก ได้เข้าอยู่บ้านหลังใหม่จำนวน 88 หลัง 
โดยในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ การสร้างบ้านจะแล้วเสร็จพร้อมส่งมอบให้กับสมาชิก จำนวน 50 หลัง และคาดว่าในเดือน กันยายน 2565 จะส่งมอบบ้านเพิ่มอีกจำนวน 38 หลังตามแผนงาน ชุมชนได้รับมอบทะเบียนบ้านจากสำนักงานเขตหลักสี่เรียบร้อยแล้ว คงเหลือระบบสาธารณูปโภคบางส่วน และจะดำเนินการไปพร้อมๆ กับการสร้างเขื่อนของกรุงเทพมหานคร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โครงการก่อสร้างบ้านมั่นคงและก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำคอนกรีตในคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากร เป็นโครงการที่รัฐบาลมีนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ  ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2554 โดยการรื้อย้ายบ้านเรือนที่รุกล้ำคลอง เพื่อก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำคอนกรีตในคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากร เพื่อให้การระบายน้ำในลำคลองมีประสิทธิภาพ  โดยกรุงเทพมหานครรับผิดชอบการสร้างเขื่อนฯ และให้ พอช.จัดทำแผนงานรองรับด้านที่อยู่อาศัยของชาวชุมชนริมคลอง เริ่มดำเนินการในคลองลาดพร้าวในปี 2559  และคลองเปรมประชากรดำเนินการในปี 2562 #ชุมชนตลาดหลักสี่   #คลองเปรมประชากร

รื้อ สายไฟสายสื่อสารลงดิน และจัดระเบียบพื้นที่ ซอยสุขุมวิท


รื้อ สายไฟสายสื่อสารลงดิน และจัดระเบียบพื้นที่ซอยสุขุมวิท
พาเดินดูในซอยสุขุมวิท13 ซึ่งการไฟฟ้ากำลังดำเนินการ นำสายไฟสายสื่อสาร ลงดิน และจัดระเบียบสายสื่อสาร การไฟฟ้านครหลวงร่วมกับภาคีเครือข่าย ร่วมจัดระเบียบสายสื่อสาร ตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม ลดอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยในปี 2566 การไฟฟ้านครหลวง มีแผนบูรณาการจัดระเบียบสายสื่อสาร รวมถึงนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ในพื้นที่ซอยสุขุมวิท ฝั่งเลขคู่ ตั้งแต่ ซอยสุขุมวิท 2 - 42 ตั้งแต่ ซอยสุขุมวิท 11 - 19 รวมถึงพื้นที่ซอยต่าง ๆ บริเวณใกล้เคียง
รวมระยะทาง 55.844 กิโลเมตร #นำสายสื่อสารลงใต้ดิน  #ถนนสุขุมวิท

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ล่าสุด ปรับปรุง ถนน ทางเท้า ข้างอุโมงค์ทางลอด รัชดา ราชพฤกษ์


ล่าสุด ปรับปรุง ถนน ทางเท้า ข้างอุโมงค์รัชดา ราชพฤกษ์
เป็นโครงการที่ต้องมีการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคที่เป็นอุปสรรค และก่อสร้างให้สมบูรณ์ไปพร้อมกับโครงการฯ ได้แก่ ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง 
ท่อประธานและท่อจ่ายน้ำของการประปานครหลวง เป็นเหตุให้ทางเท้าและถนนระดับราบข้างทางลอด ได้รับความเสียหาย จึงมีความจำเป็นต้องรื้อทางเท้าและผิวจราจรเดิมที่เสียหายออกและก่อสร้างทางเท้าและผิวจราจรข้างทางลอดใหม่ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับสะดวก กรุงเทพมหานครได้ประสานความร่วมมือกับ การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง และสถานีตำรวจนครบาล ในการบริหารจัดการพื้นที่ การปิดเบี่ยงจราจร การปรับวิธีการทำงาน เพื่อลดผลกระทบด้านการจราจรให้กับประชาชน
โดยสำนักการโยธาได้ประสานความร่วมมือกับการไฟฟ้านครหลวง และการประปานครหลวงเร่งรัดผู้รับจ้าง เพื่อให้เสร็จภายในปี 2566 นี้
#อุโมงค์รัชดาราชพฤกษ์ #ปรับปรุงถนนอุโมงค์รัชดาราชพฤกษ์

วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ล่าสุด ปรับปรุงสะพานข้ามแยกบางกะปิ ช่วงแยกบางกะปิ - นิด้า ถนนเสรีไทย|ทาง...


ล่าสุด ปรับปรุงสะพานข้ามแยกบางกะปิ ช่วง แยกบางกะปิ-นิด้า ถนนเสรีไทย|ทางเดินลอยฟ้า(skywalk)โครงการก่อสร้างปรับปรุงสะพานข้ามแยกบางกะปิ ช่วง 3แยกบางกะปิ-นิด้า ถนนเสรีไทย เป็นการปรับปรุงสะพานข้ามแยกบางกะปิให้สอดคล้องกับการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมกับการก่อสร้างทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) ปัจจุบันโครงการมีผลงาน 37.05% ล่าช้ากว่าแผนงาน 56.87% เนื่องจากอุปสรรคการรับมอบพื้นที่ก่อสร้างจาก รฟม.ล่าช้าและการแก้ไข แบบให้เหมาะสมกับสภาพการก่อสร้างจริง กทม.มีแผนที่จะเปิดผิวจราจร บนสะพานได้ในวันที่ 9 กันยายน 2566 และเปิดให้ใช้ทางเดินลอยฟ้า Skywalkในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 #ปรับปรุงสะพานข้ามแยกบางกะปิ 

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ตำแหน่งสถานี คืนผิวจราจร แยกลาดพร้าว - บางกะปิ...


เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ตำแหน่งสถานี คืนผิวจราจร แยกลาดพร้าว - บางกะปิ  MRT yellow line
รฟม.กำลังเร่งคืนผิวจราจรบนถนนลาดพร้าว ช่องขวาชิดเกาะกลางเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
พาชมงานก่อสร้างถนนลาดพร้าว ตั้งแต่สถานีภาวนา สถานีโชคชัย4 สถานีลาดพร้าว71 สถานีลาดพร้าว83 สถานีมหาดไทย สถานีลาดพร้าว101 สถานีบางกะปิ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง mrt yellowline ระยะทางรวมประมาณ 30 กม. มี 23 สถานี 
ความก้าวหน้าโดยรวม ณ เดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ 99.02% แบ่งเป็น ความก้าวหน้างานโยธา 98.99% 
และความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 99.07% 
บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ผู้รับสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ได้ทำหนังสือถึง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่างานก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการ โดยทาง รฟม. จะทำหน้าที่ตรวจรับงานแล้ว ยังมีวิศวกรอิสระ เข้าร่วมตรวจสอบ และประเมินความพร้อมของงานโยธา งานเดินรถ และงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดของโครงการฯ หากตรวจรับแล้วไม่พบข้อบกพร่องหรือปัญหาใดๆ 
และมีความปลอดภัย ก็สามารถเปิดให้บริการได้ ซึ่งประชาชนคงต้องรออีกสักระยะ ให้ทาง รฟม.ตรวจรับงาน #เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง   #mrtyellowline

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ล่าสุด แบงค็อก มอลล์ Bangkok Mall ห้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทย


ล่าสุด แบงค็อก มอลล์ Bangkok Mall ห้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทย 
แบงค็อก มอลล์ Bangkok Mall เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสม
ตั้งอยู่บนถนนเทพรัตน ช่วงกิโลเมตรที่ 0-1 ตรงข้ามศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บริหารงานโดยกลุ่มเดอะมอลล์ โดยเมื่อเปิดให้บริการ ศูนย์การค้าและสนามกีฬาในร่มจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 100 ไร่ มูลค่าการลงทุนรวม 50,000 ล้านบาท ประกอบด้วยอาคารศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม อาคารที่อยู่อาศัยให้เช่าหรือเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ อาคารสำนักงานให้เช่า การจัดสรรพื้นที่แบ่งเป็น ห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต และยังมีโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ 15 โรง ประกอบไปด้วยโรงภาพยนตร์มาตรฐาน 14 โรง และโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ 1 โรงแรม แบงค็อก อารีนา ฮอลล์แสดงคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิง ความจุ 16,000 ที่นั่ง สวนสนุก สวนน้ำ อาคารจอดรถ รับได้สุด 8,000 คัน อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย สำนักงาน โรงแรม กำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการบางส่วนภายในปี พ.ศ. 2567 #แบงค็อกมอลล์ #BangkokMall 

วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ล่าสุด งานก่อสร้างหน้าศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ/สะพานเลี้ยวเข้าห้าง/s...


ล่าสุด งานก่อสร้างหน้าศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ/สะพานเลี้ยวเข้าห้าง/skywalk/สะพานข้ามแยกบางกะปิ ได้ทำการรื้อสะพานข้ามแยกบางกะปิ เริ่มรื้อสะพาน ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2563 
ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ต้องทำการก่อสร้างเส้นทางจากหน้าแมคโครลาดพร้าว ไปทางแยกลำสาลี 
จึงต้องมีการรื้อสะพานข้ามแยกบางกะปิ และสะพานทางเลี้ยวเข้าศูนย์การค้าเดอะมอลล์บางกะปิ เพื่อเคลียร์จุดทับซ้อนกับเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้า
เมื่อก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าเสร็จแล้ว จึงจะดำเนินการสร้างคืน คลิปนี้จะพาชม 
งานก่อสร้าง สะพานข้ามแยกบางกะปิ ช่วงหน้าศูนย์การค้า the mall 
งานก่อสร้าง skywalk สถานีบางกะปิ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เชื่อมศูนย์การค้า the mall
งานก่อสร้าง สะพานเลี้ยวรับรถเข้าศูนย์การค้า the mall
การก่อสร้างสะพานข้ามแยกบางกะปิ แบ่งเป็น 2ช่วง
ช่วงที่ 1 หน้าศูนย์การค้าตะวันนา ถึง3แยกบางกะปิ ทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะทำการรื้อ และสร้างใหม่ โดยสร้างทางรถไฟฟ้าอยู่ด้านบน และสะพานรถยนต์อยู่ถัดลงมา ใช้เสาต้นเดียวกัน ช่วงที่ 2 กทมจะปรับปรุงและซ่อมแซม ตั้งแต่ 3แยกบางกะปิ - ถนนเสรีไทย ถึงสถาบันบันฑิต พัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) 
#สะพานข้ามแยกบางกะปิ   #รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สถานีบางปะกอก ล่าสุด รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ (ถนนวงแหวนกาญจน...


สถานีบางปะกอก รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ (ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก) MRT PURPLE LINE
ตั้งอยุ่ใกล้ตลาดสดบางปะกอก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างการก่อสร้างในสัญญาที่ 5 ฃ่วงดาวคะนอง-ครุใน 
ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร ในช่องจราจรฝั่งด้านขวาชิดเกาะกลาง ทั้งในด้านฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก ตั้งแต่จุดกลับรถซอยสุขสวัสดิ์ 25 ถึงหน้าศูนย์การค้า บิ๊กซีบางปะกอก ทำให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง 
สถานีบางปะกอก มีทางขึ้น ลงสถานีและจุดจอดรถ ซึ่งต่อเชื่อมถึงกันตั้งอยุ่ในฝั่งขาเข้า และฝั่งขาออกของถนนสุขสวัสดิ์ โดยมีตำแหน่งดังนี้
ในฝั่งขาออก ช่องทางเข้า-ออกที่ 1ใกล้ซอยสุขสวัสดิ์ 23 มีบันไดธรรมดา บันไดเลื่อน ลิฟท์โดยสาร
ในฝั่งขาเข้า ช่องทางเข้า-ออกที่ 2 ข้างธนาคารไทยพาณิชย์ มีบันไดธรรมดา บันไดเลื่อน ลิฟท์โดยสาร
ล่าสุด ผู้รับจ้างได้นำเครื่องจักร ขุดดินทำเสาเข็ม เตรียมทำการหล่อเสาตอม่อสถานีในพื้นที่ และเริ่มมีการก่อสร้างอาคารจอดแล้วจรในด้านฝั่งขาออกของถนนสุขสวัสดิ์ 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 6 สัญญา ได้แก่ 
สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ วงเงิน 19,430 ล้านบาท ก่อสร้างโดย กิจการร่วมค้าซีเคเอสที-พีแอล (ช.การช่าง และซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น) 
สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้าฯ วงเงิน 15,878 ล้านบาท ก่อสร้างโดย กิจการร่วมค้าซีเคเอสที-พีแอล, 
สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้าฯ-สะพานพุทธ วงเงิน 15,109 ล้านบาท ก่อสร้างโดย กิจการร่วมค้าไอทีดี-เอ็นดับบลิวอาร์ เอ็มอาร์ที (อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และเนาวรัตน์พัฒนาการ)
สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง วงเงิน 14,982 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), 
สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุใน วงเงิน 13,094.80 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 
สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนวเส้นทางโครงการ วงเงิน 3,589 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 
ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2565 ระยะเวลา 2,005 วัน คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ภายในปี 2570
#รถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ #สถานีบางปะกอก #MRTPurpleLine

วัน แบงค็อก ล่าสุด one bangkok มิกซ์ยูสแสนล้านของไทย


ปรับปรุงสวนคลองช่องนนทรี เฟส 2 ถนนสุรวงศ์ - ถนนสาทร Suan Klong Chong Nonsi 2
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรีและการพัฒนาสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี โดยโครงการดังกล่าวมีมูลค่ารวม 980 ล้านบาท ระยะทางรวม 4.5 กม. แบ่งการดำเนินการเป็น 5 ช่วง/สัญญา ที่ผ่านมา กทม.เปิดประมูลโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรีไปแล้ว 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1-3 ในช่วงที่ 4-5ได้ยกเลิกการประมูลไป
ช่วงที่ 1.จากถนนสุรวงศ์-ถนนสาทร ระยะทาง 800 เมตร งบประมาณ 80 ล้านบาท บริษัท วิวัฒน์พล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 
ช่วงที่ 2.จากถนนสาทร-ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 ระยะทาง 200 เมตร งบประมาณ 80 ล้านบาท โดยบริษัท ทริโอ ไบรท์ จำกัด (เสร็จและเปิดใช้งานแล้ว)
ช่วงที่ 3.จากซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 ถึงถนนจันทน์ ระยะทาง 1.6 กม. งบประมาณ 370 ล้านบาท กิจการร่วมค้า DW 
ช่วงที่ 4.จากถนนจันทน์ถึงถนนรัชดาภิเษก ระยะทาง 1 กม. งบประมาณ 250 ล้านบาท (ยกเลิกประมูล)
ช่วงที่ 5.จากถนนรัชดาภิเษกถึงถนนพระราม 3 ระยะทาง 900 เมตร งบ 200 ล้านบาท (ยกเลิกประมูล) สาเหตุการยกเลิกช่วงที่ 3 และ4 เนื่องจากมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว
#โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี #คลองช่องนนทรี

วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สถานีครุใน งานหล่อเสา รถไฟฟ้าสายสีม่วง MRT purple line พฤษภาคม 2566


สถานีครุใน งานหล่อเสา รถไฟฟ้าสายสีม่วง MRT purple line
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน ผู้รับจ้าง บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวลีอปเมนต์ ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจรเพิ่มเติม  บนถนนสุขสวัสดิ์ ตั้งแต่หน้าบิ๊กซีสุขสวัสดิ์  ถึงซอยสุขสวัสดิ์ 47/1 มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง สถานีครุใน รถไฟฟ้าสายสีม่วง รูปแบบสถานียกระดับ ตั้งอยุ่บริเวณซอยสุขสวัสดิ์ 70 
ล่าสุด ทางผู้รับจ้างได้นำเครื่องจักรเข้าพื้นที่ขุดหลุมทำเสาเข็ม ได้มีการหล่อเสาบริเวณสถานีครุในไปบ้างแล้ว การจราจรติดขัดมากโดยเฉพาะเวลาเร่งด่วน โปรดเลี่ยงเส้นทางไปใช้เส้นทางอื่นจะได้รับความสะดวก โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ  7 สถานี มีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง 
ได้แก่ สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ 
ล่าสุด ภาพรวมงานก่อสร้างเดือน เมษายน 2566 งานโยธา  10.41%
#สถานีครุใน   #รถไฟฟ้าสายสีม่วง  #MRTpurpleline
taq

วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สร้างทางยกระดับเชื่อมภาคใต้ มอเตอร์เวย์ m82 ช่วงเอกชัย บ้านแพ้ว


ทางยกระดับเชื่อมภาคใต้ มอเตอร์เวย์ m82 ช่วงเอกชัย บ้านแพ้ว
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว (motorway m82)
แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ช่วงบางขุนเทียน - เอกชัย และระยะที่ 2 เอกชัย -บ้านแพ้ว คลิปนี้พาชมใน ระยะที่ 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว เริ่มจากหลักกิโลเมตรที่ 20+295 ใกล้จุดตัดถนนเอกชัย ผ่าน ด่านฯ มหาชัย 2 ด่านฯ สมุทรสาคร1 ด่านสมุทรสาคร2 สิ้นสุดที่ด่านบ้านแพ้ว หลักกิโลเมตรที่ 36+645
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว (motorway m82)
ในระยะที่ 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว เริ่มต้นจากตัวเมืองสมุทรสาคร และไปสิ้นสุดที่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร รวมระยะทางประมาณ 16.350 กิโลเมตร โดยออกแบบเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่อง จราจร ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมจากกองทุนมอเตอร์เวย์ แบ่งเป็น 10สัญญา คาดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ในปี 2568 #ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบางขุนเทียนบ้านแพ้ว  #motorwayM82 #มอเตอร์เวย์เอกชัยบ้านแพ้ว

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ทางด่วน พระราม 3 ดาวคะนอง ช่วงพระราม 2 - สะพานคู่ขนานพระราม9 (พฤษภาคม 2566)


ทางด่วน พระราม 3 ดาวคะนอง ช่วงพระราม 2 - สะพานคู่ขนานพระราม9 (พฤษภาคม 2566) 
คืบหน้าทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ซ้อนทับทางพิเศษด่วนเฉลิมมหาคร จากโรงพยาบาลบางปะกอก 9 - ถนนราษฎร์บูรณะ 
ระยะทาง 5 กม. คลิปนี้เริ่มต้น รพ.บางปะกอก9 เลี้ยวขวาผ่านโค้งต่างระดับดาวคะนอง ตรงนี้จะก่อสร้างเป็นทางยกระดับซ้อนทางด่วนเฉลิมมหานคร ช่วงกิโลเมตรที่ 11+600 พอถึงด่านดาวคะนอง จะมีการสร้างด่านยกระดับฝั่งเข้าเมือง ขนาน 10ช่องทาง ผ่านถนนประชาอุทิศ สิ้นสุดถนนราษฎร์บูรณะ รูปแบบการก่อสร้างบริเวณซ้อนทับ ทางด่วนเฉลิมมหานคร ช่วงต่างระดับดาวคะนอง-ถนนราษฎร์บูรณะ โครงสร้างส่วนบน เป็นคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องหล่อสำเร็จ  ขนาด 6ช่องจราจร โครงสร้างส่วนล่าง เสาต่อม่อแบบคู่ ช่วงข้ามถนนสุขสวัสดิ์ แนวเส้นทางจะยกระดับข้ามทางรถไฟสายสีม่วงช่วง เตาปูน ราษฎร์บุรณะ มีการปรับปรุงด่านสุขสวัสดิ์ เพิ่มจำนวนช่องจัดเก็บค่าผ่านทาง ปรับปรุงทางขึ้นลง ซึ่งในอนาคตจะใช้ขึ้นได้ทั้ง 2 สะพาน ในสัญญาที่ 3 ตั้งแต่ช่วง รพ.บางปะกอก9-ถนนราษฎร์บูรณะ ผู้รับจ้างกิจการร่วมค้า ไอทีดี-วีซีบี ประกอบด้วยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด และบริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด มีระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญา 1,020 วัน
ความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือน เมษายน 2566 แผนงาน 27.76 ผลงานทำได้ 27.79% เร็วกว่าแผน 0.03% 
#ด่วนพระราม3ดาวคะนองวงแหวนตะวันตก  

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

มอเตอร์เวย์ สายพระราม 2 (M82)ช่วงบางขุนเทียน เอกชัย (พฤษภาคม 2565)


มอเตอร์เวย์ สายพระราม 2 (M82)ช่วงบางขุนเทียน เอกชัย (พฤษภาคม 2565)
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข m82 หรือ motorway m82 บางขุนเทียน บ้านแพ้ว มีจุดเริ่มต้นบริเวณด่านบางขุนเที่ยน ใกล้ทางด่วนวงแหวนกาญจนาฝั่งทิศตะวันตก จุดเชื่อมต่อ ทางพิเศษพระราม3 ดาวคะนอง วงแหวนตะวันตกได้โดยตรง เป็นทางยกระดับ 6 ช่องจราจร ระยะทาง 10.564 กิโลเมตร มีจุดขึ้น - ลง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ด่านพันท้ายนรสิงห์ และด่านมหาชัย 1 ปัจจุบันกรมทางหลวงกำลังดำเนินการก่อสร้างโดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว M82 ก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 6ช่องจราจร บนเกาะกลางทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม2) จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อได้โดยตรงกับโครงการทางพิเศษ สายพระราม 3 ดาวคะนอง วงแหวนด้านตะวันตก บริเวณแยกต่างระดับบางขุนเทียน หลักกิโลเมตร 11+959 ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยมีด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ด่านพันท้ายนรสิงห์ ด่านมหาชัย1 ด่านมหาชัย 2 ด่านสมุทรสาคร 1 ด่านสมุทรสาคร 2 สิ้นสุดที่ ด่านบ้านแพ้ว หลักกิโลเมตร 36+645 พื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทางรวมประมาณ 25 กม. ดำเนินการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ช่วงบางขุนเทียน - เอกชัย   ช่วงที่ 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว เมื่อโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการ จะส่งผลให้การเดินทางระหว่างกรุงเทพและปริมณฑล เชื่อมต่อลงสู่ภาคใต้ มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น #การทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง #บางขุนเทียนบ้านแพ้ว #m82

วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สถานีทะเลสาปเมืองทองธานี ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู MRT Pink line


สถานีทะเลสาปเมืองทองธานี ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู MRT Pink line คลิปพามาดู สถานีทะเลสาปเมืองทองธานี MT-02 ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู  ส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี รูปแบบเป็นโครงสร้างยกระดับ ประกอบไปด้วย 2 สถานี ที่เชื่อมต่อมาจาก สถานีเมืองทองธานี ของโครงการรถไฟฟ้าสีชมพู ช่วงแคราย มีนบุรี ก่อนจะเลี้ยวเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานีไปตามถนนแจ้งวัฒนะ  ปากเกร็ด 39 ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี และวิ่งต่อไปสิ้นสุด ที่ทะเลสาบเมืองทองธานี วงเงินลงทุน 4,100 ล้านบาท แนวเส้นทางส่วนต่อขยาย จะเชื่อมต่อกับ สถานีเมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นสถานีที่มี 3 ชานชาลา โดยมีเส้นทางปกติ 2 ชานชาลา (สีแดง) และมีส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี 1 ชานชาลา (สีน้ำเงิน)
แนวเส้นทางส่วนต่อขยาย จะเลี้ยวเข้าซอยแจ้งวัฒนะ - ปากเกร็ด 39 ผ่านสถานีอิมแพ็คเมืองทองธานี ที่ตั้งอยู่ตรงวงเวียน ถนนป๊อบปูล่า วิ่งต่อไปสิ้นสุดที่สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี  บริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี  รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร จะใช้ร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี 
ความก้าวหน้าเดือนเมษายน 2566 งานโยธา 25.24%  งานระบบไฟฟ้า10.84%  ภาพรวม 20.41% #สถานีทะเลสาปเมืองทองธานี  #รถไฟฟ้าสายสีชมพู
#สถานีทะเลสาปเมืองทองธานี    #รถไฟฟ้าสายสีชมพู

อัพเดท ด่วนพระราม3 ดาวคะนอง วงแหวนตะวันตก ช่วงถนนพระราม 2


อัพเดท ด่วนพระราม3 ดาวคะนอง วงแหวนตะวันตก ช่วงถนนพระราม 2 
พาชมงานก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ซึ่งมี 2 สัญญา คือสัญญาที่1 และ 2 งานก่อสร้าง ตำแหน่งทางขึ้นลง
เริ่มจากโรงพยาบาลบางปะกอก 9 ไปจนถึงต่างระดับบางขุนเทียน
โครงการก่อสร้างทางด่วน สายพระราม 3-ดาวคะนอง-ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก มีระยะทางรวม 18.7 กม. เป็นทางยกระดับอยุ่บริเวณเกาะกลางของถนนพระราม 2 
จุดเริ่มต้นโครงการหลักกิโลเมตรที่ 13+000 ของถนนพระราม 2 ใกล้ต่างระดับบางขุนเทียน รูปแบบเป็นทางยกระดับขนาด 6ช่องจราจร ซ้อนทับตามเกาะกลางถนนพระราม 2 มาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทางประมาณ 11.6 กม.จนถึงแยกต่างระดับดาวคะนอง แล้วเลี้ยวขวาซ้อนทับด้านบนกับแนวทางพิเศษเฉลิมมหานคร ระยะทางประมาณ 7.1กม. จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการที่ต่างระดับบางโคล่
ซึ่งเส้นทางจะบรรจบกับทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัชในฝั่งพระนคร 
ช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีการสร้างสะพานขึงคุ่ขนานกับสะพานพระราม9เดิม ขนาด 8ช่องจราจร 
สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางยกระดับ ขอเริ่มตั้งแต่ รพ.นครธน - ต่างระดับบางขุนเทียน ระยะทาง 6.3 กม.
มีกิจการร่วมค้ายูเอ็น-ซีซี วงเงิน 7,350 ล้านบาท 
สัญญาที่ 2 ต่างระดับดาวคะนอง- รพ.นครธน ระยะทาง 5.3 กม.
มีกิจการร่วมค้าซีทีบี (บริษัท ไชน่าฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง คัมปานี ลิมิเต็ด, บริษัท ทิพากร จำกัด และบริษัท บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง จำกัด) วงเงิน 6,440 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้ประชาชนได้ใช้ฟรีเป็นบางส่วน
#ทางพิเศษสายพระราม3 #ทางด่วนสายพระราม2

วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

โครงการบ้านมั่นคง คลองเปรมประชากร หลังวัดดอนเมือง กรุงเทพฯ


โครงการบ้านมั่นคง คลองเปรมประชากร หลังวัดดอนเมือง กรุงเทพฯ
ชุมชนที่เข้ามาอาศัยปลูกบ้านรุกล้ำริมคลองเปรมประชากร หลังวัดดอนเมือง เขตดอนเมืองกรุงเทพ ในอดีตคนภายนอกเมื่อมองเข้ามาในชุมชน 
ก็คือสภาพบ้านสลัมริมคลอง ที่เข้ามาบุกรุกที่สาธารณะ บ้านไม้เก่าโทรมๆ คุณภาพชีวิตไม่ค่อยดีเท่าไร ทางเข้าออกเป็นซอยเล็กแคบ เกิดอาชญากรรมได้ง่าย
มีขยะมูลฝอย น้ำสกปรก เนื่องจากทิ้งสิ่งของลงคลอง บ้านริมคลองเปรมประชากร เป็นที่อาศัยของ ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ และชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ ซึ่งรื้อบ้านทั้งหมดรวม 168หลัง ได้เดินหน้าก่อสร้างเขื่อน เริ่มตอกเข็มเขื่อนชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ เมื่อกรกฎาคม2565 ตามนโยบายจัดการน้ำ ไม่ท่วม-ลดเร็ว 
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยความร่วมมือจากสำนักการระบายน้ำ สำนักงานเขตดอนเมือง  สถาบันพัฒนาชุมชน (พอช)และกองทัพภาคที่ 1ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ หลังวัดดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมชนแรกในเขตดอนเมือง
 ที่มีการก่อสร้างบ้านตามแนวทางโครงการบ้านมั่นคง ได้มีการก่อสร้างเขื่อน พร้อมสร้างบ้านมั่นคง เมื่อทางภาครัฐได้เข้ามาปรับปรุง มีการสร้างเขื่อน ป้องกันน้ำท่วม ปรับสภาพน้ำในคลอง ได้เข้ามาทำความเข้าใจกับชาวชุมชน ถึงการทำงาน มีการรื้อบ้านที่รุกล้ำคลอง และผิดกฎหมาย พร้อมปลูกบ้านหลังใหม่ให้ชาวชุมชนได้อยู่อาศัยอย่างถูกต้อง โดยชาวชุมชนได้รวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์ ผ่อนบ้านเป็นรายเดือน และทำสัญญาเช่าที่ดิน ตัวบ้าน 2 ชั้นราคาประมาณ 490,000บาท
ล่าสุด ได้ก่อสร้างบ้านเสร็จและได้รับมอบทะเบียนบ้านไปเป็นบางส่วนแล้ว
คลองสวย น้ำใส บ้านมั่นคง ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ และชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ #โครงการบ้านมั่นคง  #วัดดอนเมือง

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สถานีวงเวียนใหญ่ การเสนอขายห้างเมอรี่คิงส์ รับรถไฟฟ้า MRT purple line


สถานีวงเวียนใหญ่ จุดเชื่อมการเดินทางสำคัญย่านฝั่งธนฯ MRT purple line

ล่าสุด สถานีวงเวียนใหญ่ เริ่มขั้นตอนงานก่อสร้างกำแพงกันดิน

ผู้รับจ้าง บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ,สัญญาที่ 4,สะพานพุทธ,ดาวคะนอง,ครุใน, 

โครงการรถไฟฟ้า,สายสีม่วง, ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาฯ ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจรบนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ชิดทางเท้า

ฝั่งขาเข้าปิดเบี่ยงตั้งแต่ ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสินซอย 6-2 เหลือ 2 ช่องทาง และต่อจากซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 2-วงเวียน ใช้ได้ 4ช่องทาง

ฝั่งขาออก ปิดเบี่ยงตั้งแต่ วงเวียน - ตรงข้ามซอย6 เหลือทางวิ่ง 2 ช่องทาง

เพื่อดำเนินงานก่อสร้างกำแพงกันดิน สถานีวงเวียนใหญ่ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

ระหว่างวันที่ 2 พฤษภาคม - 2 ธันวาคม 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง โดยผู้ใช้ทางฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก สามารถสัญจรได้ฝั่งละ 2 ช่องทาง 

ข้อมูล Facebook โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ 

ประกาศขายห้างเมอรี่คิงส์ โดยเมื่อหลายปีก่อนมีการนำเสนอขายมาแล้ว แต่ยังไม่มีผู้สนใจ ทำให้ในครั้งนี้มีการเสนอโมเดลพัฒนาโครงการใหม่ให้ผู้สนใจด้วย เช่น พัฒนาเป็นเมดิคัลฮับ เพราะทำเลที่ตั้งของห้างเมอรี่คิงส์ มีรถไฟฟ้า 2 สายพาดผ่าน ทั้งบีทีเอสและmrt โดยสถานีวงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นสถานีใต้ดิน จะแล้วเสร็จในปี 2571-2572

ย้อนวันวานห้างสรรพสินค้า “เมอร์รี่คิงส์” ที่ติดหูคนไทยมายาวนานกว่า 30 ปี บริหารงานโดย บริษัท เมอร์รี่คิงส์ดีพาร์ทเม้นต์สโตร์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี 2520 เริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆ เปิดร้านขายผ้าอยู่หลังบูรพา ก่อนจะขยายธุรกิจสู่ห้างสรรพสินค้าเมอร์รี่คิงส์ มาพร้อมสโลแกน“เมอร์รี่คิงส์ มีทุกสิ่งให้เลือกสรร”และใช้เวลาไม่นาน สามารถเปิดบริการถึง 6 สาขากระจายในกรุงเทพฯ และชานเมือง จาก 6 สาขาในวันวาน ในวันนี้ทุกสาขาปิดกิจการไปหมดแล้ว เหลือเพียงภาพจำในอดีต ขณะที่แต่ละสาขาถูกปรับเปลี่ยนเป็นโครงการใหม่ๆ  ข้อมูล..มติชน ออนไลด์

#โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ #สถานีวงเวียนใหญ่ #ห้างเมอรี่คิง

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี สายสีชมพู คืบหน้าถึงไหน? มีกี่สถานี? MRT Pink line


ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี สายสีชมพู  คืบหน้าถึงไหน? มีกี่สถานี? MRT Pink line
คลิปพามาดู สถานีอิมแพ็คเมืองทองธานี MT-01 ตั้งอยู่ตรงวงเวียนจุดตัดถนนป๊อบปูล่ากับถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 ใกล้กับ Challenger Hall ของ อินแพค มีทางเดินเชื่อมจากสถานีเข้าสู่ (ชาเลนเจอร์อาคาร 1) ได้โดยตรง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร จะใช้ร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ความคืบหน้าเดือนมีนาคม 2565 งานโยธา 21.92%  งานระบบไฟฟ้า 9.16%  ภาพรวม 17.81% 
โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพู มีรูปแบบเป็นโครงสร้างยกระดับ
ประกอบไปด้วย 2 สถานี ที่เชื่อมต่อมาจาก รถไฟฟ้าสีชมพูสายหลักที่ สถานีเมืองทองธานี ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนขบวน ก่อนจะเลี้ยวขวาวิ่งเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานีไปตาม ถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี  ไปสิ้นสุดที่ทะเลสาบเมืองทองธานี #สถานีอิมแพ็คเมืองทองธานี    #รถไฟฟ้าสายสีชมพู

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ปรับปรุงภูมิทัศน์ย่านกุฎีจีน สร้างเขื่อนและทางเดินริมน้ำ ช่วงสะพานพุทธ -...


ปรับปรุงภูมิทัศน์ย่านกุฎีจีน สร้างเขื่อนและทางเดินริมน้ำ ช่วงสะพานพุทธ - กำแพงวัดกัลยาณมิตร ซ่อมแซมบ้านเรือนหลังเก่าริมแม่น้ำ ปรับทัศนียภาพให้สวยงามตอนรับนักท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการผังเมือง และพัฒนาเมือง ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ย่านกุฎีจีน สร้างเขื่อนและทางเดินริมน้ำ ช่วงสะพานพุทธ - กำแพงวัดกัลยาณมิตร จึงขอปิดทางเดินริมน้ำเป็นการชั่วคราว เพื่อสร้างทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ให้มีความสะอาด สวยงาม และเป็นระเบียบ มีทางเดิน ทางจักรยาน ติดตั้งราวกันตก พร้อมติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี เพื่อเป็นแลนด์มาร์คใหม่ย่านฝั่งธนบุรี ย่านกุฎีจีนย่านเก่าฝั่งธน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่น่าสนใจอย่างเช่น ชุมชนกุฎีจีน วัดซางตาครู้ส ศาลเจ้าเกียนอันเกง วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหารโดยขณะนี้ ทาง กทม.ได้กำชับผู้รับจ้างให้เร่งรัดงาน เพื่อให้เสร็จตามแผน คาดเสร็จทั้งหมดในกลางปี 2566 นี้  #ปรับภูมิทัศน์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา #ปรับปรุงภูมิทัศน์ย่านกุฎีจีน  

วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก


สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก ได้ปิดเบี่ยงจราจรบนถนนประชาธิปก ฝั่งขาออกเหลือ 2 ช่องทาง บริเวณ หจก.ร.สุมิตรพานิช ถึงแยกบ้านแขก ถนนอิสรภาพ และฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องจราจร เพื่องานขุดสำรวจสาธารณูปโภคใต้ดินและทำผนังกันดิน สถานีสะพานพุทธฯ โดย กิจการร่วมค้า ไอทีดี-เอ็นดับเบิ้ลยูอาร์ เอ็มอาร์ที ผู้รับจ้าง งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า -สะพานพุทธ มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาออก เหลือ 2 ช่องทาง และฝั่งขาเข้า เหลือ 3 ช่องทาง ข้อมูลจากเพจ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า เป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่สถานีประชาธิปก เมื่อผู้โดยสารต้องการเปลี่ยนขบวน ต้องเดินขึ้นจากสถานีสะพานพุทธฯ มายังระดับพื้นดินก่อน โดยมีหลังคาคลุมและเดินไปยังสถานีประชาธิปกของรถไฟฟ้าสายสีทอง 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
ระยะทางรวม 23.63  กิโลเมตร มีจำนวน 17 สถานี แบ่งเป็น
สถานีใต้ดิน จำนวน10 สถานี ระยะทาง 14.29 กม. ยกระดับจำนวน 7สถานี ระยะทาง 9.34 กม. #สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า  #โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

มาดู EV Smart Building อาคารที่ติดตั้งหัวชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า มากที่สุดใน A...


EV Smart Building อาคารที่ติดตั้งหัวชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า มากที่สุดใน ASEAN
EV Hub แห่งแรกในอาเซียน ภายใต้แนวคิด “EV Smart Building” by EA Anywhere บนอาคารจอดรถ
โรงพยาบาลรามาธิบดี - พลังงานบริสุทธิ์ สนับสนุนพื้นที่โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ยกระดับมิติใหม่ของระบบการจัดการพลังงานแบบเดิม สู่รูปแบบการก่อสร้างอาคารและติดตั้งระบบบริการชาร์จไฟที่ทันสมัย ถือเป็นอาคารต้นแบบแห่งแรกที่ติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนจำนวน 578 เครื่อง ถือว่าใหญ่ที่สุดในอาเซียน พร้อมให้บริการสถานีชาร์จทั้งระบบ AC Normal Charge ขนาด 7.3 kW จำนวน 576 เครื่อง ดำเนินการครอบคลุม 100% ทุกช่องจอดรถในอาคาร และยังมี 
ระบบ DC Fast Charge 360 kW จำนวน 2 เครื่อง  
โครงการอาคารจอดรถ รามาธิบดี - พลังงานบริสุทธิ์  นับเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะยกระดับประเทศสู่ EV Hub ด้วย Model “EV Smart Building” by EA Anywhere สู่การพัฒนาพื้นที่สำหรับ อาคารชุด อาคารสำนักงาน และอาคารขนาดใหญ่ อาทิ ห้างสรรพสินค้า, โรงแรม,  คอนโด, Mix Use และ Community Mall ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่เดิมให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้า ที่คุ้มค่า ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด” EV Smart Building คาดว่าจะพร้อมให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนพฤษภาคมนี้ #EVSmartBuilding #อาคารจอดรถโรงพยาบาลรามาธิบดี