วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สถานีครุใน เครื่องจักรเข้าพื้นที่ขุดหลุมทำเสาเข็ม รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปู...


สถานีครุใน เครื่องจักรเข้าพื้นที่ขุดหลุมทำเสาเข็ม รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (28 ก.พ.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน  ผู้รับจ้างในสัญญาที่ 5 (ดาวคะนอง-ครุใน) บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวลีอปเมนต์ ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร บนถนนสุขสวัสดิ์ ฝั่งขาเข้าและขาออก 1 ช่องจราจร ชิดเกาะกลาง บริเวณซอยสุขสวัสดิ์ 43 ถึง ซอยสุขสวัสดิ์ 47/1 (map1-2) (ซอยอาฮิโน๊ะโม๊ะโต๊ะ -ร้านรุ่งโรจน์เฟอร์นิเจอร์) ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร เพื่องานก่อสร้าง สถานีครุใน และเส้นทางวิ่งหลัก เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2565 ไปถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2570 
 ตลอด 24 ชั่วโมง มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง เป็นเส้นทางก่อสร้างจากสถานีครุใน ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่ตั้งอยุ่บริเวณซอยสุขสวัสดิ์70 ไปยังศุนย์ซ่อมบำรุง งานก่อสร้างล่าสุด ได้นำเครื่องจักรเข้าพื้นที่ขุดหลุมเพื่อสร้างเสาเข็มบริเวณสถานีครุในแล้ว
สถานีครุใน สถานีสุดท้ายของโครงการ ตั้งอยุ่หน้าถ.สุขสวัสดิ์ซอย 70 ทางขึ้นลงมี 4 จุด ทางขึ้นลงที่ 1 อยู่บริเวณพื้นที่ว่าง บ.อุตสาหกรรมแอร์เคมีไทย 
ทางขึ้นลงที่ 2 อยู่บริเวณศูนย์ซ่อมรถยนต์    
ทางขึ้นลงที่ 3 พื้นที่ว่างบริเวณ ปากซอยสุขสวัสดิ์ 70
ทางขึ้นลงที่ 4 บริเวณปั้มซัสโก้ ติดกับคลองเจ๊กทิม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีเตาปูนช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ลอดใต้กรมสรรพาวุธทหารบก เป็นทางวิ่งใต้ดิน ผ่านถนนสามเสน ถึงคลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ผ่าน แยกป้อมมหากาฬ เข้าสู่ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน  ลอดใต้แยกมไหสวรรย์ เปลี่ยนเป็นโครงสร้างยกระดับ ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ผ่านแยกดาวคะนอง ข้ามสะพานข้ามแยกพระราม 2 ผ่านแยกประชาอุทิศ ผ่านสามแยกพระประแดง สิ้นสุดที่ ต.ครุใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ พร้อมโรงจอดรถไฟฟ้าริมถนนกาญจนาภิเษก ข้างด่านเก็บค่าผ่านทางบางพลี-สุขสวัสดิ์ มีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง ได้แก่ สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ #สถานีครุใน  #รถไฟฟ้าสายสีม่วง #mrtpurpleline

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เผยโฉม!.เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ (Central WestVille) ราชพฤกษ์ ดึงลูกค้าย่านถน...


เผยโฉม!.เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ (Central WestVille) ราชพฤกษ์ ดึงลูกค้ากำลังซื้อสูง (27 ก.พ.66)
เซ็นทรัลพัฒนา ผุดโปรเจกต์ใหม่ “เซ็นทรัล เวสต์วิลล์”ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ของ บ้าน แอนด์ บียอนด์ สาขาถนนราชพฤกษ์ ปั้นเป็นมิกซ์ยูสใหม่ล่าสุด มูลค่ากว่า 6,200 ล้านบาท ปักหมุดทำเลค้าปลีก ย่านถนนราชพฤกษ์ เป็นศูนย์การค้าสร้างใหม่ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN
รูปแบบโครงการ จะก่อสร้างเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษสูง 4 ชั้น พัฒนาบนที่ดินราวๆ 40 ไร่ มีพื้นที่ใช้สอยรวม 93,000 ตร.ม ประกอบด้วยศูนย์การค้า โรงหนัง ร้านค้าปลีก ที่จอดรถพื้นที่สีเขียวพื้นที่กิจกรรม ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ขณะนี้โครงสร้างอาคารได้ขึ้นมาสูงมากแล้ว เตรียมเผยโฉมโครงการ “เซ็นทรัล เวสต์วิลล์”ซึ่งจะเป็นจุดเช็คอินใหม่ย่านถนนราชพฤกษ์ #เซ็นทรัลเวสต์วิลล์ #เซ็นทรัลราชพฤกษ์ #CentralWestVille

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม โซนตลาดน้อย ปูพื้นทางเท้าใหม่ ติดตั้งไฟส่องสว่า...


ปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษม โซนตลาดน้อย ปูพื้นทางเท้าใหม่ ติดตั้งไฟส่องสว่าง ราวกันตก (25 ก.พ.66)
คลิปนี้ผมจะทำในสัญญาที่ 1 โซนตลาดน้อย ตั้งแต่ช่วงตลาดน้อยถนนเจริญกรุง จนถึงสะพานเจริญสวัสดิ์36 ถนนพระรามที่4  ผู้รับเหมา บริษัท วิวัฒน์พล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม เริ่มตั้งแต่การจัดทำรูปแบบ การปรับปรุงคันหินและทางเท้า การจัดภูมิสถาปัตย์ ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง และเพิ่มจุดนั่งเล่น 
งบประมาณทั้งสิ้น 453.2 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโดย กรุงเทพมหานคร  (กทม.) ระยะทางรวม 4,480 ม. แบ่งเป็น 6 โซนดังนี้
โซน 1 ตลาดน้อย (ช่วงท่าเรือสี่พระยา - สะพานเจริญสวัสดิ์36) ระยะทาง 680 ม.
โซน 2 หัวลำโพง (ช่วงสะพานเจริญสวัสดิ์36 - สะพานกษัตริย์ศึก) ระยะทาง 1,250 ม. ก่อสร้างเสร็จแล้ว
โซน 3โบ้เบ้ (สะพานกษัตริย์ศึก-สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์) ระยะทาง 450 ม. 
โซน 4 นางเลิ้ง (ช่วงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์/แยกสะพานขาว - สะพานมัฆวานรังสรรค์) ระยะทาง 700 ม.
โซน 5 สถานที่ราชการ(สะพานมัฆวานรังสรรค์-สะพานเทเวศรนฤมิตร)ระยะทาง 700 ม. 
โซน 6  เทเวศร์ (ช่วงสะพานเทเวศรนฤมิตร - ท่าเรือเทเวศร์) ระยะทาง 700 ม 
#ตลาดน้อย   #คลองผดุงกรุงเกษม  

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ส่องยาวๆ/เส้นทาง/สถานี รถไฟฟ้าสายสีม่วง พระประแดง ถึงสะพานพุทธ MRT purpl...


ส่องยาวไป/เส้นทาง/สถานี รถไฟฟ้าสายสีม่วง พระประแดง-สะพานพุทธ MRT purple line(24 ก.พ.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ MRT purple line
แนวเส้นทาง เริ่มจากจุดเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง(ช่วงบางใหญ่–บางซื่อ) ที่บริเวณสถานีเตาปูน โดยเปลี่ยนมาเป็นเส้นทางใต้ดิน แล้วตรงเข้าถนนทหารเลี้ยวเข้าถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แยกผ่านฟ้า เข้าสู่ถนนมหาไชย ผ่านวัดราชนัดดาราม วรวิหาร
เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน 
ลอดแยกมไหสวรรย์ จากนั้นเปลี่ยนเป็นทางยกระดับผ่านแยกถนนจอมทองเข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ และสิ้นสุดเส้นทาง บริเวณครุใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ระยะทางรวม 23.63  กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี แบ่งเป็น สถานีใต้ดิน จำนวน10 สถานี ระยะทาง 14.29 กม. ยกระดับจำนวน 7สถานี ระยะทาง 9.34 กม.
หากสายสีม่วงสร้างเสร็จตลอดสาย จะเป็นรถไฟฟ้าที่เชื่อม 3 จังหวัด นนทบุรี กรุงเทพ สมุทรปราการ #เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง  
#mrtpurpleline #เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง #รถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ

เดินรอบ"วงเวียนใหญ่"ลอดอุโมงค์ใต้วงเวียน ทะลุอนุสาวรีย์พระเจ้าตากฯ (24 ก...


เดินรอบ"วงเวียนใหญ่"ลอดอุโมงค์ใต้วงเวียน ทะลุอนุสาวรีย์พระเจ้าตากฯ (24 ก.พ.66)
เดินดูบรรยากาศรอบๆวงเวียนใหญ่ ถนนตากสิน ผ่านศูนย์การค้าเมอรี่คิงส์ที่ปิดร้าง ถนนลาดหญ้าที่ตั้งศูนย์การค้าแพลทฟอร์ม วงเวียนใหญ่ ผ่านถนนประชาธิปกและถนนอินทรพิทักษ์ เดินลอดอุโมงค์ไปที่อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ออกมาเดินต่อไป ผ่านโรงหนังเก่า สุริยาเธียเตอร์ สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ที่ให้บริการถึงมหาชัยก่อนจะย้อนไปสิ้นสุดที่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินในฝั่งขาเข้า
เร็วๆนี้จะมีรถไฟฟ้าสายสีม่วงมาให้บริการ น่าจะทำให้ย่านวงเวียนใหญ่คึกคักมาได้อีกครั้ง ขอบคุณที่รับชมครับ....ลุงใหญ่
#วงเวียนใหญ่  # Wongwianyai

สร้างใหม่!.ทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง แก้ปัญหาจราจร/จุดตัด/แยกสัญญาณไฟ ...


สร้างใหม่!.ทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง แก้ปัญหาจราจร/จุดตัด/แยกสัญญาณไฟ (23 ก.พ.66)
โครงการทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรบนถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง ก่อสร้างเป็นทางยกระดับคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาว 2,200 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร ไปและกลับ ในแนวเกาะกลางถนนลาดกระบัง และ
ถ.หลวงเพ่ง มีจุดเริ่มต้นใกล้สะพานข้ามคลองหนองคา ตามแนวถนนลาดกระบัง 
ถหลวงเพ่ง ถึงสำนักงานการปะปานครหลวงสาขาสุวรรณภูมิ ระยะทางรวม3.9กม.
โดยก่อสร้างเป็นสะพานยกระดับใกล้กับซอยลาดกระบัง 9/7 ข้ามทางเข้าถนนฉลองกรุง ข้ามสะพานคลองหัวตะเข้ เข้าแนวเกาะกลางถนนหลวงแพ่งผ่านวัดพลมานีย์ และลดระดับลงไปสิ้นสุดโครงการที่บริเวณหน้าสำนักงานการปะปานครหลวงสาขาสุวรรณภูมิ กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 900 วัน ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้าธาราวัญ-นภา เริ่มก่อสร้าง พ.ค.64 กำหนดแล้วเสร็จ ส.ค. 2566
เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยแบ่งเบาการจราจรที่คับคั่งบนถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง เนื่องจากมีการขยายตัวของชุมชนที่อยู่อาศัยบริเวณดังกล่าว 
นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางเดินรถบรรทุกขนส่งสินค้า ทำให้ปริมาณรถมากและมีปัญหาติดขัดช่วงทางแยก จุดตัด จุดกลับรถ
ความก้าวหน้า เริ่มหล่อพื้นสะพานทางขึ้น ลง ในฝั่งใกล้คลองหนองคา และฝั่งสำนักงานการปะปานครหลวงสาขาสุวรรณภูมิ   และเร่งขุดหลุมทำเสาเข็มเป็นช่วงๆ 
#โครงการทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง #ถนนหลวงแพ่ง

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ปรับภูมิทัศน์ย่านโบ๊เบ๊ ปูพื้นทางเท้าริมคลอง นำสายไฟสายสื่อสารลงใต้ดิน (...


ครั้งแรก!!.บนสะพานคู่ขนานพระราม9 ที่ความสูง 52 เมตร เหนือแม่น้ำเจ้าพระยา...


ครั้งแรก!!.บนสะพานคู่ขนานพระราม9 ที่ความสูง 52 เมตร เหนือแม่น้ำเจ้าพระยา (22 ก.พ.66)
บรรยากาศ..บนสะพานขึงคู่ขนานสะพานพระราม 9 สะพานที่มีความกว้างมากที่สุดในประเทศไทย ความภาคภูมิใจของ กทพ. และประชาชนชาวไทย
ภาพประวัติศาสาตร์ พิธีเทคอนกรีตสะพานขึงคู่ขนานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงสุดท้าย
โครงการทางด่วนพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตก 
สัญญาที่ 4 งานโยธาสะพานขึงคู่ขนานสะพานพระราม 9 โดยบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างวันพุธที่ 22 ก.พ.2566 เวลา 13.30 น. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เชิญ นายศักด์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีเทคอนกรีตสะพานขึงคู่ขนานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงสุดท้าย ที่มีความคืบหน้ากว่า 97.17% เร็วกว่าแผน 22.88% เพื่อเชื่อมสะพานฝั่งถนนพระราม 3 และฝั่งถนนราษฎร์บูรณะ ให้เชื่อมถึงกันกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คาดว่าสะพานจะก่อสร้างแล้วเสร็จ
กลางปี 2566 และเปิดบริการเดือนมี.ค.2567 เนื่องจากต้องรอทางขึ้นลงสะพาน ซึ่งกิจการร่วมค้า ไอทีดี-วีซีบี ผู้รับจ้างสัญญาที่ 3 งานสร้างทางยกระดับจาก รพ.บางปะกอก 9-ด่านดาวคะนองอยู่ระหว่างเร่งก่อสร้างทางขึ้น-ลง บริเวณถนนสุขสวัสดิ์ให้แล้วเสร็จก่อน
ช่องวีเอ็นพี มีเรื่องเล่า ขอขอบคุณพี่ๆ บริษัท ช.การช่าง ที่ดูแลให้ความสะดวก ข้อมูลในการถ่ายคลิปอย่างสูงครับ #สะพานคู่ขนานสะพานพระราม9   #สะพานพระราม9

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

กรุงเทพธนาคม ทดสอบเดินเรือไฟฟ้าในคลองผดุงฯ ก่อนให้บริการเดือนมีนาคมนี้


กรุงเทพธนาคม ทดสอบเดินเรือไฟฟ้าในคลองผดุงฯ ก่อนให้บริการเดือนมีนาคมนี้
กรุงเทพธนาคม' นำเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรือไฟฟ้าคลองผดุงกรุงเกษม และทดสอบเดินเรือ เตรียมเปิดให้บริการอีกครั้ง ในเดือนมีนาคมนี้ หลังหยุดบริการเดินเรือนานร่วม 6เดือน
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้บริหารโครงการพัฒนาระบบการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษม นำเจ้าหน้าที่เข้าเตรียมความพร้อม ของเรือไฟฟ้าคลองผดุงกรุงเกษม (EV) โดยมีการทำความสะอาดตัวเรือ พร้อมตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเรือ ประกอบด้วย สัญญาน GPS กล้อง CCTV ไฟฟ้าส่องสว่าง แผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคา จุดรองรับรถวีลแชร์ ระบบเครื่องยนต์ไฟฟ้า 
ระบบแบตเตอรี่ จุดชาร์จไฟฟ้า และตรวจสอบความปลอดภัยรอบตัวเรือ ทั้งบอร์ดชูชีพ ที่นั่งผู้โดยสาร โดยจะเริ่มทดสอบเดินเรือให้มีความพร้อม ก่อนที่จะให้บริการแก่ประชาชน ในเดือนมีนาคม 2566 นี้ ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ที่ผ่านมาทางบริษัทฯ ได้มีการลงพื้นที่สำรวจเส้นทางการเดินเรือจากคลองผดุงกรุงเกษมเชื่อมต่อคลองบางลำพู บริเวณตลาดโบ๊เบ๊ ผ่านคลองมหานาค ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ สิ้นสุดที่ท่าเรือป้อมพระสุเมรุ ซึ่ง 'คลองบางลำพู' มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเชิงประวัติศาสตร์หลายแห่ง เป็นเส้นทางที่สามารถพัฒนาการเชื่อมต่อการเดินของประชาชนในพื้นที่ได้ 
โดยทางบริษัทฯจะนำเสนอเส้นทางคลองบางลำพูให้ผู้บริหารกทม.พิจารณาเพื่อใช้ในการให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในอนาคต
ข้อมูล..บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด  #เรือไฟฟ้าในคลองผดุง  #คลองผดุงกรุงเกษม

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เร่งสุดแรง!.วัน แบงค๊อก One Bangkok โครงการขนาดยักษ์ 1.2 แสนล้านบาท (20 ...


เร่งสุดแรง!.วัน แบงค๊อก One Bangkok โครงการขนาดยักษ์ 1.2 แสนล้านบาท (20 ก.พ.66)
โครงการ วัน แบงค็อก (One Bangkok) เจ้าของโครงการ : บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด  
เงินทุนก่อสร้าง : 1.2 แสนล้านบาท ( 120,000,000,000 บาท ) ขนาดพื้นที่ : 104 ไร่
ที่ตั้ง : หัวมุมถนนพระรามที่ 4กับถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสม ได้แก่ โรงแรม ที่อยู่อาศัย ร้านค้า พานิชกรรม ห้องประชุม สำนักงาน และที่จอดรถยนต์ ภายในโครงการมีจำนวน 10 อาคาร และแต่ละอาคารมีพื้นที่เชื่อมต่อกันตั้งแต่ชั้นใต้ดินจนถึงชั้น 4 และมี 1 ในอาคารของโครงการแห่งนี้ที่จะกลายเป็น ตึกสูงที่สุดในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ด้วยความสูงที่ 437 เมตร นั่นคือ “ Signature Tower 
#วันแบงค็อก  #OneBangkok

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เดินเล่น!.ริมคลองลาดพร้าว ชุมชนบางบัว ต้นแบบคลองสวย น้ำใส (18 ก.พ.ุ66)


เดินเล่น!.ริมคลองลาดพร้าว ชุมชนบางบัว ต้นแบบคลองสวย น้ำใส (18 ก.พ.66)
การสร้างเขื่อนในคลองลาดพร้าว  ความยาวรวมทั้งสองฝั่งประมาณ 45  กิโลเมตร
เริ่มก่อสร้างเขื่อนเดือนกุมภาพันธ์ 2559-มิถุนายน 2562) และมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. รับผิดชอบการจัดหาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับชาวบ้านที่ปลูกสร้างบ้านเรือนรุกล้ำลำคลอง  ซึ่ง พอช.ได้จัดทำโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองตามโครงการบ้านมั่นคง เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลในช่วงปี 2559-2560  ในชุมชนริมคลองลาดพร้าวจำนวน 49  ชุมชน  รวม 6,949 ครัวเรือน โดยได้เริ่มดำเนินการไปแล้วหลายชุมชน ชาวชุมชนบางบัว ชุมชนสามัคคีร่วมใจ ชุมชนบางบัวสพานไม้1 ชุมชนบางบัวสะพานไม้2 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ เป็นชุมชนแรกๆที่มีการรื้อย้ายบ้านที่รุกล้ำคลองลาดพร้าว  เพื่อให้ทางภาครัฐก่อสร้างเขื่อน เป็นชุมชนนำร่องในการรื้อย้ายบ้านเรือน และก่อสร้างบ้านใหม่
#คลองลาดพร้าว  #ชุมชนบางบัว  #คลองถนน

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

รถไฟฟ้าสายสีม่วง แจ้งปิดเบี่ยงจราจรสถานีสะพานพุทธฯ สำรวจสาธารณูปโภคใต้ดิ...


โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) MRT PURPLE LINE
ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจรบนถนนประชาธิปก ฝั่งขาออก เหลือ 2 ช่องทาง บริเวณ หจก.ร.สุมิตรพานิชถึง ธนาคารกรุงเทพ เพื่องานขุดสำรวจสาธารณูปโภคใต้ดินและทำผนังกันดิน 
สถานีสะพานพุทธฯ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง โดย กิจการร่วมค้า ไอทีดี-เอ็นดับเบิ้ลยูอาร์ เอ็มอาร์ที  
ผู้รับจ้างงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า - สะพานพุทธ มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาออก เหลือ 2 ช่องทาง และฝั่งขาเข้า เหลือ 3 ช่องทาง
ข้อมูล...เฟสบุ๊ครถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
#สถานีสะพานพุทธ  #รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ล่าสุด!.สร้างทางเดิน/จักรยาน จุดชมวิวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงสะพานพุทธ - ...


ความคืบหน้าล่าสุด ได้ทะยอยปูพื้นทางเดินริมเขื่อน ติดตั้งราวกันตกริมเขื่อน ติดตั้งไฟส่องสว่าง และทางเดินหลังเขื่อน ปลูกต้นไม้ เริ่มจากสะพานพุทธ ไปถึงโรงเรียนซานตาครูส และจะติดตั้งจนถึงวัดกัลยาณมิตร
กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการผังเมือง และพัฒนาเมือง ดำเนินการปรุบปรุงภูมิทัศน์ย่านกะดีจีน สร้างเขื่อนและทางเดินริมน้ำ ช่วงสะพานพุทธ - กำแพงวัดกัลยาณมิตร
จึงขอปิดทางเดินริมน้ำเป็นการชั่วคราว เพื่อสร้างทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ให้มีความสะอาด สวยงาม และเป็นระเบียบ มีทางเดิน ทางจักรยาน ติดตั้งราวกันตก 
พร้อมติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ตั้งแต่ สะพานพุทะยอดฟ้า ถึงกำแพงวัดกัลยาณมิตร 
เริ่มก่อสร้างวันที่ 15 พ.ย.2564 - 1 ก.ย.2565 โดยขณะนี้ได้เร่งงานก่อสร้าง คาดเสร็จทั้งหมดในปี 2566
#ปรับภูมิทัศน์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  #สะพานพุทธ #วัดกัลยาณมิตร

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ตัดถนนใหม่!.เชื่อมถนนวิภาวดี-ข้ามคลองลาดพร้าว-แยกเทพรักษ์ (20 ธ.ค.65)


วิ่งฉิว..ถนนตัดใหม่.. ลอดใต้รถไฟฟ้า BTS ข้ามแยกเทพรักษ์
ตัดถนนใหม่!.เชื่อมถนนวิภาวดีรังสิต-ข้ามคลองลาดพร้าว-แยกเทพรักษ์ (20 ธ.ค.65)
โครงการก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น เชื่อมระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตซอย 72 กับถนนพหลโยธิน 50 แยกถนนเทพรักษ์ ระยะทาง 2.8 กม
แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณถนนวิภาวดีรังสิตซอย72 วิ่งตรงจนถึงคลองลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตามแนวคลองประมาณ 500เมตร สร้างสะพานข้ามคลองลาดพร้าว ตรงไปจนถึงถนนพหลโยธินซอย 50 (ข้างบิ๊กซี) ก่อสร้างสะพานยกระดับข้ามไปเชื่อมถนนเทพรักษ์ 
#สร้างทางเชื่อมถนนวิภาวดีถนนเทพรักษ์  #ถนนพหลโยธิน #ถนนเทพรักษ์

พบกับ!.ถนนคนเดิน สยามสแควร์ ได้ทุกวันแล้ว เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 256...


สยามสแควร์ปรับปรุงพื้นที่ให้ สยามสแควร์ซอย 7 กลายเป็น Walking Street โดยเปิดพื้นที่ให้ใช้ประโยชน์ ด้านการจัดกิจกรรมที่หลากหลายรวมทั้งยังเปิดโอกาสให้น้องๆ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้แสดงความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ อาทิ ดนตรี, Street performance, ศิลปะ, กีฬา ฯลฯ จนเป็นกระแสไวรัลในโลกโซเชียลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องสยามสแควร์จึงแจ้งปรับเปลี่ยนทิศทางการใช้การจราจรถนน สยามสแควร์ ซอย 7 โดยพบกับบรรยากาศ Walking Street ได้ทุกวันเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป โดยมีดังรายละเอียดดังนี้ วันศุกร์, เสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 00 น. เป็นต้นไป วันจันทร์ – พฤหัสบดี เวลา 00 น. เป็นต้นไป โดยปรับเปลี่ยนทิศทางการจราจรเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เข้ามาสยามสแควร์ สำหรับสถานที่จอดรถสามารถจอดได้ที่อาคารวิทยกิตติ์ อาคารสยามกิตติ์ อาคารสยามสเคป สยามสแควร์ซอย2 สยามสแควร์ซอย 3 และสยามสแควร์ ซอย 6 ได้ตามปกติ ที่มา: สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #ถนนคนเดินสยามสแควร์ #SiamSquareWalkingStreet ท่านที่รับชมช่อง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า หากมีความประสงค์ ต้องการสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำคลิปวีดีโอ สามารถกดสมัครหน้าช่องยูทูป หรือโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0430256768 วิษณุ ภิญโญยิ่ง https://www.youtube.com/channel/UCM-z... ติดตาม วีเอ็นพีมีเรื่องเล่า ได้ทาง youtube : https://www.youtube.com/channel/UCD9O... Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?... Twitter : https://twitter.com/EsTbJbtYn9MuZyn Instagram : https://www.instagram.com/vnpstory/ blogs : https://vnpstory.blogspot.com/

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เซ็นทรัล เปลี่ยนโรงหนังสกาลาย่านสยามสแควร์ เป็นมิกซ์ยูส ลุ้นตอกเข็มปลาย ...


เซ็นทรัล เปลี่ยนโรงหนังสกาลาย่านสยามสแควร์ เป็นมิกซ์ยูส ลุ้นตอกเข็มปลาย 66นี้  (15 ก.พ.66)
รูปแบบโครงการพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส ประกอบด้วยพื้นที่สรรพสินค้า สำนักงาน โรงแรม เป็นอาคารมีขนาดความสูง 42 ชั้น ชั้นลอย 2 ชั้น และชั้นใต้ดิน 5 ชั้น จำนวน 1 อาคาร มีขนาดพื้นที่ใช้สอยรวมประมาณ 134,200 ตารางเมตร ส่วนสำนักงานมีพื้นที่ประมาณ 25,000 ตารางเมตร และในส่วนโรงแรมมีจำนวนห้องพัก 369 ห้อง มีสระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย และสิ่งอำนวยความสะดวก มีที่จอดรถยนต์ทั้งโครงการกว่า 875 คัน เนื่องจากโครงการเป็นอาคารขนาดใหญ่ จึงเข้าข่ายที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 57 เดือน คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างได้อย่างเร็วปลายปี 2566 หรืออย่างช้าต้นปี 2567 โดยจะทยอยเปิดเป็นส่วนๆ โดยปลายปี 2569 จะเริ่มเปิดศูนย์การค้าเป็นเฟสแรก ตามด้วยสำนักงานและโรงแรม โดยจะเปิดครบทั้งโครงการปลายปี 2570-2571 หลังเปิดใช้จะเป็นอาคารที่สูงที่สุดในย่านนี้
โครงการพัฒนาพื้นที่บล๊อก A เขตพาณิชย์ สยามสแควร์
เจ้าของโครงการ สํานักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(PMCU)
ขนาดพื้นที่ดิน 6ไร่ 3 งาน 95.9 ตารางวา ผุ้ได้รับสิทธิ์ บริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ได้สิทธิ์เช่าระยะยาว 30 ปี  ข่าว...มติชนออนไลน์
#มิกซ์ยูสสยามสแควร์   #สยามสแควร์  #เซ็นทรัลพัฒนา

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ภาพล่าสุด!!หลังปรับปรุงทางเท้าถนนพระรามที่ 1 (14 ก.พ.66)


ภาพล่าสุด!!หลังปรับปรุงทางเท้าถนนพระรามที่ 1 (14 ก.พ.66)
คลิปนี้จะพาเดินดูตั้งแต่ช่วงแยกราชประสงค์-แยกเฉลิมเผ่า ถนนอังรีดูนังต์
การปรับปรุงภูมิทัศน์ ถนนพระรามที่ 1 แยกราชประสงค์-แยกปทุมวัน  ต้นแบบทางเท้าย่านธุรกิจใจกลางเมือง ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนพระรามที่ 1 ช่วงจากแยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ พื้นที่เขตปทุมวัน ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องย่านธุรกิจสำคัญ โดยปรับปรุงเพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถใช้ทางเท้าได้อย่างสะดวกและปลอดภัย จัดระเบียบสาธารณูปโภคต่างๆ ใต้ทางเท้า เพื่อให้การซ่อมบำรุงหรือปรับปรุงในอนาคตเป็นระบบมากขึ้น จัดระเบียบสิ่งกีดขวางบนทางเท้า ป้ายโฆษณา 
ตู้ไฟฟ้า และจุดจอดมอเตอร์ไซค์รับจ้างรวมถึงการจัดระเบียบเสาไฟและสายไฟฟ้าต่างๆ ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น  #ปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนพระรามที่1   #แยกราชประสงค์  #แยกปทุมวัน

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เส้นทาง/สถานี/คืนช่องทาง ช่วงสถานีคู้บอน - สถานีตลาดมีนบุรี MRT PINK LIN...


เส้นทาง/สถานี/คืนช่องทาง ช่วงสถานีคู้บอน - สถานีตลาดมีนบุรี MRT PINK LINE Ep_2(11 ก.พ.66)
พาชม!!โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ตามแนวถนนรามอินทรา - ถนนสีหบุรานุกิจ  
เริ่มตั้งแต่สถานีคู้บอน จนถึงสถานีตลาดมีนบุรี
สถานีคู้บอน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงรามอินทรา ซอย 69 และซอย 46
สถานีรามอินทรา กม.9 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างรามอินทราซอย 83 และ 85 ในด้านทิศเหนือ และมีลานจอดรถและรามอินทรา ซอย 54 อยู่ด้านทิศใต้ของสถานี
สถานีวงแหวนรามอินทรา ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราถัดจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ซึ่งมีห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ อยู่ด้านทิศเหนือของสถานี
สถานีนพรัตนราชธานี ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงซอยสวนสยามในด้านทิศใต้ของสถานี ถัดมาจากโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีเล็กน้อย
สถานีบางชัน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณระหว่างรามอินทรา ซอย 113 และ ซอย 115 ในด้านทิศเหนือของสถานี และใกล้กับรามอินทราซอย 109 (ซอยพระยาสุเรนทร์) 
สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างปั๊มน้ำมัน ปตท. และรามอินทรา ซอย 123 ในด้านทิศเหนือของสถานี ใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ 
สถานีตลาดมีนบุรี เป็นสถานีแรกบนถนนสีหบุรานุกิจ ต่อเนื่องมาจากถนนรามอินทรา ตั้งอยู่บริเวณหน้าตลาดนัดจตุจักร 2 ในด้านทิศเหนือ 
และระหว่างสีหบุรานุกิจ ซอย 16 และซอย 18 ในด้านทิศใต้ของสถานี
ความก้าวหน้าการก่อสร้างโดยรวมคืบหน้า 95.04% งานโยธา 94.93% และงานระบบรถไฟฟ้า 95.12% ตามแผนจะเปิดในเดือนสิงหาคม 2566 นี้
#สถานีตลาดมีนบุรี #เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู    #รถไฟฟ้าสายสีชมพู 

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สถานีสำโรง จุดเชื่อมต่อสำคัญของย่านนี้ เตรียมเปิด มิ.ย.66นี้ MRT yellow ...


สถานีสำโรง จุดเชื่อมต่อสำคัญของย่านนี้ เตรียมเปิด มิ.ย.66นี้ MRT yellow line
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวทั้งโครงการ มีแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออกของกทม.  
และสิ้นสุดเส้นทางในจังหวัดสมุทรปราการ
มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน  ที่สถานีลาดพร้าว เส้นทางตามแนวถนนลาดพร้าว จนถึงทางแยกบางกะปิ 
แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนศรีนครินทร์เชื่อมต่อกับโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม  ที่สถานีแยกลำสาลี 
เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ที่สถานีหัวหมาก วิ่งต่อไปตามแนวถนนศรีนครินทร์ จนถึงทางแยกศรีเทพา แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนเทพารักษ์  
สิ้นสุดตรงแยกเทพารักษ์ เชื่อมต่อกับสถานีสำโรง  ของ รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสุขุมวิท ระยะทาง 30 กิโลเมตร มี 23 สถานี 
#MRT yellow line #รถไฟฟ้าสายสีเหลือง #สถานีสำโรง

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ส่อง!!เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู 13สถานี ถ.รามอินทรา ถึงตลาดมีนบุรี Ep_1(11...


ส่อง!!เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู 13สถานี ถ.รามอินทรา ถึงตลาดมีนบุรี Ep_1(11 ก.พ.66)
คลิปนี้พาชม!.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี  ถนนรามอินทรา ตั้งแต่วงพิทักษ์รัฐธรรมนูญ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ จนถึงตลาดมีนบุรี
สถานีรามอินทรา 3 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ตั้งอยู่ด้านหน้าคอนโดมิเนียมลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ ซึ่งอยู่ในด้านทิศเหนือของสถานี
สถานีลาดปลาเค้า ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณรามอินทรา ซอย 23 ในด้านทิศเหนือ และรามอินทรา ซอย 4/3 ในด้านทิศใต้
สถานีรามอินทรา กม.4 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณระหว่างรามอินทรา ซอย 33 และซอย 37 ในด้านทิศเหนือของสถานี และระหว่างรามอินทราซอย 8และซอย10 ด้านทิศใต้ของสถานี
สถานีมัยลาภ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงรามอินทรา ซอย 41ในด้านทิศเหนือ และ ช่วงรามอินทรา ซอย 18 ในด้านทิศใต้ ใกล้กับรามอินทรา ซอย 14 (ซอยมัยลาภ)
สถานีวัชรพล ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ถัดจากทางพิเศษฉลองรัช ช่วงบริเวณรามอินทรา ซอย 57/1 และ ซอย 59
สถานีรามอินทรา กม.6 อยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างรามอินทรา ซอย 40 และ 42 ซึ่งอยู่ในด้านทิศใต้ของสถานี และมีปั๊มน้ำมัน Esso ในด้านทิศเหนือของสถานี
ความก้าวหน้าการก่อสร้างโดยรวมคืบหน้า 95.04% งานโยธา 94.93% และงานระบบรถไฟฟ้า 95.12% ตามแผนจะเปิดในเดือนสิงหาคม 2566 นี้
สำหรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู คำนวนอยู่ที่ 15-45 บาท และอาจจะมีเปิดให้บริการฟรีในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนเปิดใช้จริง  
คงต้องรอฟังข่าวจากการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
#เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู    #รถไฟฟ้าสายสีชมพู 

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

"ชุมชนบุญร่มไทร" ริมทางรถไฟสายตะวันออก คนบางกอกอย่าหลอกดาว (ก.พ.66)


"ชุมชนบุญร่มไทร" ริมทางรถไฟสายตะวันออก คนบางกอกอย่าหลอกดาว (ก.พ.66)
ชุมชนบุญร่มไทร ตั้งอยู่ริมทางรถไฟระหว่างถนนพญาไทไปจนถึงถนนพระรามที่ 6 ระยะทางประมาณ 1 กม.
ชุมชนนี้ถือเป็นชุมชนลำดับต้นๆ ที่อยู่ในแผนงานเรียกคืนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 
ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพื้นที่โดยรอบตามกฎหมาย รวมทั้งพื้นที่ดังกล่าวจะต้องถูกเตรียมให้พร้อมสำหรับ ‘โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่จะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา 
สำหรับโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงดังกล่าวจะอาศัยโครงสร้างและแนวเดินรถไฟเดิมของ รฟท. และสร้างทางเดินรถไฟส่วนต่อขยาย 2 ช่วง คือ
1 ตั้งแต่สถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา 
2จากสถานีพญาไทไปยังสนามบินดอนเมือง โดยจะมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีมักกะสัน
#ชุมชนบุญร่มไทร   #รถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ทางด่วนซ้อนทางด่วน ถนนราษฎร์บูรณะ - ถนนพระราม 2 (9 ก.พ.66)


โครงการทางพิเศษสายพระราม3 ดาวคะนอง วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก สัญญาที่ 3 เป็นงานก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร คร่อมตามแนวทางพิเศษเฉลิมมหานครช่วงดาวคะนอง - สุขสวัสดิ์ - ราษฎร์บูรณะ ระยะทางรวมประมาณ 5 กิโลเมตร ผู้รับจ้างกิจการร่วมค้า ไอทีดี-วีซีบี ประกอบด้วยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด มีระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญา 1,020 วัน รูปแบบการก่อสร้าง เป็นทางยกระดับซ้อนทับบนทางด่วนเฉลิมมหานคร ขนาด 6 ช่องจราจร โครงสร้างส่วนบน คานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องหล่อสำเร็จ โครงสร้างส่วนล่าง เสาต่อม่อแบบคู่ ความก้าวหน้าของโครงการแบบสะสม (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2566) แผนงาน 17.75% ผลงานทำได้ 16.98% ช้ากว่าแผน 0.77% แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 5 สัญญา งานโยธา 4 สัญญา และงานติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทาง 1 สัญญา #ทางพิเศษสายพระราม3ดาวคะนองวงแหวนตะวันตก ท่านที่รับชมช่อง วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า หากมีความประสงค์ ต้องการสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำคลิปวีดีโอ สามารถกดสมัครหน้าช่องยูทูป หรือโอนผ่าน ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0430256768 วิษณุ ภิญโญยิ่ง https://www.youtube.com/channel/UCM-z... ติดตาม วีเอ็นพีมีเรื่องเล่า ได้ทาง youtube : https://www.youtube.com/channel/UCD9O... Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?... Twitter : https://twitter.com/EsTbJbtYn9MuZyn Instagram : https://www.instagram.com/vnpstory/ blogs : https://vnpstory.blogspot.com/

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สถานีวงเวียนใหญ่ ทำการรื้อเกาะกลาง เพิ่มช่องจราจร ลดปัญหาการจราจรติดขัด


ขณะนี้ได้ดำเนินการรื้อเกาะกลาง และทำการขยายช่องจราจร 
ในช่วงบริเวณซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน6 (จุดตัดถนนกรุงธน) ถึงอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  
โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2565 – 5 มกราคม 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง  
มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้า เหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออก เหลือ 3ช่องทาง 
ทำการขยายถนนตรงเกาะกลาง ตั้งแต่ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน6 (จุดตัดถนนกรุงธน) ถึงอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแล้ว  
บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างงานในสัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ – ดาวคะนอง
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ ครุใน ได้เข้าพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีวงเวียนใหญ่ 
ข่าวจากเพจโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ 
#สถานีวงเวียนใหญ่  #รถไฟฟ้าสายสีม่วง  #mrtpurpleline

รีวิว!!shuttle busฟรี สายด่วน ขนส่งสาธารณะ - อาคารผู้โดยสาร ทั้งเที่ยวไป...


วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ปรับภูมิทัศน์ คลองช่องนนทรีเฟสใหม่ ถนนสุรวงศ์-ถนนจสาทร (6 ก.พ.66)


ปรับภูมิทัศน์ คลองช่องนนทรีเฟสใหม่ ถนนสุรวงศ์-ถนนจสาทร (6 ก.พ.66)
กทม.เปิดประมูลโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรีไปแล้ว 3 เฟส คือ เฟสที่ 1-3 ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ประกอบด้วย
เฟสที่ 1.งานปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี จากถนนสุรวงศ์ - ถนนสาทร ราคากลาง 79.1 ล้านบาท โดยบริษัท วิวัฒน์พล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 
เป็นบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุด เป็นเงินทั้งสิ้น 79 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 1 แสนบาท
เฟสที่ 2.งานปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี จากถนนสาทร - ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 ระยะทาง 200 เมตร ราคากลาง 79.7 ล้านบาท 
โดยบริษัท ทริโอ ไบรท์ จำกัด ชนะการประมูลโดยเสนอราคาต่ำสุดที่ 79 ล้านบาท หรือต่ำกว่าราคากลาง 7 แสนบาท
เฟสที่ 3.งานปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี ช่วงที่ 3 จากซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 ถึงถนนจันทร์
ราคากลาง 369.9 ล้านบาท โดยกิจการร่วมค้า DW เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 366.1 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 3.8 ล้านบาท
เมื่อปลายเดือน ก.ย.2565 ที่ผ่านมา  ทางกรุงเทพมหานคร ได้ยกเลิกการประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี  
เฟสที่ 4 จากถนนจันทร์ - ถนนรัชดาภิเษก และเฟสที่ 5 จากถนนรัชดาภิเษก - ถนนพระรามที่ 3 เนื่องจากมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว
ขณะนี้กรุงเทพมหานครได้ชะลอการประมูลโครงการใน เฟสที่ 4 และ5 ไว้ก่อน เนื่องจากต้องนำงบประมาณดังกล่าวไปใช้ในงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น 
การฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา
ก็ต้องคอยดูว่าทางผู้ว่าราชการกรุงเทพคนปัจจุบันจะดำเนินการโครงการต่อ หรือพอแค่ 3 เฟสแรก เอาเงินงบผูกพันที่เหลือไปทำโครงการอื่นให้กับคนกรุงเทพ
#สวนคลองช่องนนทรี  #ปรับภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สร้างเร็วมาก!.บ้านหลังใหม่ พร้อมทางเดินคลองเปรมฯ หลังวัดดอนเมือง เสร็จ 6...


สร้างเร็วมาก!.บ้านหลังใหม่ พร้อมทางเดินคลองเปรมฯ หลังวัดดอนเมือง เสร็จ 66นี้
บ้านริมคลองเปรมประชากร เป็นที่อาศัยของ ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ และชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ ซึ่งรื้อบ้านทั้งหมดรวม 168หลัง ได้เดินหน้าก่อสร้างเขื่อน เริ่มตอกเข็มเขื่อนชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ เมื่อกรกฎาคม2565 ตามนโยบายจัดการน้ำ ไม่ท่วม-ลดเร็ว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยความร่วมมือจาก  สำนักการระบายน้ำ สำนักงานเขตดอนเมือง  สถาบันพัฒนาชุมชน (พอช) และกองทัพภาคที่ 1
ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ หลังวัดดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมชนแรกในเขตดอนเมือง ที่มีการก่อสร้างบ้านตามแนวทางโครงการบ้านมั่นคง 
ได้มีการก่อสร้างเขื่อน พร้อมสร้างบ้านมั่นคง ในโซนที่ 1 จำนวน 12หลัง เมื่อเดือน สิงหาคม 2565 และเมื่อเดือนกันยายน 2565 ก็ได้ทำการก่อสร้างบ้านในโซนที่ 3 อีกจำนวน 41หลัง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร ได้มีการรื้อย้ายบ้านเดิมทั้งสิ้น 117 หลัง ตามแผนงานจะสามารถก่อสร้างบ้านใหม่ได้ 133 หลัง และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมส่งมอบบ้านให้กับสมาชิกภายในเดือน มีนาคม ปี2566 ข่าว..พอช.
#คลองเปรมประชากร #ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้   #ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เปิดคลิป!!สถานีรถไฟดอนเมือง หลังย้ายไปสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง เครียร์สร้างร...


ภาพ!!สถานีรถไฟดอนเมือง หลังย้ายไปสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง เครียร์สร้างรถไฟความเร็วสูง (5 ก.พ.66)
การรถไฟแห่งประเทศไทย ก็ได้ปิดสถานีรถไฟดอนเมือง ย้ายไปยังสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีดอนเมือง  ไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา 
สถานีรถไฟดอนเมือง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 โดยตั้งอยู่ฝั่งเดียวกับท่าอากาศยานกรุงเทพ  ถือได้ว่า เป็นการปิดตำนาน 125 ปี สถานีรถไฟดอนเมือง
การรถไฟฯ ได้ปิดป้ายประกาศ“ปิดสถานีรถไฟดอนเมือง งดให้บริการตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 19 มกราคม 2566 โดยย้ายไปใช้สถานีร่วมชานเมืองสายสีแดงของสถานีดอนเมืองที่ตั้งอยุ่ใกล้กัน เตรียมเพื้นที่สร้างรถไฟความเร็วสูงเร็วๆนี้
นอกจากปิดสถานีรถไฟดอนเมืองแล้ว ทางการรถไฟยังปิดสถานีรถไฟหลักสี่ และ บางเขนอีกด้วย ข้อมูล..ฐานเศรษฐกิจ ออนไลด์
#ปิดสถานีรถไฟดอนเมือง 

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คืบหน้า!.มอเตอร์เวย์ลงใต้สาย M82 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว (2 ก.พ.66)


พาชมการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว M82 ในช่วงที่ 2 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว (แผนที่) ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร   วงเงินก่อสร้างรวม 19,700 ล้านบาท 
ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมจากกองทุนมอเตอร์เวย์ แบ่งเป็น 10สัญญา 
มีด่านขึ้น-ลง จำนวน 4จุดคือ 
1) ด่านมหาชัย 2
2) ด่านสมุทรสาคร 1
3) ด่านสมุทรสาคร 2
4) ด่านบ้านแพ้ว
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว M82 ก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 6ช่องจราจร บนเกาะกลางทางหลวงหมายเลข 35 (พระราม2)
จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อได้โดยตรงกับโครงการทางพิเศษ สายพระราม 3 ดาวคะนอง วงแหวนด้านตะวันตก บริเวณแยกต่างระดับบางขุนเทียน 
คาดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ในปี 2568

ยิ่งใหญ่!.งานเกษตรแฟร์ ปี2566 ในงานมีอะไร? ร้านค้ามากไหม? ชมได้ในคลิป


เริ่มแล้ว!.งานเกษตรแฟร์ ปี2566 ในงานมีอะไร? ร้านค้ามากไหม? ชมได้ในคลิป
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดงานเกษตรแฟร์ 2566 ในวันที่ 3-11 กุมภาพันธ์ 2566 โดยงานปีนี้มาพร้อมคอนเซปต์ "80 ปี เกษตรนนทรี นำวิถีใหม่ ไทยยั่งยืน" ซึ่งภายในงานมีร้านค้าที่เข้าร่วมจัดแสดงในงานเกษตรแฟร์ 2566 ประมาณ 1,400 ร้านค้า 
โดยได้จัดโซน ภายในงานเกษตรแฟร์ 2566 ดังนี้
โซน A ตลาดนนทรีวิถีเกษตร (ตลาดบก สินค้าบริโภค ,ตลาดน้ำใหญ่ ตลาดโบราณ) 
โซน B สีสันตะวันฉาย (ร้านค้า SME OTOP วิสาหกิจชุมชน)
โซน C เทคโนโลยีสร้างสรรค์ (สินค้าเครื่องจักรกลทางการเกษตรและเทคโนโลยีต่างๆ)
โซน D สราญรมย์ ชมพฤกษา (ต้นไม้ พันธุ์ไม้ และอุปกรณ์ทางการเกษตร)
โซน E ฟินสุดหยุดไม่ได้ (ร้านคาเฟ่ อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน)
โซน F รังสรรค์ สู่หรรษา (สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์)
โซน G ครบเครื่องเรื่องอร่อย (สินค้าเกษตรอุปโภค บริโภค)
โซน H  Inter นานาชาติ งานวิจัย ร้านค้ามูลนิธิราชวงศ์ (นานาชาติ งานวิจัยมก. ร้านค้ามูลนิธิราชวงศ์ )
โซน J ของดีทั่วไทย ส่งใจถึงมือ (สินค้าจากหน่วยงานภาครัฐ และ แฟรนไซส์)
โซน K ระดมชิม ระดมช็อป (สินค้าอุปโภค - บริโภค)
โซน L สร้างสรรค์เรื่องงานดี (หน่วยงานพันธมิตร มก.เพื่อเกษตรกร)
และโซน Food Truck (2จุด) โซน สวนสนุก (4 จุด) อื่นๆอีกมากบรรยายไม่หมด
#งานเกษตรแฟร์2566  #80ปีเกษตรนนทรีนำวิถีใหม่ไทยยั่งยืน

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สถานีวัดพระศรีมหาธาตู ติดคั้งตะแกรงกั้นระหว่างทางวิ่งรถไฟฟ้ากับสะพานลอย ...


สถานีวัดพระศรีมหาธาตู ติดคั้งตะแกรงกั้นระหว่างทางวิ่งรถไฟฟ้ากับสะพานลอย (2 ก.พ.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นการส่งมอบสัมปทานให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งโครงการ 
ตั้งแต่การก่อสร้างจนถึงการเปิดให้บริการ จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินการในรูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว มีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี อันเป็นสถานีเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม สายสีม่วง จากนั้นมุ่งหน้าขึ้นไปทางห้าแยกปากเกร็ด แล้วมุ่งไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ และถนนรามอินทรา และสิ้นสุดทั้งเส้นทางที่สถานีมีนบุรี 
บริเวณแยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ย่านมีนบุรี อันเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร
ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และการทดสอบการเดินรถในบางช่วง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนสิงหาคม 2566 
#สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ #รถไฟฟ้าสายสีชมพู #mrtpinkline

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สถานีบางปะกอก ขั้นตอนทดสอบการรับน้ำหนักเสาเข็ม Mrt purple line (1 ก.พ.66)


สถานีบางปะกอก ขั้นตอนทดสอบการรับน้ำหนักเสาเข็ม Mrt purple line (1 ก.พ.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษำร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
สถานีบางปะกอก เป็นสถานีแบบยกระดับ ตำแหน่งของสถานีอยู่ใกล้กับ ซ.สุขสวัสดิ์ 23 ทางขึ้นลงมี 2 จุด เชื่อมกับอาคารจอดรถของสถานี
ในด้านฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออกของถนนสุขสวัสดิ์ รองรับรถได้ 1,657 คัน
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างการก่อสร้างในสัญญาที่ 5 ฃ่วงดาวคะนอง-ครุใน ได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร 
เพื่อก่อสร้างเสาเข็มทดสอบ (Pilot Pile Test)สถานีบางปะกอก
ในช่องจราจรฝั่งด้านขวาชิดเกาะกลาง ทั้งในด้านฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก 
ด้านฝั่งขาเข้าตั้งแต่ปากซอยสุขสวัสดิ์ซอย 32 - ซอยสุขสวัสดิ์ 28
ด้านฝั่งขาออก ตั้งแต่ซอยสุขสวัสดิ์ 19 (ซอยวัดบางปะกอก) ถึงซอยสุขสวัสดิ์ 23 
มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง 
#สถานีบางปะกอก   #Mrtpurpleline #รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูนราษำร์บูรณะ